วิเคราะห์เชิงปรัชญาเรื่องนรกและสวรรค์ที่ปรากฏในคัมภีร์มาลัยโผดโลกของล้านนา

ผู้แต่ง

  • พระสุรัศ สุรปญฺโญ Mahachulalonkornrajavidyalaya University, Chiang Mai Campus

คำสำคัญ:

นรก, สวรรค์, คัมภีร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับนรกและสวรรค์ในพุทธปรัชญา 2) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับนรกและสวรรค์ในคัมภีร์มาลัยโผดโลก 3) เพื่อวิเคราะห์เชิงปรัชญาเกี่ยวกับนรกและสวรรค์ในคัมภีร์มาลัยโผดโลก โดยเป็นการศึกษาเชิงเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า

พุทธปรัชญาถือว่านรกและสวรรค์เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในสองลักษณะ คือ ความเป็นจริงในเชิงสภาวะทางกายภาพ คือ มีพื้นที่อยู่จริงในกาลอวกาศนี้ และความเป็นจริงในเชิงสภาวะทางจิตภาพ คือมีอยู่ในมิติทางจิต

คัมภีร์มาลัยโผดโลกแต่งขึ้นครั้งแรกในพม่า เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 18 เรียกว่า “มาเลยยสูตร” โดยได้เค้าโครงมาจากนิทานของลังกา ส่งผลให้มีการแต่ง “คัมภีร์มาเลยยเทวัตเถรวัตถุ” ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 21 และเมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 22 ได้มีการแต่งมาลัยยวัตถุทีปนีฎีกา เพื่อขยายความ จนกระทั่งได้เป็นเค้าโครงของการแต่งคัมภีร์มาลัยโผดโลก การเทศนาคัมภีร์มาลัยโผดโลกนิยมเทศน์ด้วยการอ่านตามคัมภีร์ด้วยทำนองธรรมวัตร มี 5 ส่วน คือ บทปณามคาถา การกล่าวบทพระบาลีนิกเขปบท อารัมภบท เนื้อเรื่อง และการสรุป/กล่าวถึงอานิสงส์ เนื้อหาของคัมภีร์มาลัยโผดโลก กล่าวถึงนรกสวรรค์ บาปบุญคุณโทษ และพระศรีอริยเมตไตรย ส่วนอิทธิพลของคัมภีร์มาลัยโผดโลก พบว่า มี 3 ด้าน คือ อิทธิพลด้านศีลธรรมจริยธรรม อิทธิพลด้านพิธีกรรมงานอวมงคล และอิทธิพลด้านการศึกษาภาษาล้านนา

นรกและสวรรค์ในพุทธปรัชญาและในคัมภีร์มาลัยโผดโลก มีความเหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนี้ สามารถวิเคราะห์ได้ 3 ส่วน คือ การวิเคราะห์นรกและสวรรค์ในเชิงจักรวาลวิทยา การวิเคราะห์นรกและสวรรค์ในเชิงญาณวิทยา และการวิเคราะห์นรกและสวรรค์ในเชิงจริยศาสตร์

References

MahaChulalongkorn. (1996). Tipitakas. Thai. Bangkok: MahaChulalongkorn rajavidyalaya Printing House.

Chadalak Sanpanich. (1981). “The Phra Malai: a critical study”. Master of Arts Department of Oriental Languages. Graduate School: Silpakorn University.

Culture officer of Chiang Mai. (2005). Traditional rituals of Chiang Mai. Chiang Mai: Culture officer of Chiang Mai.

Fine Arts Department. (2005). Cakkavaladipani by Phra Sirimangalacariya. 2nd edition. Bangkok: Nation Library of Fine Arts Department.

PhraDhammapidok. (P.A. Payutto). (1995). Karma - Hell and Heaven for a new generation. Bangkok: Dhammasapa.

Supapan Na Bangchang, (1990). Evolution literature calls the tune in the Sutta Pitaka in Thailand. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Supaporn Makjang, (1978). “Malaidhevateravaddu: the checking, analytical study, the Department of the East”. Thesis Master of Arts. Graduate School: Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-12-2018