มายาคติว่าด้วยธรรมชาติในงานโฆษณาทางโทรทัศน์ของบริษัท ปตท. จำกัด มหาชน
คำสำคัญ:
มายาคติ, มายาคติว่าด้วยธรรมชาติ, งานโฆษณาทางโทรทัศน์ของบริษัท ปตท.จำกัด มหาชน, โรล็องด์ บาร์ตส์, แนวคิดสัญวิทยาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ศึกษามายาคติว่าด้วยธรรมชาติที่ปรากฏในงานโฆษณาทางโทรทัศน์ของบริษัท ปตท.จำกัด มหาชน โดยนำแนวคิดเรื่องมายาคติของโรล็องด์ บาร์ตส์ มาเป็นกรอบการศึกษาวิเคราะห์ โดยผู้วิจัยได้รวบรวมภาพยนตร์ในโฆษณาของ ปตท. ที่ถูกผลิตและเผยแพร่ตลอดปี พ.ศ. 2554 จานวน 9 เรื่องมาเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า บาร์ตส์ใช้วิธีการที่เรียกว่าสัญวิทยา หรือการศึกษากระบวนการสื่อความหมายผ่านสิ่งประกอบสร้างทางวัฒนธรรม มายาคติในความหมายของบาร์ตส์จึงเป็นสิ่งที่ประกอบสร้าง และถูกนำเสนอราวกับว่าเป็นความจริงสากล ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมายาคตินั้นเป็นเพียงสิ่งที่ผู้คนหลงเชื่อไปเองว่าเป็นความจริง บริษัท ปตท. จากัด มหาชน ได้นำเสนอตัวเองว่าเป็นบริษัทรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือบริษัทสีเขียวได้อย่างที่ตั้งใจ นอกจากจะสามารถสร้างภาพลักษณ์ของการเป็นบริษัทสีเขียวได้ในระดับหนึ่งแล้ว ยังสามารถนำภาพลักษณ์ที่ได้นั้นออกมาสร้างเป็นมายาคติที่ผู้คนหลงเชื่อได้ราวกับว่าเป็นความจริงและความหวังดีของปตท. จำกัด มหาชน อย่างไรก็ตามภาพและเรื่องราวจากการนำเสนอนั้น กลับทำให้เห็นว่าความจริงแล้ว ปตท. เชื่อว่ามนุษย์ต่างหากที่สามารถควบคุมและจัดการกับธรรมชาติ หากมนุษย์ร่วมมือกันธรรมชาติก็จะถูกจัดการ ควบคุม และถูกนำออกมาใช้สอยเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
References
จำกัด
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). สัญวิทยา โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยมกับการศึกษารัฐศาสตร์.
กรุงเทพฯ:วิภาษา.
_______. (2549). วาทกรรมการพัฒนาอำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์และความเป็นอื่น. กรุงเทพฯ:
วิภาษา.
ประชา สุวีรานนท์. (2551). แล่เนื้อ เถือหนัง รวมบทวิจารณ์ภาพยนตร์จาก นิตยสาร “สารคดี”. กรุงเทพฯ:
มติชน.
เสรี วงษ์มณฑา. (2540). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัททวิสิทธ์พัฒนา
Barthes, Roland. (1967). The Fashion System. Berkeley: University of California Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th