ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องวิญญาณในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ กับ พร รัตนสุวรรณ

ผู้แต่ง

  • Phra sittichai Phrasittichai Chiang Mai University

คำสำคัญ:

วิญญาณ, การพัฒนาคุณภาพวิญญาณ, ความหมายของวิญญาณ, พุทธทาสภิกขุ, พร รัตนสุวรรณ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดเรื่องวิญญาณในทัศนะของพุทธทาสภิกขุกับอาจารย์พร รัตนสุวรรณ เกี่ยวกับความหมาย คุณลักษณะ ประเภท และสภาพการดำรงอยู่ ของวิญญาณตามสภาวะในภพภูมิต่างๆ  รวมทั้งกระบวนการพัฒนาคุณภาพของวิญญาณ และวิเคราะห์คุณค่าทาง   จริยะของความเชื่อเรื่องวิญญาณที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตและการกำหนดเป้าหมายชีวิต 

ผลจากการศึกษา ผู้วิจัยได้พบข้อสรุปแนวคิดเกี่ยวกับวิญญาณดังต่อไปนี้

  1. ในด้านความหมาย “ วิญญาณ” ในทรรศนะของพุทธทาสภิกขุ หมายถึง ความรู้แจ้ง รู้แจ้งวิเศษ และสิ่งที่ควรรู้แจ้ง(นิพพาน)หรือแปลว่า สิ่งที่ควรพัฒนาให้ยิ่งขึ้นไป เป็นวิญญาณถึงขั้นอิสระเสรีได้ แต่อาจารย์พรกล่าวว่า “วิญญาณ” เป็นพลังงานทางนามธรรม  หรือเป็นอำนาจอย่างหนึ่งที่มีอยู่ทั่วไป  โดยเฉพาะคือ  ในสิ่งที่มีชีวิต  ไม่ว่าจะเป็นพืช  สัตว์  หรือ  มนุษย์  ล้วนมีวิญญาณทั้งสิ้น
  2. ในด้านคุณลักษณะ จากความคิดของทั้ง 2 ท่าน ไม่มีความแตกต่างกันในด้านคุณลักษณะ คือ ทั้ง 2 ท่าน กล่าวว่า วิญญาณมีคุณลักษณะ คือ การรู้แจ้งอารมณ์ หรือการรับรู้อารมณ์ ทางอายตนะทั้ง 6 และวิญญาณ มีลักษณะ เกิดและดับอย่างรวดเร็ว มีการเกิดและดับอยู่ตลอดเวลา เกิด ดับต่อเนื่องกันไป ตามเหตุปัจจัย   
  3. ในด้านประเภท พุทธทาสกล่าวว่ามีอยู่ 3 ชนิด คือ 1 วิญญาณที่ยังเป็นธาตุอยู่ตามธรรมชาติ  2 วิญญาณที่ปรุงแต่งมาโดยสังขาร สำหรับทำความรู้สึกทางอายตนะและ 3 มีชื่อตามอายตนะ  ส่วนอาจารย์พร แบ่งวิญญาณออกเป็น 2 ประเภท คือ  1. ภวังควิญญาณ หมายถึง จิตใต้สำนึก หรือจิตไร้สำนึก เป็นสภาวะจิตที่ไม่มีความรู้สึกนึกคิด เป็นวิญญาณที่ทำหน้าที่เป็นองค์แห่งภพ  คือ  เป็นรากฐานของชีวิต  เป็นจิตที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ และ 2. วิถีวิญญาณ หรือวิญญาณปฏิบัติการับรู้ในขณะตื่น  
  4. ในด้านสภาพการดำรงอยู่ของวิญญาณตามสภาวะภพภูมิต่างๆ พุทธทาสภิกขุไม่ได้เน้นชีวิตในอนาคต เพราะการเกิดของวิญญาณตามนัยปฏิจจสมุปบาทที่เป็นกระบวนการปัจจุบัน ในชาตินี้ ไม่โยงวิญญาณ ในลักษณะการข้ามภพข้ามชาติ ส่วนอาจารย์พร อธิบายวิญญาณในลักษณะการข้ามภพข้ามชาติ คือ ในเมื่อวิญญาณยังมีกิเลส หลังจากตายแล้ว จะต้องสร้างชีวิตต่อไปอีกไม่มีสิ้นสุด
  5. ในด้านกระบวนการพัฒนาคุณภาพของวิญญาณ การพัฒนาวิญญาณในทัศนะของทั้งสองท่านมีอยู่ 3 ขั้น ได้แก่ ระดับศีล ระดับสมาธิ และระดับปัญญา เพื่อพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง เมื่อเข้าถึงจุดนี้  จึงจะรู้แจ้งทุกสิ่งตามเป็นจริง
  6. ในด้านคุณค่าทางจริยะที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตและการกำหนดเป้าหมายชีวิต พุทธทาส เน้นการพัฒนาวิญญาณ ในปัจจุบัน เป้าหมายชีวิต ต้องการความเป็นอิสรภาพด้วยการดับกิเลสตามกระบวนการของปฏิจจสมุปบาท ที่เรียกว่า นิพพานได้ในปัจจุบัน ขณะที่อาจารย์พร มีเป้าหมายชีวิตที่ดีในชาติหน้า  ด้วยการทำกรรมดีปัจจุบัน สั่งสมบารมีให้มากขึ้น  เมื่อบารมีเต็มจึงจะบรรลุนิพพานดับกิเลสได้

References

กีรติ บุญเจือ. ( 2528). แก่นปรัชญากรีก. กรุงเทพ ฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2534). ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2522). ปรัชญาตะวันตกร่วมสมัย 1. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บรรจบ บรรณรุจิ. (2533). จิต มโน วิญญาณ. กรุงเทพฯ : ไร่เรือนสมาธิ.
บุญมี แท่นแก้ว. (2536). ปรัชญา, กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
พระฟอง อภิวณฺโณ. (2535). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดเรื่องจิตว่าง.
พระอนันต์ อิสุกาโร. (2550). ศึกษาการตีความปฏิจจสมุปบาทตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาพวน ขนฺติธโร. ( 2547). การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดเรื่องวิญญาณในทรรศนะของพุทธทาส
ภิกขุกับอริสโตเติล. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาบรรพต เจโตวสี. (2544). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องวิญญาณในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ตามทัศนะของอาจารย์พร รัตนสุวรรณ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2530). สมถะวิปัสสนาแห่งยุคปรมานู. กรุงเทพมหานคร : พระนคร.
_________. (2533). ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์. กรุงเทพมหานคร : พระนคร.
_________. (2534). ปรมัตถสภาวธรรม. กรุงเทพมหานคร : พระนคร.
_________. (2534). สันทัสเสตัพพธรรม. กรุงเทพมหานคร : ธรรมทานมูลนิธิ.
_________. (2536). ธรรมปาฏิโมกข์. กรุงเทพมหานคร : พระนคร.
_________. (2537). อิทัปปัจจัยยาตา. กรุงเทพมหานคร : พระนคร.
_________. (2538). ชีวิตเหนือทุกข์. กรุงเทพมหานคร : พระนคร.
_________. (2548). คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ ฯ; สุขภาพใจ.
_________. (2549). อิทัปปัจจยตา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ; สุขภาพใจ.
พร รัตนสุวรรณ. (2528). วิญญาณคืออะไร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ.
_________. (2531). นรก-สวรรค์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ.
_________. (2532). คำบรรยายพุทธปรัชญา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ.
_________. (2532). สมาธิและวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ.
_________. (2537). พาชื่นทุกข์นี้ฤาไฉน . พิมพ์ครั้งที่4 . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ.
_________. (2537). พุทธวิทยา เล่นที่1-2.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ.
_________. (2537). หลักพระพุทธศาสนาสำหรับทุกคน .กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ.
_________. (2537). อำนาจจิต. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2532). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ – ไทย. กรุงเทพ ฯ: ราชบัณฑิตสถาน.
ธีรยุทธ สุนทรา. (2539). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิธาน สุชีวคุปต์ และคณะ, ผศ.. (2532). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิธาน สุชีวคุปต์, ผศ.. (2525). อภิปรัชญา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สถิต วงศ์สวรรค์, รศ.. (2540). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : อักษรพิทยา.
สนิท สีสำเดง. (2538). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา. กรุงเทพ ฯ: นีลนาราการพิมพ์.
สุเมธ เมธาวิทยกุล. (2540). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2533). คู่มืออภิปรัชญา. กรุงเทพ ฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
อรรถนิติ ลิ่มปิยมิตร. (2547). นิพพานในทัศนะของท่านพุทธทานภิกขุ . เชียงใหม่ : ภาควิชาปรัชญาและ
ศาสนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-10-2018