วิพากษ์วัฒนธรรมยุคดิจิตอลผ่านปรัชญาการศึกษาของ เปาโล แฟร์
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมยุคดิจิตอล, ปรัชญาการศึกษา, เปาโล แฟร์, การศึกษาของผู้ถูกกดขี่, การศึกษาเชิงวิพากษ์บทคัดย่อ
บทความวิชาการชิ้นนี้เป็นการศึกษาเพื่อวิพากษ์วัฒนธรรมดิจิตอลผ่านปรัชญาการศึกษาของเปาโล แฟร์ โดยทำการวิจัยเชิงเอกสาร ในประเด็น ดังนี้ 1) วัฒนธรรมดิจิตอลกับการศึกษา 2) ปรัชญาการศึกษาของเปาโล แฟร์ และ 3) วิพากษ์วัฒนธรรมดิจิตอลผ่านปรัชญาการศึกษาของ เปาโล แฟร์ จากการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมดิจิตอลกำลังเพิ่มโอกาสของการเข้าถึงการศึกษา และเพิ่มพื้นที่ของการมีเสรีภาพในการเรียนรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนในแบบเดิมถูกทำลายโดยผู้เรียนกลายเป็นผู้เลือกผู้สอนหรือแหล่งความรู้ที่ไม่จำกัดอยู่แค่ในโรงเรียน การศึกษาแบบฝากธนาคารเป็นมโนทัศน์ที่แฟร์ใช้ทำการวิพากษ์ว่า ผู้เรียนเป็นวัตถุที่รองรับความรู้นั้นอาจไม่มีอีกต่อไป วัฒนธรรมดิจิตอลกำลังสร้างโลกจำลองหรือชุมชนจิตกรรมออนไลน์ขึ้นมา การมีโลกที่ทับซ้อนย่อมสร้างความสับสนจิตสำนึกของตัวตนระหว่างโลกจริงกับโลกจำลอง และอาจไม่สามารถนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกเชิงวิพากษ์ได้ การศึกษาที่เกิดบนชุมชนจิตกรรมออนไลน์จึงอาจกลายเป็นพื้นที่ของการเข้ามากระทำการกดขี่ที่มากขึ้น พร้อมกับสร้างมายาคติที่เสมือนว่ามีเสรีภาพขึ้นมาบดบังสภาพความเป็นจริง หากมองในทางกลับกันวัฒนธรรมดิจิตอลนั้นสามารถส่งผลให้การศึกษาเป็นพลังของการเชื่อมโยงโดยไม่จำกัดพื้นที่และเวลา เกิดพื้นที่การเรียนรู้ที่ร้อยรัดสำนึกที่มีต่อโลกบางอย่างร่วมกันจนเกิดการวิพากษ์และลงมือกระทำเพื่อสร้างสรรค์สังคมใหม่
References
กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2555). ทฤษฏีวิพากษ์ในนโยบายและการวางแผนสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. (2559). การสร้างความรู้ร่วมกันเพื่อความเป็นอิสระ: ข้อเสนอว่าด้วยการศึกษาภายใต้ระบบทุนิยมดิจิตอล. กรุงเทพฯ: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปีการศึกษาของภาควิชาปรัชญา: เหลียวซ้ายแลขวาการศึกษาไทย.
แฟร์, เปาโล. (2559). การศึกษาของผู้ถูกกดขี่. วิจักษ์ พาณิช และคณะ, แปล. กรุงเทพฯ: ปลากระโดด.
ชมิดท์ และ เอริค. (2557). ดิจิทัลเปลี่ยนโลก = The New digital age / Eric Schmidt, Jared Cohen. สุทธวิชญ์ แสงดาษดา, แปล. กรุงเทพฯ: โพสต์บุ๊กส์.
คาล ซาลมาน. (2558). โรงเรียนหลังใหญ่โลกใบเดียวกัน. อำนวย พลสุขเจริญ, แปล. กรุงเทพฯ: มติชน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th