บทวิพากษ์มโนทัศน์ฮิปสเตอร์ในสังคมไทยร่วมสมัย
ผ่านกรอบแนวคิดอุตสาหกรรมวัฒนธรรมของอดอร์โน
คำสำคัญ:
ฮิปสเตอร์, ทุนนิยมผูกขาด, อุตสาหกรรมวัฒนธรรมบทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอการวิเคราะห์กระแสฮิปสเตอร์ในสังคมไทยร่วมสมัย การบริโภคสินค้าและบริการของมวลชน รวมไปถึงกระแสฮิปสเตอร์ได้กลายมาเป็นแบรนด์ให้กับสินค้าและบริการต่างๆ ผ่านกรอบแนวคิดอุตสาหกรรมวัฒนธรรมของธีโอดอร์ อดอร์โน
วัฒนธรรมฮิปสเตอร์ มีจุดกำเนิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีแนวคิดที่มุ่งแสวงหาคุณค่าของชีวิตที่หลุดออกจากกรอบสังคม แสดงออกถึงอัตลักษณ์ของตนเองที่อาจมีความย้อนแย้งต่อวัฒนธรรมกระแสหลัก ทว่ากระแสฮิปสเตอร์ในสังคมไทยร่วมสมัย สามารถมองได้ว่า เป็นเพียงจุดขายสำหรับการดึงดูดมวลชนเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมต่างๆ ในระบบทุนนิยมเท่านั้น เนื่องจากการใช้แนวคิดเพียงส่วนเสี้ยวหนึ่งของความเป็นปัจเจกของวัฒนธรรมฮิปสเตอร์แทรกซึมเข้ากับทัศนคติและชีวิตประจำวันของมวลชนอย่างแยกไม่ออก ผูกเข้ากับสินค้าและบริการ เป็นการสร้างความโดดเด่นให้สินค้าที่มีภาพลักษณ์ของฮิปสเตอร์แตกต่างไปจากสินค้าอื่น อีกทั้งยังช่วยปกปิดความต้องการที่แท้จริงของนายทุน ซึ่งก็คือการสร้างกำไรและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ดำเนินต่อไปได้ นั่นทำให้กระแสฮิปสเตอร์ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อมวลชนในสังคมไทยร่วมสมัย ทั้งในสื่อสังคมออนไลน์ ในการบริโภคสินค้า และกระแส ฮิปสเตอร์ในฐานะแบรนด์ แต่กลับไม่สามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตของมวลชนอย่างแท้จริง วัฒนธรรมฮิปสเตอร์จึงไม่ได้มีความหมายใดๆ ต่อมวลชน เป็นเพียงการเสพกระแสฮิปสเตอร์ในฐานะสินค้าและบริการเท่านั้น
References
ฐิรวุฒิ เสนาคา. 2549. เหลียวหน้าแลหลัง วัฒนธรรมป๊อป. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร (องค์การมหาชน).
นันทวัฒน์ ฉัตรอุทัย. 2549. เหลียวหน้าแลหลัง วัฒนธรรมป๊อป. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
ประยุทธ วรรณอุดม. 2556. การผลิตซ้างานศิลปะในยุคดิจิทัล: การปรับเปลี่ยนของหมอลา จากสาระบันเทิงมาเป็นโฆษณาบันเทิง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 8 (มกราคม – มิถุนายน): 6-7.
อาจินต์ ทองอยู่คง. 2555. เป็นแฟนบอลมันมีอะไรมากกว่าดูบอล:ปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมของการมีส่วนร่วมของแฟนสโมสรฟุตบอลไทย. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา 31(1) (มกราคม – มิถุนายน) : 94.
OKMD. (2558). แกะรอยฮิปสเตอร์ (Hipster) คนแรกของโลก. 1(4) (กรกฎาคม – สิงหาคม) : 14.
2) วิทยานิพนธ์
เกษม เพ็ญภินันท์ และคณะ. (2555). ผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรมของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: ความเสมือนจริง, วัฒนธรรมเชิงทัศนาและการแปรเปลี่ยนการส่งเสริมการขายในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. กรุงเทพ ฯ : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา , สานักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ.
มัลลิกา มหาพรหม. (2558). ภาพตัวแทนความเป็นฮิปสเตอร์ที่ปรากฏในสื่ออินสตาแกรม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วิสาขา เทียมลม. (ม.ป.ป). มายาคติความงามแบบสาวเกาหลี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิวพร ศรีวะรมย์. (2558). อัตลักษณ์ของฮิปสเตอร์ในกลุ่มเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
3) สื่ออิเล็กทรอนิกส์
เกษม เพ็ญภินันท์. 2553. รายงานสัมมนา: ‘อุตสาหกรรมวัฒนธรรม’ สารวจแนวคิดจนถึงนโยบาย แล้วไทยจะไปทางไหน. (ออนไลน์). Available from: http://prachatai.com/journal/2010/08/30855 (26 ตุลาคม 2559).
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. 2558. ความต่างของวิธีคิดต่อวัฒนธรรมกระแสนิยม. (ออนไลน์). Available from: http://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/articles/7 (26 ตุลาคม 2559).
T.s. Flock. 2557. HOLIDAY GIFT GUIDE 2014: KINFOLK SUBSCRIPTION. (ออนไลน์). Available from: http://vanguard seattle.com/2014/12/18/holiday-gift-guide-2014-kinfolk-subscription/ (27 กันยายน 2559). 66
Wikipedia.2559. Hipster (contemporary subculture). (Online). Available from: https://en.wikipedia.org/wiki/Hipster_(contemporary_subculture) (1 กันยายน 2559).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th