ปายาสิสูตร : หลักฐานการปฏิเสธและยืนยันโลกหน้าสมัยพุทธกาล
คำสำคัญ:
ปายาสิสูตร, โลกหน้า, พุทธกาลบทคัดย่อ
ปายาสิสูตรเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยพุทธกาลที่โต้แย้งความคิดระหว่างพระพุทธศาสนากับกลุ่มลัทธิอื่นร่วมสมัย เนื้อหาเป็นการอ้างเหตุผลสนับสนุนในการปฏิเสธและยืนยันความมีอยู่ของโลกหน้า พระเจ้าปายาสิเป็นตัวแทนฝ่ายวัตถุนิยม ปฏิเสธความมีอยู่ของโลกหน้า โดยอ้างเหตุผลแบบเงื่อนไขที่เกิดจากการทดลองพิสูจน์ข้อเท็จจริงด้วยวิธีการประจักษนิยม และยืนยันข้อสรุปว่า โลกหน้าไม่มี ความจริงมีอยู่เฉพาะในโลกนี้เท่านั้น สิ่งอื่นที่นอกเหนือการรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ของมนุษย์ไปแล้วไม่ใช่ความจริง ขณะที่พระกุมารกัสสปะเป็นตัวแทนพระพุทธศาสนา แสดงจุดยืนของพระพุทธศาสนาและโต้แย้งทัศนะวัตถุนิยมของพระเจ้าปายาสิ และยืนยันความมีอยู่ของโลกหน้าโดยอ้างเหตุผลแบบเปรียบเทียบหรืออุปมาโวหาร เพื่ออธิบายสิ่งที่มองไม่เห็นหรือการไม่ได้ฟังเป็นต้น ไม่ได้หมายความว่า สิ่งนั้นไม่มีอยู่ เพียงแต่เป็นข้อจำกัดของประสาทสัมผัสของมนุษย์ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาหรือฟังด้วยหูเป็นต้นก็มีอยู่ ใช้อุปมาโวหารเปรียบเทียบสิ่งที่เป็นรูปธรรมกับนามธรรม เพื่อให้เข้าใจถึงความมีอยู่ของโลกหน้าที่เป็นนามธรรม
การประยุกต์เนื้อหาในปายาสิสูตรต่อสังคมไทยปัจจุบัน สนับสนุนความเชื่อเรื่องโลกหน้าและกฎแห่งกรรมให้หนักแน่นยิ่งขึ้น และประยุกต์กับการเรียนการสอนเรื่องโลกหน้าและกฎแห่งกรรมให้ชัดเจน เพื่อยืนยันความมีอยู่จริงในมิติทางนามธรรม แม้เรื่องนี้ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้เชิงรูปธรรม โดยเน้นการนำประเด็นข้อพิสูจน์ของพระเจ้าปายาสิและอุปมาโวหารของพระกุมารกัสสปะมาประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจและปฏิบัติอย่างถูกต้องตามคติทางพระพุทธศาสนา
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . (2539) . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชัชชัย คุ้มทวีพร. (2539) . ตรรกศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกริก.
บุญมี แท่นแก้ว .(2536) . ตรรกศาสตร์ทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 4 .กรุงเทพมหานคร :โอเดียน สโตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน .(2540). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาอังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน .
กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน.
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี . (2547) .ตายแล้วเกิดใหม่ตามนัยพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์ธรรมดา.
Reynolds, Frank E. and Reynolds, Mani B. . (1982) . Three worlds according to King Ruang
: A Thai Buddhist cosmology . California : Asian Humanities Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th