แนวคิดและบทบาทของตัวละครที่แสดงเป็นพระสงฆ์ในหมอลำเรื่องต่อกลอน

ผู้แต่ง

  • Saksakon Ponsanong Chiang Mai University

คำสำคัญ:

แนวคิดและบทบาท, พระสงฆ์, หมอลำเรื่องต่อกลอน

บทคัดย่อ

แนวคิดของตัวละครที่แสดงเป็นพระสงฆ์ในหมอลำเรื่องต่อกลอนเป็นการแสดงที่อยู่ภายใต้บริบทแนวคิดทางพระพุทธศาสนา เรื่องที่นำมาแสดงมักปรากฏในวรรณกรรมชาดกของลาวอีสานและวรรณคดีลาวอีสาน ซึ่งสะท้อนแนวคิดเรื่องกฎแห่งกรรม ตัวละครที่แสดงเป็นพระสงฆ์เป็นตัวเชื่อมเรื่องในบทลำให้มีความต่อเนื่อง ทำให้ตัวละครในท้องเรื่องครบองค์ประกอบ บทบาทดังกล่าวถูกนำเสนอในรูปแบบของความตลกขบขัน เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนานโดยมีลักษณะแตกต่างจากการฟังพระธรรมเทศนาแบบทั่วไป ในขณะเดียวกันก็มีการสอดแทรกหลักศีลธรรมจริยธรรมและคติการดำเนินชีวิต การแสดงในลักษณะนี้เป็นที่แพร่หลาย และเป็นรูปแบบทางการแสดงร่วมกันของคณะหมอลำเรื่องต่อกลอน

ผู้ให้ข้อมูลแสดงทัศนะต่อบทบาทพระสงฆ์ด้านพระวินัยบัญญัติหลายกลุ่ม กลุ่มแรกเห็นว่า ไม่เหมาะสมโดยประการทั้งปวง กลุ่มที่สองเห็นว่า เหมาะสมโดยมีเงื่อนไข คือ การแสดงต้องอยู่ในขอบเขต และไม่เหมาะสมถ้าการแสดงนั้นเกิดภาพลบ หรือมีเจตนาทำลายพระพุทธศาสนา กลุ่มที่สามเห็นว่า เหมาะสมเนื่องจากเป็นจารีตอย่างหนึ่งที่ถือปฏิบัติกันมา จนกลายเป็นเรื่องปกติของการแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอน และเป็นการสะท้อนให้เห็นวัตรปฏิบัติพระสงฆ์ยุคปัจจุบัน นอกจากนี้การแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอนยังมีคุณค่าด้านต่างๆ คือ คุณค่าด้านการสืบสานศิลปวัฒนธรรม ด้านการสั่งสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้านการเป็นสื่อสะท้อนวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ ด้านการถ่ายทอดคติในการดำเนินชีวิตของประชาชน ด้านความบันเทิง ด้านวรรณศิลป์ และคุณค่าด้านคติชนวิทยา

References

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). คู่มือพระสังฆาธิการ ว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการพระ
ศาสนา. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.
กรมศิลปากร. (2544). คู่มือถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมาพันธ์.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (ม.ป.ป.). บทบาทของหมอลำต่อสังคมอีสานในช่วงกึ่งศตวรรษ. ม.ป.ท.: สถาบันวิจัย
ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2526). หมอลำ - หมอแคน. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการโครงการส่งเสริมหนังสือตาม
แนวพระราชดำริ .
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2551). ดนตรีลาวเดิม. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น .
ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2525). การพัฒนากิจการคณะสงฆ์และการพระศาสนาเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ.
ม.ป.ท.: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.
เดนิส เฮย์วูด.(2005). เอนเชียนหลวงพระบาง. กรุงเทพฯ: ริเวอร์ บุ๊คส์.
เติม วิภาคย์พจนกิจ. (2546). ประวัติศาสตร์อีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทรงพล ศรีจักร. (2479) .เพ็ชร์พื้นเมืองเวียงจันทน์. พระนคร: บางขุนพรหม.
ทัศนีย์ บัวระภา. (2537).ความคิดเห็นของชาวชนบทอีสานที่มีต่อศาสนาและพระสงฆ์. ม.ป.ท.: สถาบันวิจัย
ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
บรรพต วีระสัย และคณะ. (ม.ป.ป.) .พระสงฆ์กับสังคมไทย โดยพิจารณาในเชิงสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
และการปกครอง ศึกษากรณีวัดในกรุงเทพฯ และฉะเชิงเทรา. ม.ป.ท.: ม.ป.พ. .
บุญเลิศ จันทร. (2531).ดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ผ่องพันธุ์ มณีรัตน์.(2525).มานุษยวิทยากับการศึกษาคติชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรสรวง เถาว์ทวี.(2543).พัฒนาการของหมอลำในเมืองอุบลราชธานี. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระปลัดประจวบ ทุนผลงาม และคณะ. (2547).ความคาดหวังของสังคมไทยต่อบทบาทของพระสงฆ์.
เชียงใหม่: สาขาพุทธศาสนศึกษา ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). (2548).การบริหารวัด. พิมพ์ครั้งที่ 7. นครปฐม : เพชรเกษมการ
พิมพ์.
พิทูร มลิวัลย์. (2530).พื้นขุนบูรมราชาธิราช กฎหมายธรรมศาสตร์ขุนบูรม ปีและศกไทยโบราณ.
กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิสิฏฐ์ บุญไชย และทรงคุณ จันทจร. (ม.ป.ป.).ศาสนาพุทธ : สถานภาพ บทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงใน
สังคมอีสาน. มหาสารคาม : สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
2540.
ไพบูลย์ แพงเงิน. (2534).กลอนลำ-ภูมิปัญญาของอีสาน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์,
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (เล่ม 1-2, 4-7) โปรแกรม
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร. MCUTRAI Version 1.0.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/
ส. ธรรมภักดี. (ม.ป.ป.).ลำมหาชาติหรือเทศน์เวสสันดรชาดกภาคอีสาน รวมทั้งสังกาช มะลายหมื่น มะลัย
แสน และฉลอง. ม.ป.ท.: ส. ธรรมภักดี.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. (2532). วัฒนธรรมพื้นบ้าน : กรณี
อีสาน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด.
สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. (2550).โครงการดูแลทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรมของชาติของพระสังฆาธิ
การ. กรุงเทพมหานคร: สำนักโบราณคดีกรมศิลปากร.
สุพรรณ ทองคล้อย. (2524).ลักษณะร้อยกรองพื้นถิ่นอีสาน. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อเนก นาวิกมูล และณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2550).เพลงพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานอุทยานการเรียนรู้,
อภิศักดิ์ โสมอินทร์. คติชาวบ้านไทยอีสาน. (2526).มหาสารคาม: คณะกรรมการโครงการส่งเสริมหนังสือ
ตามแนวพระราชดำริ.
อรรถพล ธรรมรังสี. (2558).พระวอ-พระตา : ประวัติศาสตร์ผ่านใบลาน. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์,
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และคณะ. (2529).คัมภีร์พระธรรมศาสตร์บูราณ (กฎหมายเก่าของลาว). กรุงเทพฯ:
สบายสาร.
อุดร จันทวัน. (2547).นิทานอุรังคธาตุ ฉบับลาว. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-10-2018