การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของครูบาอภิชัยขาวปี

ผู้แต่ง

  • Theetat Jaejai Chiang Mai University

คำสำคัญ:

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, ครูบาอภิชัยขาวปี

บทคัดย่อ

ครูบาอภิชัยขาวปีถือกำเนิดที่บ้านแม่เทย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เมื่ออายุ 16 ปี ได้เข้ารับการบรรพชาเป็นสามเณรโดยมีครูบาศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นอายุ 22 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา จากนั้นท่านได้จาริกไปเพื่อสร้างศาสนสถานและสาธารณประโยชน์จำนวนมาก ตัวตนความเป็นทวิลักษณ์ของครูบาอภิชัยขาวปี คือ ลักษณะการเป็นนักอนุรักษ์นิยมยึดหลักปฏิบัติพุทธจารีตดั้งเดิม และลักษณะการเป็นนักเผยแผ่ กอปรกับได้รับการสืบทอดวัตรปฏิบัติมาจากครูบาศรีวิชัย จึงทำให้ชนชาติพันธุ์ในล้านนามีความศรัทธาในตัวท่าน การเคลื่อนไหวทางสังคมของครูบาอภิชัยขาวปีได้นำมาสู่เหตุการณ์ถูกจับลาสิกขา ถึง 3 ครั้งด้วยภาวะจำยอม ครั้งสุดท้ายจึงตัดสินใจครองผ้าขาวตลอดชีวิตและยึดการปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยเพื่อแสดงถึงสถานภาพของนักบวชและทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นับว่าท่านมีความมุ่งมั่นในอุดมการณ์เป็นอย่างยิ่ง

บทบาทและผลงานของครูบาอภิชัยขาวปีที่มีต่อสังคมล้านนา ด้านการปกครอง พบว่า ครูบาอภิชัยขาวปีได้ยึดเอาหลักธรรมาธิปไตยเพื่อสร้างอำนาจทางธรรมและสอดรับการเป็นตนบุญในการปกครองโดยผ่านความเชื่อ ด้านศาสนศึกษา พบว่า มีการบันทึกและการเขียนหนังสือเชิงประวัติศาสตร์และหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ด้านศึกษาสงเคราะห์ พบว่า มีการสนับสนุนและสร้างสถานศึกษา ด้านสาธารณูปการ พบว่า ได้มีการเคลื่อนไหวช่วยเหลือสังคมในการสร้างสาธารณประโยชน์ทั้งในส่วนภาครัฐและประชาชน  และ ด้านสาธารณสงเคราะห์ พบว่า  มีการดำเนินกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลและมีการช่วยเหลือเกื้อกูลประชาชนทั่วไป

สำหรับบทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของครูบาอภิชัยขาวปี ได้รับอิทธิพลแนวคิดการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 3 แนวคิด คือ 1) แนวคิดจากครูบาศรีวิชัย 2) แนวคิดการครองผ้าขาว และ 3) แนวคิดต๋นบุญพระโพธิสัตว์ (มหายาน) โดยมีหลักการทางพระพุทธศาสนา 2 หลักการใหญ่ที่มีความสอดคล้องกับการเผยแผ่คือ หลักปาฏิหาริย์ 3 และหลักประโยชน์ 3 อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเผยแผ่ที่เป็นลักษณะเฉพาะตนของครูบาอภิชัยขาวปีนั้นมี 3 ลักษณะคือ การจาริก การเขียนหนังสือบันทึกคัมภีร์ และการสร้างศาสนสถานสาธารณประโยชน์ ทั้งนี้พบว่าวิธีการสำคัญสร้างความศรัทธาในพระพุทธศาสนาคือ 1) ผ่านการเทศน์สั่งสอน 2) ผ่านการสร้างศาสนสถานและสาธารณประโยชน์ วิธีการดังกล่าวได้เชื่อมโยงเครือข่ายทางสังคมและสร้างพื้นที่ทางศาสนาขยายเป็นวงกว้างในแถบล้านนา โดยการยึดหลักศีลธรรมเป็นพื้นฐานแห่งการดำเนินชีวิตตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว สังคมและวัฒนธรรมประเพณี  สะท้อนถึงคุณค่าและผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของครูบาอภิชัยขาวปี

References

(1) หนังสือ
กิจชัย เอื้อเกษม.(2556). สมาธิภาวนาในคัมภีร์อักษรธรรม. สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยออสเตรเลียและนิวซีแลนด์.
ไกรศรี นิมมานเหมินทร์. (2525).ความรู้พื้นฐานด้านลานนาคดี : ศาสนาและวัฒนธรรม. ใน ล้านนาปริทัศน์. พิมพ์ในวาระครบรอบปีคล้ายวันมรณะของนางกิมฮ้อ นิมมานเหมินทร์.
คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน.(2494). คำแถลงการณ์เรื่ององค์ศาสนา 2 ห้อง. เชียงใหม่ : พุทธนิคม.
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2551). งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ครูบาอภิชัยขาวปี. (2496).ชีวประวัติองค์สมัยสามห้องของท่านอภิชัยขาวปี. เชียงใหม่ : ดวงตะวันการพิมพ์.
ชูสิทธิ ชูชาติ.(2535). แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องครูบาในล้านนา. เชียงใหม่ : วิทยาลัยครูเชียงใหม่ สหวิทยาลัยล้านนา.
ประดิษฐ์ รัตนพรหม. (2525). ประวัติชีวิตครูบาอภิชัยขาวปี. เชียงใหม่ : รุ่งเรืองการพิมพ์ .
พรรณเพ็ญ เครือไทย. (2540).วรรณกรรมพุทธศาสนาในล้านนา. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์ตรัสวิน.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต).(2553). ปัญญาต้องคู่กับกรุณาจึงจะพาชาติรอด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542).ก้าวไปในบุญ. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก.
พระพุทธโฆสเถระ. (2553).คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : ธนาเพรส.
พระอภิชัย ขาวปี. (ม.ป.ป.). มูลศาสนา. เชียงใหม่ : ธาราทองการพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ลานนาสีโหภิกขุ.(2516). ปฐมสังฆราชาของลานนาไทย. เชียงใหม่ : วิบูลย์การพิมพ์.
ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. (2559).ข้อวินิจฉัยประวัติครูบาศรีวิชัย. เชียงใหม่ : กลุ่มพุทธมาลัย.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2558). ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.
สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์, ม.ล..(2558). พระพุทธรูปล้านนา กับคติพระพุทธศาสนามหายานแบบตันตระนิกายวัชรยาน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อนิวัช แก้วจำนง. (2552).การจัดการทรัพยากรมนุษย์. สงขลา :ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.
อภิไชย ขาวปี๋.(2507). ประวัติถนนขึ้นดอยสุเทพของครูบาศรีวิชัย. พิมพ์แจกงานประดิษฐานรูปของครูบาศรีวิชัย ณ แท่นเชิงดอยสุเทพทางห้วยแก้ว.
อภิไชย ขาวปี๋.(2494). องค์ศาสนา 2 ห้อง. เชียงใหม่ : อุปะติพงษ์.
(2) บทความ :
เพ็ญสุภา สุขคตะใจอินทร์. (2555). จอบแรกครูบาจุดเริ่มขบวนประชาชน. มติชนสุดสัปดาห์. 33 (1681).
ขวัญชีวัน บัวแดง และพิสิษฎ์ นาสี. (2558).งานพิธีเปลี่ยนผ้าครูบาขาวปี : การสร้างและสานต่อเครือข่ายลูกศิษย์และผู้เชื่อถือศรัทธา. สังคมศาสตร์. 27 (2), 38.
วิโรจน์ อินทนนท์. (2552). ชีปะขาว (ผ้าขาว). ใน เล่าขานตำนานธรรมฉบับ ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี. รวบรวมจัดพิมพ์โดย ไมตรี ภาวัง. เชียงใหม่ : วัดพระพุทธบาทผาหนาม จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 32 ปี ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี.
วิบูลย์ วงษ์ประเสริฐ. (2517). ครูบาอภิชัยขาวปี วัดพระบาทผาหนาม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ศิษย์ของครูบา ศรีวิชัย. อภินิหารและพระเครื่อง. 3 (29), 48.
อนุเกริก อนุกูล. (2518). ครูบาอภิชัยขาวปี นักบุญผู้เจริญรอยตามครูบาศรีวิชัย. พระเครื่องและพุทธานุภาพ. 2 (3), 53.
(3) วิทยานิพนธ์ / งานวิจัย :
พระครูวิสุทธิธรรมโฆษิต (สัมพันธ์ สิริธมฺโม).(2555). ความเป็นครูบา : กรณีศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาศรัญญู ปญฺญาธโร.(2546). การศึกษาหลักการและวิธีการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสุธรรมยานเถร(ครูบาอินทจักรรักษา). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมชาย ธมฺมสาโร.(2556). ศึกษาบทบาทพระครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย ในฐานะนักบุญแห่งล้านนา กรณีศึกษาการบูรณะปฏิสังขรณ์ศาสนสถานในล้านนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โสภา ชานะมูล.(2534). ครูบาศรีวิชัย ตนบุญแห่งล้านนา(พ.ศ.2421-2481). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. คณะศิลปศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

(4) รายงาน/เอกสารประกอบสัมมนา :
ขวัญชีวัน บัวแดง. (2558). ครูบาในพุทธศาสนาแบบล้านนา : ความหมาย วัตรปฏิบัติและความสัมพันธ์กลุ่มชาติพันธุ์. รายงานโครงการทบทวนสภาพองค์ความรู้. เชียงใหม่ : คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ขวัญชีวัน ศรีสวัสดิ์.(2532). ขบวนการครูบาขาวปีกับกะเหรี่ยงโปว์ในภาคเหนือของประเทศไทย. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
(5) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ :
เพ็ญสุภา สุขคตะใจอินทร์. (2559). 3 มีนาร่วมรำลึก “ครูบาอภิชัยขาวปี”: ศาสนทายาทผู้สืบสานแนวทางสายตนบุญ. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2559 จาก :https://www.facebook.com/notes/ 1044011385613132.

(6) เอกสารต่างๆ :
ใบปลิวเชิญชวนร่วมทำบุญร่วมกับครูบาอภิชัยขาวปี๋. (2513). พิมพ์โดย อุดมพร อัศวางกูร. เชียงใหม่ : กลางเวียง.
ใบแผ่กุศลการสร้างทาง อภิไชย ขาวปี๋. (2482). พิมพ์โดย นายเมืองใจ ชัยนิลพันธ์. เชียงใหม่ : เจริญเมือง.
(7) บทการสื่อสารส่วนบุคคล
ก. พระสงฆ์
พระครูคัมภีรธรรม, เจ้าอาวาสวัดทุ่งปูน ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่, 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2559.
พระครูสุนทรอรรถการ, เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทผาหนาม ตำบลป่าไผ่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน, 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2559.
พระประกอบบุญ สิริญาโณ, วัดมหาวัน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน, 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2559.
ข. ฆราวาส
ดร.พรศิลป์ รัตนชูเดช, อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่, 30 มกราคม พ.ศ.2560.
ผศ.ดร.วิโรจน์ อินทนนท์, อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 7 ตุลาคม พ.ศ.2559.
ผศ.ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง, อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 7 ตุลาคม พ.ศ.2559.
พ่อน้อยอินทร์ มั่งใหม่, บ้านดอนไฟ ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่, 17 มกราคม พ.ศ.2560.
พ่ออินปั๋น มาเรือน, บ้านผาหนาม ตำบลป่าไผ่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน, 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2559.
พ่อศรีนวล วงศ์ษา, บ้านผาหนาม ตำบลป่าไผ่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน, 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2559.
แม่ยุพา กัญจนวงศ์, บ้านผาหนาม ตำบลป่าไผ่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน, 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-10-2018