พระพุทธศาสนากับความท้าทายในประชาคมอาเซียน
คำสำคัญ:
พระพุทธศาสนา, ความท้าทาย, ประชาคมอาเซียนบทคัดย่อ
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่ยอมรับนับถือและนำมาเป็นรากฐานและวิถีชีวิตได้อย่างสนิทใจ เหมือนกับว่าพระพุทธศาสนานั้นเกิดอุบัติขึ้นที่ประเทศไทย เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคประชาคมอาเซียนกับประเทศเพื่อนบ้านที่ส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาเหมือนกับประเทศไทย สิ่งที่เป็นความท้าทายเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงเป็นประเด็นหลักในบทความนี้ และอะไรจะเป็นจุดเชื่อมประสานโยงใยความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้านที่เป็นมิตรประเทศเหล่านั้นให้ยอมรับในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทยที่มีพระพุทธศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจได้โดยไม่คิดเป็นอย่างอื่นที่เรียกว่าแตกต่าง สิ่งสำคัญคือความท้าทายต่อความเชื่อแบบเดิมยังมีปนอยู่มากในพระพุทธศาสนา เช่น ศาสนาผี ไสยศาสตร์ การบวงสรวง การบูชาในลักษณะต่าง ๆ และความท้าทายอยู่ที่ความเชื่อมั่นของประชาชน ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาในเชิงสัญลักษณ์หรือรูปแบบในความหลากหลายแห่งชนชาติและชาติพันธุ์ ส่วนประชาคมอาเซียนเป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถในการแช่งขันในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมถึง ความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาค เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย หรืออาจกล่าวได้ว่าการเป็นประชาคมอาเซียนคือการทำให้ประเทศสมาชิกรวมเป็น "ครอบครัวเดียวกัน" มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี สมาชิกในครอบครัวมีสภาพความเป็นอยู่ ที่ดี ปลอดภัย และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น
References
กองอาเซียน,กระทรวงการต่างประเทศ. (2552) .แผนงานการจัดตั้งประเทศสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
(ค.ศ.2009-2015). กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์คาริสมามีเดีย,
พระราชปริยัติ . (2549).การพัฒนาการบริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.
พระครูโสภณปริยัติสุธี. (2560). บทความเรื่องความท้าทายของพุทธศาสนา(เชิงรุก)ในประเทศลุ่มน้ำโขง
ต่อประชาคมอาเซียน. ค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2560 จาก
https://www.gotoknow.org/posts/483493
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส . (2560). บทความเรื่องจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทยสู่มหาวิทยาลัย
พระพุทธศาสนาอาเซียน: อะไร และอย่างไร. ค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2560 จาก
https://www.gotoknow.org/posts/502911
รายนามเลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. ค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560 จาก
http://th.wikipedia.org
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th