อำนาจชีวะในทัศนะของมิเชล ฟูโกต์

ผู้แต่ง

  • Jarunee Wonglakorn

คำสำคัญ:

มิเชล ฟูโกต์, อำนาจ, อำนาจชีวะ, ความรู้, ระเบียบวินัย

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการนำเสนอแนวคิดของมิเชล ฟูโกต์ เรื่องอำนาจชีวะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นว่าอำนาจชีวะซึ่งหมายถึงอำนาจที่มีในจิตมนุษย์และมนุษย์ก็ใช้มันมาควบคุมตนเอง นั้น ที่แท้แล้ว เป็นเทคนิคการปกครองในยุคใหม่ที่เรียกว่า การปกครองชีวญาณ ที่มุ่งควบคุมดูแลร่างกายและความคิดของมนุษย์ในระดับปลีกย่อย นอกจากนี้ ยังต้องการเผยให้เห็นว่าอำนาจชีวะเป็นปฏิบัติการของอำนาจ ในมิติเศรษฐศาสตร์การเมืองเกี่ยวกับเรือนร่าง ผ่านกลยุทธ์อันแนบเนียน นั่นคือ การทำงานควบคู่กับความรู้ โดยมีระเบียบวินัยเป็นกลไกของอำนาจ เพื่อให้ได้มาซึ่งร่างกายที่มีประโยชน์และว่านอนสอนง่าย เป็นผู้ผลิต เพราะหัวใจของอำนาจชีวะคือการคำนึงถึงอรรถประโยชน์ อันเป็นมิติทางเศรษฐศาสตร์ และการทำให้ร่างกายสยบยอม อันเป็นประเด็นทางการเมืองแบบใหม่

ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะช่วยเผยให้เห็นถึงความสลับซับซ้อนของอำนาจในสังคมสมัยใหม่ในลักษณะที่ครอบคลุมไปถึงระดับรายละเอียดของการใช้อำนาจในชีวิตประจำวันของปัจเจกบุคคล แม้นว่าเราจะไม่สามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดพ้นจากปีกของอำนาจ แต่ก็หวังว่าเราจะอยู่กับมันได้อย่างเข้าใจและรู้ทัน

References

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). วาทกรรมการพัฒนา อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์
และความเป็นอื่น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2554). แนะนำสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม (Introducing
Poststructuralism). กรุงเทพฯ: สมมติ.
ธงชัย วินิจจะกูล. (2534). วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบวงศาวิทยา. เอกสารโรเนียว ไม่
ปรากฏปีที่พิมพ์.
ธีรยุทธ บุญมี. (2551). มิเชล ฟูโกต์ ( Michel Foucault). กรุงเทพฯ: วิภาษา.
ฟูโกต์, มิเชล. (2547) The chapter Les corps dociles from Surveiller et punir: ร่างกายใต้บงการ,
ทองกร โภคธรรม, แปล. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
ยศ สันตสมบัติ. (2544). มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
รัตนา โตสกุล. (2548). มโนทัศน์เรื่องอำนาจ (The Concept of Power). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภา
วิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สายพิณ ศุพุทธมงคล. (2545). คุกกับคน: อำนาจและการต่อต้านขัดขืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนัก
พิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2555). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์: จากวาทกรรมของอัตบุคคล
ถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Bentham, Jeremy. (1964). Approaches to Ethics. London: Oxford University.
Foucault, Michel. (1972). The Archaeology of Knowledge and the Discourse on
Language. Translated by Alan Sheridan. New York: Pantheon Books.
Foucault, Michel. (1980). Power/Knowledge: Selected Interviews and Other Writings
1972-1977. Edited by Colin Gordon. Translated by Colin Gordon, Leo Marshall, John Mepham, Kate Soper. New York: Pantheon Books.
Foucault, Michel. (1991). Discipline and Punish: The Birth of the Prison. Translated by
Alan Sheridan, London: Penguin Books.
Foucault, Michel. (2001). Power: Essential Works of Foucault 1954-1984 Translated by
Robert Hurley and Others. London: Penguin Books.
Krieger, Leonard. and Stern, Pritz. (1968). The Responsibility of Power: Historical
Essays in Honor of Hajo Holborn. London, Melbourne: McMillan.
Strathern, Paul. (2000). Foucault in 90 Minutes. Chicago: Ivan R. Dee.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-10-2018