แนวคิดเรื่องความหลากเลื่อนของ ฌากส์ แดร์ริดา

ผู้แต่ง

  • อารีรัตน์ ภิราษร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

รื้อสร้าง, หลากเลื่อน, หลังสมัยใหม่, หลังโครงสร้างนิยม, แดร์ริดา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. ศึกษาประเด็นความหมาย ลักษณะ อิทธิ-พลทางความคิด และผลกระทบของแนวคิดเรื่องความหลากเลื่อนในทางปรัชญา และ 2. วิเคราะห์แนวคิดเรื่องความหลากเลื่อนของฌากส์ แดร์ริดา โดยศึกษาจากงานเขียนของฌากส์ แดร์ริดา พร้อมทั้งเอกสารและงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์แล้วนำเสนอในเชิงพรรณนา

ผลจากการศึกษาความหมาย ลักษณะ จุดกำเนิด อิทธิพลทางความคิดของแนวคิดเรื่องความหลากเลื่อนในทางปรัชญา พบว่าสาเหตุที่ฌากส์ แดร์ริดาได้นำเสนอแนวคิดนี้ขึ้นมานั้น อยู่ที่ความเป็นคู่ตรงข้ามของภาษา และมนุษย์มักยึดติดความหมายของภาษาด้านใดด้านหนึ่งเสมอ โดยเขาชี้ไปที่แนวคิดแบบโครงสร้างนิยม แบบคู่ตรงข้าม ทำให้เกิดเป็นกรอบ จารีต ประเพณี วัฒนธรรม ที่ตายตัว และถูกกำหนดไว้แบบโครงสร้างชนชั้นที่เป็นใหญ่ในสังคม เช่น วาทกรรมชายเป็นใหญ่ ฝั่งตรงข้ามคือหญิงจะถูกกดทับไว้ เป็นต้น เป็นแนวคิดแบบเดิมที่มีมาอยู่ตลอดของประวัติศาสตร์ทางปรัชญา ซึ่งส่งผลให้เกิดสังคมศูนย์กลางระบบชนชั้น และไม่ก่อเกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งแนวคิดของแดร์ริดาจะเข้าไปรื้อสร้าง และชี้ให้เห็นถึงความหลากเลื่อนในโครงสร้างทางความคิด โดยที่เขาได้รับอิทธิพลทางความคิดจากปรัชญาปรากฏการณ์วิทยา และอัตถิภาวนิยมเข้ามาใช้เป็นพื้นฐานสร้างแนวความคิดของเขา

เมื่อได้ข้อสรุปทางการศึกษาของสาเหตุแล้ว จึงนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ซึ่งพบว่าแดร์ริดาพยายามที่จะสื่อสารถึงความจริงที่ว่า ไม่มีความจริงสัมบูรณ์ตายตัว ความจริงเป็นสิ่งสัมพัทธ์ และมีอยู่อย่างหลากหลาย และจุดที่ความจริงดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ ก็คือความหลากเลื่อนซึ่งจะนำไปสู่ความหลากหลายของวิทยาการ เปิดใจรับฟังความคิดเห็นหรือความจริงของผู้อื่น นี่คือสิ่งที่แดร์ริดาพยายามจะสื่อสารและนำไปปฏิบัติ มันเป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่จะนำไปสู่ความสงบ และหาความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นมาในสังคมได้ ซึ่งแนวคิดนี้ส่งผลกระทบที่มีทั้งประโยชน์และโทษ เพราะทำให้เกิดแรงสั่นคลอน เปลี่ยนแปลงทางความคิดในสังคม วัฒนธรรม และรวมไปถึงแวดวงปรัชญาหลังสมัยใหม่เป็นอย่างมาก

References

Books:
Chantavanich, Supang. (2008). Sociology Theory. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Deutscher, Penelope. (2006). How to read Derrida. New York: Granta Publication.

Derrida, Jacques. (1972). Dissemination, translated by Barbara Johnson. London: Te Athlone Prs Ltd..

Derrida, Jacques. (1982). Margins of philosophy, translated by Alan Bass. London: Harvester Wheatsheaf.

Derrida, Jacques. (1997). Deconstruction in a Nutshell: A Conversation with Jacques Derrida, translated by John D. Caputo. New York: Fordham University Press.

Bunchua, Kirti. (2002). Prachya lang na wa yuk [Postmodern philosophy]. Bangkok: Pimlux.

Bunchua, Kirti. (2006). Atpariwat Khū wēn khū kam Prachaya lang na wa yuk [Hermeneutics versus Postmodern philosophy]. Bangkok: Pimlux.

Phasuthachat, Phipat. (2010). Khwāmčhing nai phāpwāt: Botwičhān wādūai sunsīyasāt khō̜ng haidekkœ̄ læ dǣrida [The truth in the painting: Aesthetics review of Heidekker and Derrida]. Bangkok: Wiphasa.

Strathern, Paul. (2000). Derrida in 90 Minutes. Chicago: Ivan R. Dee Publisher

Tangnamo, Somkiat. (2000). Nǣo khwām khit lang samai mai: Rūap rūam bot khwām pǣn læ rīap rīang pī 2543- 2547[Postmodern concepts:Compiled, translated and compiled articles in 2000-2004. Chiang Mai: Faculty of Fine Arts, Chiang Mai University.

Buntavee, Preecha. (2018). Reformation: The NCPO’s Concept based on Jacques Derrida’s Deconstruction Theory. Dhammathas Academic Journal, 18(3), 270-271.

Phoncharoen, Winai. (2012). Postcolonialism: A theoretical survey and an application to study Thai society and politics. Journal of humanities and social sciences Mahasarakham University, 31(5), 161-178.

Website:
Duangwises, Narupon. (2018). Anthropology-concepts. Retrieved April 22, 2018, from anthropology-concepts Web site: anthropology-conceptshttp://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/31

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2019