ศาสตร์การสอนว่าด้วย (ความเป็น) คนอื่น: เอ็ดเวิร์ด ซาอิด ทฤษฎีแนวหลังอาณานิคม และกลวิธีสำหรับการวิพากษ์

ผู้แต่ง

  • Omsin Jatuporn สาขาวิชาสังคมศาสตร์การศึกษา ภาควิชาพื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ

หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 8 บท เนื้อหาสาระในแต่ละบทจะเกี่ยวข้องกับประเด็นทางการศึกษาหลากหลายประเด็นในบริบทสังคมหลังอาณานิคม Burney อภิปรายในเชิงลึกเกี่ยวกับรากฐานทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และประวัติศาสตร์ที่มียุโรปเป็นศูนย์กลาง (Eurocentrism) และวาทกรรมความเป็นตะวันออก รวมถึงการนิยามความหมายและการที่ทั้งสองสิ่งนี้ถูกประกอบสร้างให้เกิดวาทกรรมว่าด้วยอาณานิคมอันหลากหลายทั้งในแง่ของเวลาและสถานที่ เป้าหมายสำคัญของการอภิปรายดังกล่าวคือการแสดงให้เห็นว่า การจัดแบ่งสรรพสิ่งออกเป็นคู่ขัดแย้งระหว่างความเป็นตะวันออก/ความเป็นตะวันตก ตะวันออก/ตะวันตก พวกเรา/พวกเขา และเรา/คนอื่น ได้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ข้ามเวลาและสถานที่ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน และทำให้เห็นถึงความสำคัญที่ระบบโรงเรียนและการจัดการศึกษาจะต้องท้าทายแนวคิดคู่ขัดแย้ง รวมถึงบริบททางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และประวัติศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังแนวคิดเหล่านี้

References

Apple, M. (2004). Controlling the Work of Teachers. The Curriculum Studies Reader. New York: Routledge.

Burney, S. (2012). Pedagogy of the Other: Edward Said, Postcolonial Theory, and Strategies for Critique. New York: Peter Lang Publishing.

Fanon, F. & Farrington, C. (1968). The Wretched of the Earth. New York: Grove Press.

Freire, P. (1993). Pedagogy of the Oppressed. New York: Continuum.

Herzfeld, M. (2002). The Absence Presence: Discourse of Crypto-Colonialism. The South Atlantic Quarterly, 101(4), 899-926.

Hirsch, E., Kett, J. & Trefil, J. (1988). Cultural Literacy: What every American needs to know. New York: Vintage Books.

Jackson, P.A. (2007) Autonomy and Subordination in Thai history: The Case for Semicolonial Analysis. Inter-Asia Cultural Studies, 8(3), 329-348.

Lao, R. (2015). A Critical Study of Thailand’s Higher Education Reforms: The Culture of Borrowing. New York: Routledge.

Phoncharoen, W. (2012). Postcolonialism: A theoretical survey and an application to study Thai society and politics. Journal of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University, 31(5), 161-178.

Prachakul, N. (2001). Postcolonialism. Sarakadee. 16/191: 156-160.

Said, E. (1978). Orientalism. New York: Pantheon Books.

Said, E. (1993). Culture and Imperialism. New York: Knopf.

Spivak, G. (1991). Identity and Alterity: An Interview. Arena 97: 65–76.

Spivak, G. (1988). Can the Subaltern Speak? Marxism and the Interpretation of Culture. London: Macmillan.

Winichakul, T. (2017). The Thais/The Others: On the Others of Thai-ness. Nonthaburi: Sameskybooks.

Young, R. (2004). White Mythologies: Writing History and the West. London: Routledge.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

18-06-2019