การวิเคราะห์สัญศาสตร์ในศิลปะอาว็องท์การ์ดของคาร์ซีมีร์ มาเลวิช
คำสำคัญ:
สัญศาสตร์, ศิลปะอาว็องท์การ์ด, ซูพรีมาทิสต์, สัญญะที่ว่างเปล่า, รูปแบบศูนย์บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการวิเคราะห์สัญศาสตร์ในงานศิลปะอาว็องก์-การ์ดของคาร์ซิมีร์ มาเลวิช (Kazimir Malevich) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อ ศึกษารูปแบบตัวสัญญะในงานศิลปะของคาร์ซิเมียร์ มาเลวิช 2. วิเคราะห์หาความ หมายของสัญญะในงานศิลปะของคาร์ซิเมียร์ มาเลวิช มีกรอบศึกษาจากงาน ศิลปะของมาเลวิช จำนวน 8 ชิ้น ผ่านการตีความทางสัญศาสตร์ด้วยทฤษฎีของโรล็องด์ บาร์ตส์
ผลจากการศึกษารูปแบบและความหมายของสัญญะในงานศิลปะของ มาเลวิชทั้ง 8 ชิ้น พบว่า เขามีการลดทอนรูปทรงของวัตถุที่ให้ความหมายในเชิงประจักษ์ มาเลวิชได้สร้างความหมายใหม่ของรูปทรงเรขาคณิตซึ่งเป็นตัวแทน ความบริสุทธิ์มาประกอบสร้างเป็นผลงานศิลปะ โดยผลงานในช่วงนั้น มาเลวิช ได้สลายองค์ประกอบของวัตถุภายใต้แนวคิด “The zero of form” คือ การทำให้ความหมายของวัตถุนั้นเป็นศูนย์ ความหมายจะเกิดขึ้นจากการประกอบสร้าง ตัววัตถุในทรรศนะของผู้ชม การตีความและการแสดงความคิดเห็นที่ได้รับจากการแสดงความรู้สึกผ่านการจัดวางองค์ประกอบในทัศนศิลป์ เช่น สี เส้น รูปทรง เรขาคณิต เป็นต้น โดยมาเลวิชพยายามสร้างสิ่งที่เขาเรียกว่า “ศิลปะการใช้ชีวิต ที่บริสุทธิ์” โดยการทำงานอย่างเป็นนามธรรมทั้งหมดผ่านภาพวาดที่ไม่มีความ สัมพันธ์กับโลกภายนอกที่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้เขายังได้สลายความเป็นองค์ประธานของตัวผู้สร้าง ไปสู่ผู้ชมในการแสดงความคิดเห็น และวิพากษ์แนวคิดแบบ วัตถุวิสัย ซึ่งมาเลวิชมองว่า เป็นเครื่องหมายของอำนาจรัฐที่ถ่ายทอดนโยบาย เป็นแนวความคิดผ่านตัววัตถุ โดยมีรัฐเป็นผู้กำหนดความหมายในลักษณะที่มี ความเป็นสากล ในขณะเดียวกันเขายังพยายามออกจากกรอบของแนวความคิดสัจนิยมแบบสังคมนิยมที่เข้ามาควบคุมการสร้างสรรค์งานภายใต้นโยบายการ เชิดชูและส่งเสริมรัฐบาล รูปทรงเรขาคณิตที่มาเลวิชใช้ ถือเป็นนามธรรมในการสร้างสรรค์ขั้นสูงสุดในแนวคิดลัทธิสุพรีมาทิสต์ของมาเลวิชในช่วงที่สองของการ สร้างสรรค์ แสดงให้เห็นทัศนคติในความคิดของเขาในการสร้างสรรค์งานที่สา-มารถตีความออกเป็นสองฝ่าย ทั้งการสนับสนุน และการต่อต้าน ก่อความคลุม- เครือในวัตถุประสงค์ของการสร้างงาน อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์ด้วยหลักการ ของบาร์ตส์แล้ว งานช่วงหลังของมาเลวิช มีสัญญะที่แสดงถึงการยืนยันทรรศนะของตนในความหมายแบบสุพรีมาทิสต์ โดยใส่ภาพที่ถือว่าเป็นกุญแจที่สำคัญ ของแนวคิด ได้แก่ ภาพจัตุรัสสีดำ เพื่อแสดงว่า สุดท้ายแล้วเขาก็ยังยืนหยัดใน ความคิดที่แน่วแน่ของตนแม้การแสดงออกของเขาไม่สามารถทำได้เต็มที่ ดังนั้น เขาจึงฝากเพียงสัญญะที่แสดงออกเพียงความหมายเท่านั้น แนวคิดของมาเลวิช สอดคล้องกับแนวคิดของบาร์ตส์เรื่อง ความเป็นองค์ประธานของความหมาย สัญญะในภาพ การใช้ผัสสะที่อิงอยู่กับประสบการณ์เชิงสุนทรียะส่วนตัวของ แต่ละบุคคลที่มาชมงาน รวมทั้งกระบวนการวิเคราะห์ความหมายซึ่งเปรียบได้กับ สัญญะที่ว่างเปล่าที่ความหมายจะเป็นไปตามบริบทของสังคมช่วงนั้น การยึดโยง ความหมายของมาเลวิชที่ต้องการนำเสนอแนวคิดใหม่ที่วัตถุไม่ต้องสื่อถึงความหมายทางสังคม เขาให้ความสำคัญกับความรู้สึกของผู้ชมที่มีต่องานมากกว่าสิ่งอื่นใด เป็นมันก็เป็นสุนทรียศาสตร์สมัยใหม่ที่ก่อกำเนิดขึ้นในรัสเซีย เป็นจุดเริ่มต้นของนิยามหารสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ที่ไม่อิงอยู่กับขนบของศิลปะในยุคก่อนหน้า
References
Boonpipatthanapong, Panu. (2017). ʻArai (mǣng) kō̜ pen sinlapa. Bangkok: Salmon book Press.
Sutthipan, Aree. (1990). Prasopkān chœ̄ng suntharīya. Bangkok: Tonaor publishing.
Achim B. H. (2014). Malevich. London: Tate Publishing.
Barthes, R. (1957). Mythologies (A. Lavers, trans). New York: The Noonday Press.
Bowlt, J. E. (2017). The Russian Art of the Avant-Garde: Theory and Criticism 1902-1934. New York: The Viking Press.
Bowlt, J. E. (1991). Kazimir Malevich, 1878-1935: Armand Hammer Museum of Art and Cultural Center.
Chandler, D. (2002). Semiotics: the basic. London: Routledge Taylor & Francis Group.
Drutt, Matthew. (2003). Kazimir Malevich: Suprematism. New york: A Guggenheim Museum Publication.
Groys, B. (1992). The Total Art of Stalinism. United States of America: Princeton University Press.
Groys, B. (2008). Art power. Cambridge: The MIT Press.
Kampili, T. (2019). What is Russian Avant-Garde?. Article online. Retrieved August 22, 2019, : https://useum.org/russian-avant-garde/what-is-russian-avant-garde.
Malevich, K. (2003). The Non-Objective World: The Manifesto of Suprematism. Howard Dearstyne trans. New york: Dover Publications.
Souter, G. (2008). Malevich: Journey to Infinity. New York: Parkstone Press International.
Journal:
Dongrat, Porrawan. (2014). Sansāt kap khwāmmāi thī prǣ plīan. Sutthiparitat Journal. 28(88), pp. 2-13.
Website:
The art story. (2019). Suprematism. Retrieved from: https://www.theartstory.org/movement/suprematism/
Willette, J. (2011). Russian Avant-Garde art revolution 1896-1930. Online in Art history unstuffed. Retrieved from: https://arthistoryunstuffed.com/the-russian-avant-garde/
Vasinsunthon, Johnnopadon. (2015). Free - floating signifier, Intertextuality and Postmodern. Retrieved from: https://johnnopadon.blogspot.com/2015/10/free-floating-signifier-intertextuality.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th