การวิเคราะห์แนวคิดและหลักปฏิบัติงานด้านพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ของกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามแนวคิดปฏิบัตินิยมของ จอห์น ดิวอี้
คำสำคัญ:
กิจการนักศึกษา, พัฒนาคุณภาพนักศึกษา, ปฏิบัตินิยม, จอห์น ดิวอี้บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักปฏิบัติงานด้านพัฒนาคุณภาพนักศึกษาของกองพัฒนาคุณภาพนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามแนวคิดปฏิบัตินิยม (Pragmatism) ของจอห์น ดิวอี้ (John ewey) โดยศึกษาจากเอกสารประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก บุคลากรสังกัดกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 10 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผ่านกรอบแนวคิดปรัชญาเชิงปฏิบัตินิยมของจอห์น ดิวอี้
ผลการศึกษาพบว่า กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานหลักที่มีภารกิจหลักในด้านกิจการนักศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ซึ่งเป็นภาระกิจที่เอื้อ ส่งเสริม และเกื้อหนุนในงานด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษามีคุณภาพ ตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย เมื่อนำแนวคิดและหลักปฏิบัติงานด้านพัฒนาคุณภาพนักศึกษา มาวิเคราะห์ผ่านกรอบแนวคิดปรัชญาเชิงปฏิบัตินิยมของจอห์น ดิวอี้ พบว่ามีความสอดคล้อง เกี่ยวโยง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีลักษณะสำคัญ 1) เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ 2) เป็นประสบการณ์ที่เป็นจริง ต้องใช้ประโยชน์ 3) มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจากการทำจริง 4) การเรียนรู้ต้องควบคู่ประสบการณ์ 5) เป็นความรู้ที่แท้จริงเกิดจากประสบการณ์ตรง 6) เรียนรู้โดยวิธีการแก้ปัญหา
ในส่วนของบุคลากรกองพัฒนานักศึกษาพบว่า ทุกคนสามารถปฏิบัติงานด้านพัฒนาคุณภาพนักศึกษาได้อย่างมีแบบแผนและเป็นระบบ โดยมีความสอด คล้อง เชื่อมโยง และเป็นไปตามแนวคิดปรัชญาเชิงปฏิบัตินิยมของจอห์น ดิวอี้และให้การยอมรับว่าแนวคิดปรัชญาเชิงปฏิบัตินิยมของจอห์น ดิวอี้ สามารถเป็นแบบแผนในการพัฒนางานด้านกิจการนักศึกษาหรือพัฒนาคุณภาพนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้
References
Books:
Dewey, J. (1900). The school and society : being three lectures. Chicago: Chicago, University of Chicago Press.
——— . (1902). The child and the curriculum. Chicago: University of Chicago Press.
——— . (1910). How We Think. Michigan: D.C. Heath & Co.
——— . (1938). Experience and Education. NewYork: Collier Books.
——— . (1956). The Child and the curriculum and the school and society. Chicago: University of Chicago Press.
Dewey, J., & Dewey, E. (1915). Schools of to-morrow. NewYoik: E.P. Dutton & Commpany.
Dewey, J., & McDermott, e. w. (1973). The Philosophy of John Dewey. New York: Putnam Sons.
Edman, I. (1968). John Dewey: His contribution to the American tradition. New York: Greenwood Press.
Kasem Wattanachai. (2002). Quality of education development. Bangkok: Office of the National Education Commission.
เกษม วัฒนชัย. (2545). การพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
Prathum Unkoonroot. (2008). Pragmatism Philosophy: Philosophy of Education. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
ประทุม อังกูรโรหิต. (2551). ปรัชญาปฏิบัตินิยม: รากฐานปรัชญาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Mahāwitthayālaichīangmai. (2016). Phǣnphatthanāmahāwitthayālaichīangmai Rayathī 12 (A.D.2016-A.D.2021). thīprachoomsaphāmahāwitthayālai Khrāoprachoomthī 5/2559 (nā 19). Chīangmai : Mahāwitthayālai chīang mai.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2559). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 12 (พ.ศ.2560 - พ.ศ.2564). ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย คราวประชุมที่ 5/2559 (หน้า 19). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Rattana Duangkaew. (2014). Educational quality development. In Rattana Duangkaew, course subject syllabus. Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University.
รัตนา ดวงแก้ว. (2557). การพัฒนาคุณภาพการศึกษา. ใน รัตนา ดวงแก้ว, ประมวลสาระชุดวิชา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Wanwisa Chaiyo. (2014). Contemporary philosophy. Chiang Mai: Department of Philosophy and Religion Faculty of Humanities Chiang Mai University.
วรรณวิสาข์ ไชยโย. (2557 ). ปรัชญาร่วมสมัย (Contemporary philosophy) .เชียงใหม: ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
Wanpen Boon Yuen. (1997). Student Affairs: Past, Present and Future. Chiang Mai: Chiang Mai University.
วันเพ็ญ บุญยืน. (2540). งานกิจการนักศึกษา: อดีต ปัจจบัน และอนาคต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Somnao Kajornsilpa. (2007). Principles of student affairs administration. Bangkok: Kasetsart University.
สำเนาว์ ขจรศิลป์. (2550). หลักการบริหารกิจการนักศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Bureau of Educational Testing Office of the Basic Education Commission. (2011). Continuous quality development of education. According to the ministerial regulations on the system, criteria and methods foreducational quality assurance 2010. Krungthēp: Samnakthotsō̜pthāng kānsưksā Samnakngānkhanakamkānkānsưksānaphư̄nthān Krasūangsưk sāthikān.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
Interview:
การสื่อสารส่วนบุคคล
อำนาจ อยู่สุข, 2 พฤษภาคม 2562
รณภพ เอื้อพันธเศรษฐ, 2 พฤษภาคม 2562
อัจฉรา ศรีพลกิจ, 3 พฤษภาคม 2562
สุทธิณีย์ ฉัตรยาลักษณ์, 10 เมษายน 2562
สุเมธ สารศรี, 10 เมษายน 2562
อัฏฐพล เขื่อนคำ, 23 เมษายน 2562
ปรีดา พุทธวงศ์, 22 เมษายน 2562
ณฐรัช ทองเจิม, 22 เมษายน 2562
ธนาฤทธิ์ รูปใหญ่, 14 พฤษภาคม 2562
ธนกร กิตติสารวัณโณ, 14 พฤษภาคม 2562
Website:
Chiang Mai University. (2019). Student Development Division. Retrieved from Chiang Mai University. Retrieved from https://www.cmu.ac.th/th/Organization/student_ development_division/Aboutus
manitrub. (2014, december 15). EDUCATIONAL THEORY. Retrieved january 12, 2017, from manitrub.wordpress.com. Retrieved from https://manitrub. wordpress.com/2014/12/15/ทฤษฎีการศึกษา-educational-theory/
Thayer, S. B. (2017, june 15). Pragmatism. Retrieved october 24, 2018, from Encyclopædia Britannica: Retrieved from https://www.britannica.com/topic/pragmatism-philosophy
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th