ตำนานอุรังคธาตุ: นาคอยู่ในสุวรรณภูมิ ไม่มีนาคที่พระธาตุพนม

ผู้แต่ง

  • ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี

คำสำคัญ:

ตำนานอุรังคธาตุ, นาค, เมืองสุวรรณภูมิ, พระธาตุพนม

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งวิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหาและเรื่องนาคในตำนานอุรังคธาตุ พบว่าโครงสร้างประกอบด้วย 9 ช่วงเวลา มีลักษณะเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาบนแผ่นดินที่ราบลุ่มทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำโขง ดำเนินเรื่องตามความคติความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในสมัยภัทรกัป และพระพุทธเจ้าในอนาคต ผ่านเหตุการณ์การเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมลงของพระพุทธศาสนาและบ้านเมืองต่างๆ ทั้งนี้สามารถแบ่งกลุ่มเมืองในตำนานอุรังคธาตุตามการอยู่อาศัยของนาคเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเมืองสุวรรณภูมิอันเป็นที่อาศัยของเหล่านาค มีสุวรรณนาคเป็นใหญ่ ได้แก่ เมืองสุวรรณภูมิ เมืองจันทบุรี เมืองศรีสัตตนาค เมืองหนองหานน้อย และหนองหานหลวง 2) กลุ่มเมืองศรีโคตรบองที่ไม่มีนาคอยู่อาศัย แต่เป็นสถานที่ซึ่งประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าในสมัยภัทรกัป คือ พระธาตุพนม อย่างไรก็ตามเมืองทั้ง 2 มีความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองการปกครอง ผ่านการจุติและอุบัติพระยาติโคตรบูร และกษัตริย์องค์อื่นๆ บนแผ่นดินที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวว่า นาคมีอยู่ในสุวรรณภูมิ และไม่มีนาคอยู่ที่พระธาตุพนม

Author Biography

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี

นิสิตพุทธศาสตรดุษฎีัณฑิต มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

References

กรมศิลปากร. (2485). ประชุมตำนานพระธาตุ ภาคที่ 1. พิมพ์เนื่องในงานศพ

นางแข ฟูศักดิ์. พระนคร: พานิชสุภผล.

กรมศิลปากร. (2510). ประชุมตำนานพระธาตุ ภาคที่ 2. พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพพันตำรวจโทสลับ เกียรติสุต. พระนคร: พระจันทร์.

กรมศิลปากร. (2537). อุรังคธาตุ ตำนานพระธาตุพนม. พิมพ์เนื่องในการสัมมนาทางวิชาการเรื่องวรรณกรรมสองฝั่งโขง. กรุงเทพฯ: เรือนแก้ว.

กรมศิลปากร. (2512). ประชุมพงศาวดารเล่ม 45. พระนคร: กรมศิลปากร.

บำเพ็ญ ระวิน (ปริวรรต). (2535). อนาคตวงส์ เมตเตยยสูตต์ และเมตเตยยวงส์ สำนวนล้านนา. เชียงใหม่: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

สมชาติ มณีโชติ. (2554). พระธาตุพนม: ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ในมิติด้านสัญลักษณ์ทางสังคมวัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. (2560). การวิเคราะห์อัคคัญญสูตร. ดำรงวิชาการ,

(2),141-168.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020