ธรรมราชาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระครูไพโรจน์คีรีรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงราย
  • พระมหาจักรพันธ์ สุรเตโช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ธรรมราชา, ปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

ปรัชญาฮินดู มีผู้ปกครองที่เรียกว่า “ธรรมราชา” เป็นวรรณะกษัตริย์ มีสถานะเป็นทั้งธรรมราชาและเทวราชา ปกครองบ้านเมืองภายใต้หลักเทวาธิปไตย และมีเป้าหมายเพื่อให้คนทุกวรรณะอยู่เป็นสุขในเทวรัฐ ส่วนตามพุทธปรัชญาเถรวาท ผู้ปกครองแบบธรรมราชาต้องเป็นผู้มีคุณธรรมประจำตัว และมีหน้าที่ทางศีลธรรมต่อสังคม ปกครองบ้านเมืองโดยหลักธรรมาธิปไตย และมีเป้าหมายเพื่อให้ทุกคนเป็นคนดีมีความสุขในธรรมรัฐ พุทธปรัชญากับปรัชญาฮินดู มีแนวคิดบางประเด็นที่เห็นตรงกันและเห็นแย้งกัน ประเด็นสำคัญในพุทธปรัชญาที่เห็นแย้งกับปรัชญาฮินดู คือแนวคิดธรรมาธิปไตย ซึ่งโต้แย้งแนวคิดเทวาธิปไตย และแนวคิดธรรมวิชัยโต้แย้งแนวคิดสงครามวิชัย ปัญหาเรื่องดังกล่าวทำให้เห็นถึงอธิปไตยในปรัชญาฮินดูที่ใช้ความเชื่อในอำนาจเทพเจ้า เป็นวิธีการขึ้นไปสู่เป้าหมายการมีอำนาจทางการเมือง ซึ่งเป็นข้อจํากัดที่ทุกคนไม่สามารถพิสูจน์และเข้าถึงอำนาจเทพเจ้าได้ และเห็นด้วยและสนับสนุนแนวคิดแบบธรรมาธิปไตยในพุทธปรัชญาที่ใช่วิธีการปฏิบัติดีทางกายวาจาและใจ ไปสู่อำนาจทางการเมือง ซึ่งทุกคนสามารถปฏิบัติ หรือพิสูจน์ได้ในโลกแห่งความเป็นจริงด้วยปัญญาของตนเอง

References

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ, (2519). หลักธรรมในศาสนาพราหมณ์- ฮินดู ฉบับขององค์การศาสนาพราหมณ-ฮินดู. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จาณักยพราหมณ์. (2540). ราชนิติจาณักยศตกะ ฉบับภาษาสันสกฤต. แปลโดย หลวงพินิจวรรณการ (แสวง สาลิตุล). กรุงเทพฯ : คุรุสภา.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2557).ธรรมราชา. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พอล ดาวสเวลล์. (2555). ระบบการปกครองเผด็จการ. แปลโดย โคทม อารียา และแกวฤทธรา วิริยะวัฒนา. กรุงเทพฯ: ปาเจรา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ส. ศิวรักษ์. (2546). ความเขาใจในเรื่องสินธูธรรม. กรุงเทพฯ: ศยาม.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2529). ระบบปรัชญาการเมืองในมานวธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2538). ปรัชญาแห่งอุดมาการณ์ทางการเมือง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2538). พุทธธรรม ฉบับขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสฐียร พันธรังสี. (2552). จาณักยะจอมปราชญ์แห่งชมพูทวีป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศยาม.

Bierhorst, John . (2009). The Norton Anthology World Literlature . Shorter Second Edition Volume 1, Edit. By Peter Simon . New York : W.W. Norton & Company Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2021