วิเคราะห์คติธรรมของเวทย์มนตร์คาถาที่ปรากฏในปั๊บสา เขตอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
คติธรรม, เวทย์มนตร์คาถา, ปั๊บสาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องเวทมนตร์คาถาในจังหวัดสุโขทัย 2) เพื่อศึกษาและรวบรวมเวทมนตร์คาถาที่ปรากฏในปั๊บสา เขตอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย 3) เพื่อวิเคราะห์คติธรรมของเวทย์มนตร์คาถาที่ปรากฏในปั๊บสา เขตอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ผลการวิจัย พบว่า ชาวพุทธทุ่งเสลี่ยม ส่วนใหญ่มีเชื่อสายมาจากอำเภอเถิน ซึ่งเป็นชาวล้านนา มีความเชื่อเรื่องพลังไสยศาสตร์ผสมกับความศักดิ์สิทธิ์ของพระรัตนตรัย ซึ่งทอดมาจากยุคที่ศาสนาพราหมณ์เริ่มลดบทบาทลง และพระพุทธศาสนาเข้ามาแทน แต่ชาวทุ่งเสลี่ยมก็ยังรักษาความเชื่อเรื่องเวทย์มนตร์คาถาเอาไว้ จากการรวบรวมปั๊บสาใน 5 ตำบล ของอำเภอทุ่งเสลี่ยม พบว่า เวทย์มนต์คาถาที่ปรากฏอยู่ คือ คาถาเมตตามหานิยม-ปิยะมหาเสน่ห์ คาถาโชคลาภ คาถาแคล้วคลาด คาถาไสยดำ คาถาอยู่ยงคงกระพัน (ข่าม) ด้านคติธรรมที่พบ จำแนกได้ 6 ประเด็น คือ ในคาถาเมตตามหานิยม ได้พบพุทธคุณข้อเมตตาต่อสัตว์โลก ในคาถาทางโชคลาภ ได้พบหลักมงคลชีวิต ข้อบูชาสิ่งที่ควรบูชา ที่พระพุทธองค์ตรัสสอน ในคาถาแคล้วคลาด ได้พบความไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต ในคาถาอยู่ยงคงกระพัน (ข่าม) ได้พบการต่อสู้กับอุปสรรคในชีวิตอย่างมีสติ ในคาถาไสยดำ ได้ค้นพบจิตฝ่ายอกุศลที่เกิดจาก โลภะ โทสะ โมหะ และคุณค่าด้านจิตใจ ใช้คาถาเป็นสื่อให้คนเข้าหาธรรม ที่สะท้อนคติชีวิตสังคมแบบล้านนาของชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยมได้อย่างลงตัว
References
กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย. (2547). ภารตวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ศยาม.
กำชัย ทองหล่อ. (2545). หลักภาษาไทย.กรุงเทพฯ: มติชน.
กิตติ วัฒนะมหาตม์. (2542). ตรีเทวปกรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊ค.
ทวีศักดิ์ ญาณประทีป. (2536).วรรณกรรมทางศาสนา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปั๊บสา ในวัดเขตพื้นที่อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย. (ม.ป.ป). จำนวน 5 ตำบล ตำบลละ 1 ฉบับ รวม 5 ฉบับได้แก่ ปั๊บสาจากตำบลบ้านใหม่ชัยมงคล/ปั๊บสาจากตำบลไทยชนะศึก/ปั๊บสาจากตำบลทุ่งเสลี่ยม ปั๊บสาจากตำบลกลางดง/ปั๊บสาจากตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
พราหมณ์ บูรพา. (2552). พุทธมนต์ และยอดคาถาพระอรหันต์. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). ศาสนากับความเชื่อทางไสยศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539) .พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิฆเนศวร ทะกอง. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการอ่านนิตยสารแนวไสยศาสตร์ของประชาชน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2537). พระเครื่องในเมืองสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน.
สันตินา, พี. ดี. (ม.ป.ป). คำบรรยายพระพุทธศาสนามหายาน. แปลโดย สมหวัง แก้วสุฟอง. เชียงใหม่: ภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เอกฉัท จารุเมธีชน. (2543). คัมภีร์พระเวท: วรรณกรรมโบราณที่ไม่เก่ากว่าโลกจะสลาย. อินเดียศึกษา,5,59.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th