การพัฒนาความสุขของคนไทยตามหลักพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระราชปริยัติวิมล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • อุทัย กมลศิลป์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความสุข, คนไทย, พุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอหลักการพุทธศาสนา สำหรับเปลี่ยนความคิดเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนไทยผู้ประสบทุกข์รุมเร้ามีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ (1) ขันธ์ 5 หลักการที่สอนว่าชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์ล้วนประกอบกันจากธาตุ 4 ขันธ์ 5 มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และพุทธศาสนาสอนว่า แม้แต่การเกิดก็เป็นทุกข์ตั้งแต่ต้นแล้ว หากเข้าใจหลักการดังกล่าวก็จะปล่อยวางได้และจิตใจจะสงบสุข (2) ชีวิตจะประสบความสำเร็จ เจริญก้าวหน้า และอยู่ดีมีความสุข ต้องเป็นชีวิตที่ผ่านความทุกข์ยากลำบากมาก่อนแล้วจึงจะพบกับความสุขอย่างสามัญชน และ (3) เมื่อประสบสุขก็ควรนำสุขที่ได้นั้นไปพัฒนาจนพบสุขที่เป็นบรมสุข คือ โพธิญาณ ซึ่งเป็นสุขของอริยชน

References

ไทเกอร์ รัตนะ. (2563). ความสุขที่แท้จริงคืออะไร? นิยามความสุขที่แท้จริง. สืบค้น 8 สิงหาคม 2563, จาก https://faithandbacon.com/true-happiness/

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย

(พิมพ์ครั้งที่ 39). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก, (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก, (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ป. หลงสมบูรณ์. (2546). พจนานุกรม มคธ-ไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สุนทร ณ รังษี. (2550). พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020