ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ในทัศนะของปีเตอร์ ซิงเกอร์

ผู้แต่ง

  • สุภาพรรณ ไกรเดช ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วรรณวิสาข์ ไชยโย ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

มนุษย์กับสัตว์, ปีเตอร์ ซิงเกอร์

บทคัดย่อ

บทความเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ในทัศนะของปีเตอร์ซิงเกอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ในฐานะการใช้สัตว์เพื่อเป็นอาหารและสัตว์ทดลอง และเพื่อหาแนวทางว่ามนุษย์ควรมีท่าทีอย่างไรในการปฏิบัติต่อสัตว์ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร โดยอาศัยหนังสือ Animal liberation ของปีเตอร์ ซิงเกอร์ และผลงานอื่นๆ ของเขาเป็นกรอบวิเคราะห์

ผลจากการศึกษาพบว่าปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์เกิดจากสังคมมนุษย์มีท่าทีของความเป็นเผ่าพันธุ์นิยม (Speciesism) ซึ่งหมายถึงการมีอคติหรือทัศนคติอันไร้เหตุผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์จึงเป็นไปในลักษณะของการขูดรีดผลประโยชน์ เพราะสัตว์ถูกจัดให้อยู่ในสถานะที่ต่ำกว่ามนุษย์ การดำรงอยู่ของสัตว์จึงเป็นไปเพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายของมนุษย์เท่านั้น ซิงเกอร์ในฐานะนักจริยศาสตร์ได้รับอิทธิพลแนวความคิดประโยชน์นิยมมีความเห็นว่าความเสมอภาคในทางจริยธรรมไม่ควรจำกัดอยู่เพียงแค่สมาชิกในเผ่าพันธุ์มนุษย์เท่านั้น แต่ควรแผ่ขยายออกไปถึงสิ่งมีชีวิตอื่นด้วย เพื่อยกสถานะของสัตว์ให้เท่าเทียมกับมนุษย์ เนื่องจากสัตว์มีความสามารถในการรับรู้ความเจ็บปวด โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีระบบประสาทคล้ายคลึงกับของมนุษย์สามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการพิจารณาความเสมอภาคเท่าเทียมกับมนุษย์ ซิงเกอร์ในฐานะเป็นนักจริยศาสตร์เชิงปฏิบัติ ที่มีลักษณะเพื่อปรับเปลี่ยนความคิดในระดับปัจเจกบุคคล และโน้มน้าวให้ลงมือทำมากกว่าที่จะเป็นข้อถกเถียงในทางทฤษฎี เห็นว่า ผลประโยชน์ที่มนุษย์พึงจะได้มานั้น มนุษย์จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ด้วยการสร้างความสุขมากกว่าความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์

References

เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2529). จริยศาสตร์กับปัญหาปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนื่องน้อย บุณยเนตร (2537). จริยศาสตร์สภาวะแวดล้อม: โลกทัศน์ในพุทธปรัชญาและปรัชญา ตะวันตก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเวศ อินทองปาน. (2559). พระพุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2563,จาก

http://www.vet.cmu.ac.th/web/file/Act-2.pdf?fbclid=IwAR31qsQ48f-t0VjYmYnNaOaaSLWi2gB0edQVcevTotbWyAVgi7BahbIJyA0

Regan, T. (1985). The Case for Animal Rights. In P. Singer (eds.), Defense of Animals. NY: Basil Blackwell.

Singer, P. (1974). All Animals Are Equal. Philosophic Exchange, 5(1), 103-116.

Singer, P. (1993). Practical Ethics (2nd edition). Cambridge: Cambridge University Press.

Singer, P. (2006). The Ethics of What We Eat: Why Our Food Choices Matter. NY: Holtzbrinck.

Singer, P. (2009). Animal Liberation. NY: Harper Collins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020