สี: มิติทางจิตวิญญาณในการระบายสีบำบัดแนวมนุษยปรัชญา

ผู้แต่ง

  • อันธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

สี, จิตวิญญาณ, มนุษยปรัชญา, การระบายสีบำบัด, รูดอล์ฟ สไตเนอร์

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษามิติจิตวิญญาณของสีบนฐานคิดมนุษยปรัชญา เพื่ออธิบายว่าในเชิงอภิปรัชญาสีดำรงอยู่อย่างไร มีความสัมพันธ์กับมนุษย์อย่างไร ส่งผลในเชิงบำบัดได้อย่างไร เน้นแนวคิดของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์จิตวิญญาณ กับลีแอน โคลัวร์ เดอเฮอร์บัวร์ จิตรกรและนักระบายสีบำบัดแนวมนุษยปรัชญา แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็นสามส่วนได้แก่ ส่วนแรกมนุษยปรัชญาและการศึกษาเกี่ยวกับสี ส่วนที่สอง สีกับจักรวาล และส่วนที่สาม สีกับมนุษย์ ข้อค้นพบสำคัญคือมโนทัศน์องค์สามแห่งจักรวาลและองค์สามแห่งมนุษย์ ซึ่งอธิบายถึงจักรวาลและมนุษย์ในลักษณะสะท้อนกันและเป็นกระบวนการเดียวกัน สามารถอธิบายถึงมิติจิตวิญญาณของสีได้อย่างเป็นระบบ เนื่องจากสีเป็นทั้งส่วนประกอบและส่วนเชื่อมโยงที่สำคัญภายในจักรวาลกับภายในชีวิตมนุษย์ ทั้งยังเชื่อมโยงมนุษย์กับจักรวาลเข้าด้วยกัน สีจึงเป็นชีวิตวิญญาณที่มิได้ดำรงอยู่เพียงในโลกแห่งวัตถุสสารเท่านั้น แต่ยังดำรงอยู่ในโลกแห่งจิตวิญญาณ ในดวงจิตของมนุษย์ และเป็นการเผยแสดงของทวยเทพ สีเคลื่อนไหวอย่างมีชีวิตชีวาอยู่ตลอดเวลาจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างแสงและความมืดในจักรวาล ยิ่งกว่านั้นสียังเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกันในดวงจิต ในชีวิตมนุษย์ ซึ่งสัมพันธ์กับอารมณ์ความรู้สึกและระบบจังหวะเช่นการหายใจ การเต้นของหัวใจ ช่วยรักษาสมดุลของระบบในร่างกาย จิตวิญญาณ และการจุติของดวงจิต การเข้าใจภาษาของสีจึงสามารถสื่อสารกับดวงจิตหรือความป่วยไข้ไร้สมดุลของมนุษย์พร้อมทั้งสร้างหนทางกลับสู่ความสมดุลมีพลังแก่เขาได้ด้วยกระบวนการระบายสี

References

ชไนเดอร์, เค. (2560). รูปแบบอาการป่วยต่างๆ ทางกายเหตุจิตและทางจิตเวช สำหรับนักศิลปะบำบัด บนพื้นฐานของบทเรียนเรื่องมนุษย์ตามแนวมนุษยปรัชญา. แปลจากPsychosomatische und psychiatrische Krankheitsbilder fur Kunsttherapeuten auf Grundlage der anthroposophischen Menschenkunde. แปลโดย ดำรงค์ โพธิ์เตียน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมศิลปะบำบัดและการศึกษาแนวมนุษยปรัชญาในประเทศไทย.

ชมรมมนุษยปรัชญาประเทศไทย. (2563). ชมรมมนุษยปรัชญาประเทศไทย. สืบค้น 1 ตุลาคม 2563, จาก shorturl.at/afEM4

ซายองค์, อาร์. (2557). ไล่คว้าแสง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับแสง ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ถึงยุคไอน์สไตน์. แปลจาก Catching the Light: the entwined history of light and mind. แปลโดย นัยนา นาควัชระ. กรุงเทพฯ : สวนเงินมีมา.

บอทท่อมไลน์. (2563). โรคจิตเวชเพิ่มขึ้น พิษเมืองใหญ่หรือคนป่วยก่อน. สืบค้น 1 ตุลาคม 2563, จาก https://bottomlineis.co/Lifestyle_modern_syndrome

มุลเลอร์, บี. (2557). ระบายสีที่หัวใจเด็ก [Painting with Children] (อนุพันธ์ พฤกษ์พันธ์ขจี, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.

ลิสเซา, อาร์. (2551). รูดอล์ฟ สไตเนอร์ มนุษยปรัชญา. แปลจาก Rudolf Steiner A Teacher from The West. แปลโดย รวิมาศ ปรมศิริ. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.

สตายเนอร์, อาร์. (2556). ธรรมชาติตัวตนของสี. แปลจาก Das Wesen der Farben . แปลโดย ดำรงค์ โพธิ์เตียน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมศิลปะบำบัดและการศึกษาแนวมนุษยปรัชญาในประเทศไทย.

อันธิฌา แสงชัย. (2560). กรณีห้องเรียนเพศวิถี: สิทธิความหลากหลายทางเพศกับชายแดนใต้/ปาตานี. วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 4, 208-269.

Collot d’Herbois, L. (2016). Colour. Stuttgart: Schneider Editionen.

Collot d’Herbois, L. (2000). Light, Darkness and Colour in Painting Therapy. Edinburgh: Floris Books.

Goetheanum. (2020). General Anthroposophical Society.

Retrieved Oct 1, 2020, from https://www.goetheanum.org/en/anthroposophical-society/the-society

Martin, S. (2016). Student Workbook (Module 1, 2) Sienna Academy Therapeutic Art Training. Guangzhou: Sienna Academy.

Martin, S. (July 2018a). All the Colours: Goethe’s Colour Theory Illustrated. Chiang Mai: Training material, The light, colour, and darkness foundation course, Sienna Academy.

Martin, S. (July 2018b). Colours, cultural epochs and changes of consciousness. Chiang Mai: Training material, The light, colour, and darkness foundation course, Sienna Academy.

Selg, P. (2013). Liane Collot d'Herbois: Werk und Leben - Work and Life. Stuttgart: Raffael-Verlag.

Steiner, R. (1986). The Arts and Their Mission. NY: The Anthroposophic Press.

Steiner, R. (1999). Founding a Science of the Spirit (translated by Matthew Barton). Sussex: Rudolf Steiner Press.

Whitman, P. T. (2004). Light, Color and Darkness in Painting Therapy: base on the work of Lian Collot d’Herbois. (Master of Arts in Human Development, St. Mary’s University of Minnesota).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2020