มุมมองทางปรัชญาสังคมศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ภาวะหมอกควันในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • มัชฌิมา วชิระโพธิ์ นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วัชรพล พุทธรักษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • เยื้อง ปั้นเหน่งเพชร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ปรัชญาสังคมศาสตร์; ปรากฏการณ์ภาวะหมอกควัน

บทคัดย่อ

การเกิดขึ้นของปรากกฎการณ์ภาวะหมอกควันในประเทศไทยนั้นมีสาเหตุหลายประการด้วยกัน ได้แก่ การเตรียมพื้นที่เพื่อการปลูกพืชไร่โดยการถางและเผา เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การเผาเพื่อทำแนวกันไฟแล้วไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ การเผาเพื่อผลิตภัณฑ์อาหารป่า การเผาของบางหน่วยงานเพื่อผลประโยชน์ในเชิงงบประมาณ เป็นต้น โดยสภาพของปรากฏการณ์ดังกล่าวได้กลายเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุดังกล่าวนั้นจำเป็นต้องใช้วิธีการอธิบายถึงสาเหตุและความจริงโดยวิธีการทางปรัชญาสังคมศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการทำความเข้าใจและนำไปสู่การสร้างวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจลักษณะทั่วไปสำหรับสาเหตุของปรากฏการณ์ ลำดับต่อมาเป็นการอธิบายสาเหตุและความจริงโดยวิธีการแบบนิรนัย, การอธิบายสาเหตุและความจริงโดยวิธีการแบบอุปนัย, การอธิบายเชิงสาเหตุและความจริงโดยการใช้ฐานคติการตีความทางสังคมและแนวทางการตีความสังคม และการอธิบายเชิงสาเหตุและความจริงแบบสัจนิยมและสัจนิยมวิพากษ์ โดยวิธีการทางปรัชญาสังคมศาสตร์ที่เหมาะสมในการนำมาใช้เพื่ออธิบายถึงสาเหตุและความจริงได้นั้นคือ วิธีการแบบตีความทางสังคมและวิธีการแบบสัจนิยมและสัจนิยมวิพากษ์

References

ฉัตรทิพย์ นาคสุภา. (2555). ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

วอลเดน เบลโล, เชียร์ คันนิงแฮมและลี เค็ง ปอห์. (2545). โศกนาฏกรรมสยาม: การพัฒนาและการแตกสลายของสังคมไทยสมัยใหม่ แปลโดย สุรนุช ธงศิลา. กรุงเทพฯ: โกมลคีมทอง.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2559). ปรัชญาสังคมศาสตร์: การอธิบายทางสังคมรากฐานสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.

Archer, M. (1995). Realist Social Theory: The Morphogenetic Approach. Cambridge: Cambridge University Press.

Bhaskar, R. (1998). The Possibility of Naturalism: A Philosophical Critique of the Contemporary Human Sciences. (3rd edn.) London: Routledge.

Brady, H.E. (2008). Causation and Explanation in Social Science. New York: Oxford University Press.

Gidden, A. (1984). The Constitution of Society: Outline of the Theory of Structuration. Cambridge: Polity.

Hempel, C. G. (1994) The Function of General Laws in History. In M.

Martin, & M. L. C. (Eds), Reading in the Philosophy of Social

Science. Cambridge: The MIT Press.

Lawson, T. (1997). Economics and Reality. London: Routledge.

Little, D. (1991). Varieties of School Explanation: An Introduction to

the Philosophy of Social Science. Colorado: Westview.

McGaw, D., &. Watson, G. (1976). Political and Social Inquiry. New York: John Wiley & Sons.

Rosenberg, A. (1995). Philosophy of Social Science. Colorado: Westside.

Talor, C. (1971). Interpretation and the Science of Man.

The Review of Metaphysics, 25(1), 3-51.

Von Wright, G. H. (1971). Explanation and Understanding. New York:

Cornell University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2021