การประยุกต์พุทธธรรมในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางเพศต่อเด็กและสตรีในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • พระสิทธิชัย กองเงิน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สุนทรี สุริยะรังษี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ประยูร แสงใส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

พุทธธรรม, ความรุนแรงทางเพศ, สังคมไทย

บทคัดย่อ

ความรุนแรงทางเพศต่อเด็กและสตรี เกิดจากการมีพฤติกรรมต่างๆ ในทางที่ไม่ดี เช่น  การใช้กำลังบังคับ หลอกลวง ข่มขู่ หรือชักชวน ล่อลวง ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเด็กและสตรี ซึ่งมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ 1) ปัจจัยภายในได้แก่ ครอบครัว การลี้ยงดู การศึกษาอบรม ค่านิยม และทัศนคติในทางลบ  และ 2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สังคมและวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การคบมิตร อิทธิพลของสื่อ จากข้อมูลผลสำรวจความคิดเห็นเรื่องความรุนแรงในสังคมไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในปี พ.ศ. 2561 ทำให้ทราบว่า สังคมไทยมีความรุนแรงเกิดขึ้นหลายประการ เช่น การทำร้ายร่างกาย การล่วงละเมิดทางเพศ การทำร้ายจิตใจ และการทำร้ายทางเพศ จึงเป็นสาเหตุนำไปสู่การหาแนวทางการในแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

การแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีที่เกิดขึ้นในสังคมไทย สังคมไทยเป็นสังคมนับถือศาสนาพุทธเป็นมีหลักคำสอนในการดำเนินชีวิต ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมให้นำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาควบคู่กับการใช้กฎหมาย หลักฆราวาสธรรม 4 เป็นหลักธรรมคำสอนประกอบด้วยคุณธรรม 4 ประการ คือ 1) สัจจะ คือ ความจริงใจ ไว้วางใจ 2) ทมะ คือ การข่มใจตนเอง ควบคุมตน การปรับตัว 3) ขันติ คือ อดทน อดกลั้นและควบคุมอารมณ์ต่อความยั่วยวน 4) จาคะ คือ เสียสละ การสละความโกรธ ความเห็นแก่ตัว  นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมในสังคมได้เรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญผ่านภาครัฐ เอกชนและประชาคม  ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคลและสังคม เช่น ครอบครัวและสถาบันการศึกษา ให้เข้าใจหลักธรรมและนำไปใช้การแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อเด็กและสตรีและลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

 

References

กฤตยา อาชวนิจกุล, (บรรณาธิการ). (2552). ถึงเวลาต้องเข้าใจและแก้ไข…ความรุนแรงทางเพศ เอดส์ และท้องไม่พร้อม. กรุงเทพฯ: แผนงานส่งเสริมสุขภาวะทางเพศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

นิรมล พฤฒาธร. (2536). คือผู้หญิง...คือมนุษย์. กรุงเทพฯ: เจนเดอร์เพรส.

ปรีชา อุปโยคิน. (2538). แนวทางวิเคราะห์ปัญหาความรุนเเรงในครอบครัว. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12 .กรุงเทพ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2541). พุทธธรรม ฉบับขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 80. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์สวยจำกัด.

พุทธทาสภิกขุ. (2523). ฆราวาสธรรม. กรุงเทพฯ: พระนคร.

ไพรเนตร ธนาบริบูรณ์. (2526). บทบัญญัติกฎหมายเรื่องการข่มขืนกระทำชำเรา. สตรีทัศน์, 1(1), 3.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2538). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม1.กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยงยุทธ แสนประสิทธิ์. (2553). ความรุนแรงในครอบครัวกับการป้องกันปัญหาในระดับชุมชน. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2538). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สุชีลา ตันชัยนันท์. (2533). เพศสตรีไทยแง่สังคม. กรุงเทพฯ: พี.เพรส.

นิตยา พิริยะพงษ์พันธ์. (2538). นู้ด: ธุรกิจหาผลประโยชน์บนร่างกายผู้หญิง. สตรีทัศน์, 11 (35), 24.

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). (2530). มงคลยอดชีวิตฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

สำนักข่าว บีบีซี. (2561). ความรุนแรงในครอบครัว: “บ้าน” คือสถานที่ที่ผู้หญิงมีความเสี่ยงจะถูกสังหารได้มากที่สุด. สืบค้น28 พฤศจิกายน 2561 จาก https://www.bbc.com/thai/features- 46363653

สวลีรัตน์ พิงพราวลี. (2548). ผลกระทบทางด้านจิตใจ กระบวนการช่วยเหลือและการ ปรับตัวของผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการส่งเสริมสุขภาพ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

สุชีลา ตันชัยนันท์. (2533). ปัญหาผู้หญิงหรือปัญหาของใคร?. กรุงเทพมหานคร: ผนึก.

สุนทรีย์ สิริอินต๊ะวงศ์. (2557). ประเด็นปัญหาทางเพศในสังคมไทย.สืบค้น 18 กันยายน 2563 จาก www.Prachatai.com/;urnal

สำนักข่าวเนชั่น. (2557). ลุงเขยข่มขืนเด็กหญิง 11 ขวบ. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://oknation.nationtv./blog/poolom.

อรดี โชคสวัสดิ์. (2546). อำนาจในคู่สมรสและความรุนแรงทางร่างกายต่อภรรยา. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสตรี, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

Donnaya Suvetwethin . (2561). สถิติความรุนแรงทางเพศของไทยน่าห่วง. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2561 จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/45786-สถิติ

'ความรุนแรงทางเพศ' ของไทยยังน่าห่วง.html

Chatsayan Momkaew. (2556). เผยสถานการณ์เด็ก สตรีปี 55 พบถูกกระทำความรุนแรงจากคนในครอบครัวร้อยละ 80. สืบค้นจาก www.mediamonitor.in.th/main/news

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2021