แบบแผนทางสถาปัตยกรรมวิหารไตยวน

ผู้แต่ง

  • ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

วิหารไตยวน, วิหารล้านนา, ผังพื้นวิหาร, โครงสร้างหลังคาวิหาร

บทคัดย่อ

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องวิหารชาติพันธุ์ไตในล้านนา ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แบบแผนทางสถาปัตยกรรมวิหารไตยวน ศึกษาจากวิหารไตยวนในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูนและลำปาง จำนวน 10 หลัง ผลการวิจัยพบว่า วิหารไตยวนที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งปรากฏในปัจจุบัน มีอายุตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา สามารถจำแนกตามแผนผังได้เป็นวิหารโถง วิหารทึบ และเจติยวิหาร ในส่วนของวิหารทึบแบ่งย่อยได้เป็น 1) วิหารที่มีการย่อเก็จ อันเป็นลักษณะโดดเด่นของวิหารล้านนา โดยมักย่อเก็จด้านหน้าสองตอนด้านหลังหนึ่งตอน 2) วิหารที่มีห้องท้ายพระประธาน 3) วิหารที่มีคันธกุฎีเป็นส่วนประกอบของอาคาร 4) วิหารที่มีผังพื้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า นิยมกันตั้งแต่สมัยครูบาศรีวิชัยเป็นต้นมา 5) วิหารตรีมุข เริ่มนิยมในภาคกลางของไทยก่อนราวรัชกาลที่ 3 ก่อนแพร่เข้าสู่ล้านนา ส่วนเจติยวิหารพบเพียงหลังเดียวที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ มีแผนผังเช่นเดียวกับพุทธคยาและปรากฏมาก่อนในพุกาม สำหรับโครงสร้างหลังคาวิหารไตยวนโดยทั่วไป เป็นหลังคาจั่วซ้อนชั้นต่อหลังคาปีกนกด้านข้าง นอกจากนี้ยังพบหลังคาจั่วผืนใหญ่ผืนเดียว และหลังคาที่เป็นเจดีย์ในแผนผังเจติยวิหาร อย่างไรก็ตามพบว่าวิหารล้านนาก่อนพุทธศตวรรษที่ 25 โครงสร้างหลังคาวิหารจะซ้อนชั้นตามการย่อเก็จที่ปรากฏบนผังพื้นวิหาร แต่ภายหลังสมัยครูบาศรีวิชัยได้เกิดความนิยมในการสร้างวิหารที่มีโครงสร้างหลังคาวิหารซ้อนชั้นแต่ผังพื้นวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

Author Biography

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี, นักวิจัยอิสระ

นิสิตพุทธศาสตรดุษฎีัณฑิต มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

References

คณะอนุกรรมการตรวจสอบและชำระตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. (2538). ตำนาน

พื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ 700 ปี. เชียงใหม่: มิ่งเมือง.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับ

ประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: จันทร์เพ็ญ.

พระยาประชากิจกรจักร. (2557). พงศาวดารโยนก. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

พระรัตนปัญญาเถระ. (2501). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (2545). หาพระหาเจ้า. กรุงเทพฯ: มติชน.

พีระนันท์ นันทขว้าง. (2553). การศึกษารูปแบบโบสถ์ และวิหารล้านนา ในเขต

ภาคเหนือตอนบน ตั้งแต่ยุคฟื้นฟูอาณาจักรล้านนาถึงยุคครูบาศรีวิชัย.

(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539).พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรลัญจน์ บุณยสุรัตน์. (2542). การศึกษารูปแบบวิหารทรงปราสาทในเขต

ภาคเหนือ. (รายงานผลการวิจัย), เชียงใหม่: คณะวิจิตรศิลป์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วัดพระธาตุลำปางหลวง. (2550). ตำนานวัดพระธาตุลำปางหลวง. ลำปาง:

จิตวัฒนาการพิมพ์ลำปาง.

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. (2551). วัดพระธาตุลำปางหลวง: บูรณะระเบียงคด

หอไตร และกุฎิพระแก้ว. เชียงใหม่: สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน.

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. (2559). ข้อวินิจฉัยประวัติครูบาเจ้าศรีวิชัย. เชียงใหม่:

กลุ่มพุทธมาลัย.

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี และคณะ. (2557). หอไตรล้านนา. (รายงานผลงานวิจัย).

กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี ธนิกานต์ วรธรรมานนท์. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์

ระหว่างพระบรมสารีริกธาตุกับการสร้างบ้านเมืองบนที่ราบเชียงแสน,

(รายงานการวิจัย). เชียงราย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย.

สงวน โชติสุขรัตน์. (2515). ประชุมตำนานลานนาไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2021