วัดในสมัยพุทธกาล

ผู้แต่ง

  • สุรชัย จงจิตงาม ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

วัด, เสนาสนะ, สมัยพุทธกาล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดการสร้างวัดในสมัยพุทธกาล        ๒) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของวัดในสมัยพุทธกาลในด้านกายภาพ โดยใช้ข้อมูลจากพระไตรปิฎกเป็นหลัก   และใช้ข้อมูลจากอรรถกถา รวมทั้งเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนประกอบ ผลการศึกษาพบว่า

ในสมัยพุทธกาลมีคำเรียกวัดว่า อาราม อาวาส สังฆาราม และวิหาร โดยวัดในสมัยพุทธกาลมีที่มาจากแนวคิดหลักประการแรก คือ ความจำเป็นในความต้องการใช้สอยเสนาสนะเพื่อการจำพรรษา ปฏิบัติธรรม และเจริญสมาธิเพื่อให้ได้รับความสะดวกในการจำพรรษาของภิกษุ และภิกษุณี ประการที่สอง คือ เกิดจากความศรัทธาของอุบาสก อุบาสิกาที่ต้องการสร้างเสนาสนะหรือวัดถวายไว้ใช้สอยในพุทธศาสนา โดยองค์ประกอบหลักของวัด คือ วิหาร กุฎี อุโบสถ หอฉัน ศาลาโรงไฟ เรือนคลัง กัปปิยกุฎี โรงจงกรม บ่อน้ำ เวจจกุฎี โดยวัดแห่งแรก คือ เวฬุวันวิหารสร้างโดยโดยพระเจ้าพิมพิสาร แต่วัดที่พระพุทธเจ้าทรงประทับนานที่สุด คือ เชตวันวิหารที่สร้างโดยอนาถบิณฑิกเศรษฐี

โดยคุณลักษณะของวัด และเสนาสนะสมัยพุทธกาลภายในวัดนั้นมีความเรียบง่าย เน้นการใช้สอยตามความจำเป็นโดยไม่ให้ความสำคัญกับการตกแต่ง และความงาม การดัดแปลงการใช้สอยในองค์ประกอบต่างๆ ของวัดตั้งอยู่บนพื้นฐานของพระธรรมวินัย และวัดในสมัยพุทธกาลมีสภาพแวดล้อมที่กลมกลืนกับธรรมชาติ

References

คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2547). ประชุมจารึกภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.

จันทบุรีนฤนาถ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ, (2513). ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2547). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 1, 2, 4, 7, 10, 14, 19, 32, 33. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัยฯ. (2526). พระวินัยปิฎกเล่ม 7 จุลวรรค ทุติยภาค และอรรถกถา. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัยฯ.

มหามกุฏราชวิทยาลัยฯ. (2526). พระสูตร และอรรถกถาแปล ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม 1, ภาคที่ 2, ตอนที่ 2. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัยฯ.

มหามกุฏราชวิทยาลัยฯ. (2526). พระสูตร และอรรถกถาแปล สังยุตตนิกาย มหาวรรค เล่ม 5 ภาคที่ 2. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัยฯ.

มหามกุฏราชวิทยาลัยฯ. (2526). พระสูตร และอรรถกถาแปล อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่มที่ 1 ภาคที่ 1. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัยฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา.(2529).สารานุกรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2021