แนวทางการบริหารจัดการเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา

ผู้แต่ง

  • ทรงศักดิ์ พรมดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • โผน นามมณี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระมหาวิเศษ ปญฺญาวชิโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • อุเทน ลาพิงค์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมโม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

แนวทางการบริหาร, เทคโนโลยี, การประกันคุณภาพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการเทคโนโลยีการศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหากุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา 2) เพื่อพัฒนาแนวทางบริหารจัดการเทคโนโลยีการศึกษา  3) เพื่อเสนอแนวทางบริหารจัดการเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตร  งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลเอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์ ประชากรกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง  แล้วนำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1)  สภาพปัญหาการบริหารจัดการเทคโนโลยีการศึกษา ขาดความชัดเจนด้านแผนบริหารจัดการหลักสูตรคณาจารย์เจ้าหน้าที่ใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาน้อย  การบริหารจัดการหลักสูตรใช้รูปแบบเอกสาร  2) การพัฒนาแนวทางบริหารจัดการเทคโนโลยีการศึกษา ผลประเมินในปีการศึกษา 2563 ประเมินแบบออนไลน์ ผลคะแนนรวมได้  3.70 เกณฑ์มาตรฐานอยู่ในระดับ พอใช้ และเทียบกับผลประเมินในปี 2562 ผลประเมินได้ 3.64 เกณฑ์มาตรฐานอยู่ในระดับพอใช้  สรุปว่าแนวทางการบริหารจัดการเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพหลักสูตร มีเกณฑ์มาตรฐานไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรควรมีการนำเทคโนโลยีการศึกษามาประยุกต์ใช้ เพื่อรองรับระบบประกันคุณภาพหลักสูตร และควรมีวารสารด้านศาสนาและปรัชญา ประชาสัมพันธ์บทความและงานวิจัยออกไปสู่สังคม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

ชิษณุพงศ์ พรวนต้นไทร. (2556). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต).

ทรงศักดิ์ พรมดี และคณะ.(2559). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรศาสตรสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา วิทยาเขตล้านนา ตามเกณฑ์มาตรฐานใหม่ 2558. งานวิจัยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา.

ภานรินทร์ ปัญญาจรัสกุล. (2553). การมีส่วนร่วมตัดสินใจในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา).

พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม . (2563). สรุปเปรียบเทียบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (แยก) วิทยาเขตล้านนา ป.ตรี และ ป.โท. รองอธิการบดี ฝ่ายแผนและประกันคุณภาพการศึกษา สำนักประกันคุณภาพการศึกษา มมร. สืบค้นจาก https://qa.mbu.ac.th/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2549). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์จำกัด.

สํานักงานปฏิรูปการศึกษา. (2554). ปัญจปฏิรูปการศึกษาแนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคณุภาพการศึกษา. (2554). คู่มือการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบสาม พ.ศ. 2445 – 2558. กรุงเทพฯ. ม.ป.พ.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. [ม.ป.ป.]. การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion).สืบค้นจาก http://www.vijai.org/Tool_vijai/12/02.asp

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2021