การปรับตัวของผู้หญิงมูอัลลัฟ (มุสลิมใหม่) กลุ่มตับลีฆ

ผู้แต่ง

  • กีฟละห์ ดารากัย สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

มูอัลลัฟ, การปรับตัว, กลุ่มตับลีฆ, ผู้หญิง, นครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการปรับตัวของผู้หญิงมูอัลลัฟ (มุสลิมใหม่) กลุ่มตับลีฆ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของผู้หญิงมูอัลลัฟหลังการเปลี่ยนศาสนา โดยใช้กรณีศึกษาเป็นผู้หญิงมูอัลลัฟที่เป็นสมาชิกของกลุ่มตับลีฆจำนวน 6 คน เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดเรื่องเล่าและแนวคิดการปรับตัวเป็นกรอบการวิจัย ใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากงานวิจัย เอกสารวิชาการและเก็บข้อมูล โดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์เชิงลึก     

ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงมูอัลลัฟเปลี่ยนศาสนาด้วยสาเหตุ 2 ประการ 1) เพราะความสนใจ เรียนรู้ศาสนาอิสลาม ผ่านการให้ความรู้ของชุมชนและแบบอย่างของบุคคลแวดล้อม โดยเปลี่ยนศาสนาและดำเนินชีวิตในศาสนาใหม่มาระยะหนึ่งก่อนแต่งงานกับผู้ชายมุสลิม 2) เพราะต้องการแต่งงานกับผู้ชายมุสลิม โดยได้รับการส่งเสริมความเข้าใจเรื่องศาสนาอิสลามจากคนรักเป็นหลัก เริ่มต้นด้วยการปรับตัวในเรื่องหลักความเชื่อพร้อมกับศึกษาหลักคำสอนวิถีปฏิบัติของศาสนาใหม่จากบุคคลแวดล้อม ชุมชน และศูนย์การศึกษาอิสลามโดยอาศัยระยะเวลา และวิธีการปรับตัวตามบทบาทและสถานการณ์ ทั้งนี้ภูมิหลังมีผลต่อการปรับตัวเช่นกัน สิ่งที่ปรากฏชัดเป็นรูปธรรมของผู้หญิงมูอัลลัฟกลุ่มตับลีฆ คือ การปรับตัวทางด้านการแต่งกายที่มีลักษณะเฉพาะของกลุ่ม การปรับตัวในฐานะสะใภ้ ภรรยา มารดา การรักษาสัมพันธ์ภาพที่ดีกับครอบครัวเดิม และการปฏิบัติจริยวัตรที่เคร่งครัด โดยขัดเกลาตัวเองให้สอดคล้องกับกฏของกลุ่มตับลีฆ และกลุ่มมัสตูรา

References

กนกวรรณ สุทธิพร. (2553). วิธีวิทยาเรื่องเล่า. ใน ท่าพระจันทร์สหวิทยาการปริทัศน์. สืบค้นจาก http://tpir53.blogspot.com/2010/11/blog-post_15.html

กีฟละห์ ดารากัย. (2563). การปรับตัวของผู้หญิงมูอัลลัฟ (มุสลิมใหม่) กลุ่มตับลีฆ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์).

ปริญญา ประหยัดทรัพย์. (2562). การเข้ารับอิสลามของต่างศาสนิกในประเทศไทย: กรณี ศึกษามูอัลลัฟในชุมชนมุสลิมพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร)์.

ศรัณยา แสงมณี, มณี อาภานันทิกุล และ ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. (2555). การปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ทำงานนอกบ้าน.Rama Nurs J, 18(1), 119-133.

สุรชัย ไวยวรรณจิตร. (2563). การปรับตัวในพื้นที่ชีวิตของนักศึกษามลายูมุสลิมไทยในประเทศมาเลเซีย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์).

อับดุลเลาะ หนุ่มสุข. (2558). มูอัลลัฟในสังคมมุสลิมไทย. สืบค้นจาก https://www.islammore.com/view/4166

Amporn Marddent. (2009). KKHAO KHAEK interfaith Marriage between Muslim and Buddhist in Southern Thailand. In W. J. Gavin, Chee Heng Leng and Maznah.Mohamad, (Eds.), Muslim-non – Muslim marriage political and Cultural contestation in Southeast Asia. (pp. 190-211).

Charoenwong, S., Chirawatkul, S., & Manderson, L. (2015). Religion Conversion is Changing Way of Life: Adaptation Process

among Thai-Isan Women with Conversion from Buddhist to Islam. Journal of the Psychiatric Association of Thailand, 60(4), 317-330.

Riessman, C. K. (2005). Narrative Analysis. Huddersfield, 30, 1-7. Strub, A. F. (2015). Agents Unto Themselves: Reconstructing the narrative of women’s roles in the Anglo-Saxon Conversiona. (Master’s Thesis, Missouri-Kansas University).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2021