การประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องน้ำในลัทธิเต๋าเพื่อการดำเนินชีวิต

ผู้แต่ง

  • อภินันท์ ธรรมอินทร์ลาด สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • รัตนะ ปัญญาภา สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ซรู ไห่ แย้น นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

แนวคิด, น้ำ, ลัทธิเต๋า

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับน้ำในลัทธิเต๋าซึ่งเล่าจื้อใช้เป็นแกนกลางทางความคิดในการเสนอแนวคิดและหลักปฏิบัติต่าง ๆ คนดีมีคุณธรรมในลัทธิเต๋าคือคนที่ใช้ชีวิตเรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ขัดแย้งต่อกฎธรรมชาติหรือเต๋า เหมือนน้ำที่ให้ประโยชน์ให้แก่สรรพสิ่งแต่ไม่แก่งแย่งหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อสิ่งเหล่านั้น ในขณะเดียวกันก็อยู่ในที่ที่ต่ำสุด  ในบทความนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอ 2 ประเด็น คือ แนวคิดเรื่องน้ำในลัทธิเต๋า และคำสอนของลัทธิเต๋าที่สัมพันธ์กับแนวคิดเรื่องน้ำ และนำเสนอบทสรุปว่าด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องน้ำในลัทธิเต๋าในการดำเนินชีวิต 3 ประการ คือ 1) หลักปฏิบัติภายในตน ได้แก่ หลักคำสอนอันเป็นรัตนตรัย ความเมตตากรุณา ความกระเหม็ดกระแหม่ ความอ่อนน้อมถ่อมตน และหลักปฏิบัติอีก 3 ประการ คือ เข้าใจตัวเอง ชนะตนเอง และสันโดษ 2) หลักปฏิบัติต่อผู้อื่น คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และ การไม่เห็นแก่ตัว  และ 3) หลักปฏิบัติของนักปกครองที่สำคัญ คือ อ่อนน้อมต่อประชาชน

Author Biography

รัตนะ ปัญญาภา, สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ผศ.ดร.รัตนะ ปัญญาภา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
เปรียญธรรม ๙ ประโยค (ป.ธ.๙)

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (จริยศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล)

พุทศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

References

คูณ โทขันธ์. (2537). วิถีแห่งเต๋า. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ดนัย ไชยโยธา, จิตต์ เผือกผ่อง, อรุณ หวานนุ่ม, และสุบรรณ ขันเงิน. (2519). ศาสนาสากล. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ธนู แก้วโอภาส. (2542). ศาสนาโลก. กรุงเทพฯ: สายส่งสุขภาพ.

ประสาร พลเยี่ยม และ สุรพันธ์ ทับสุวรรณ์. (2521). ทฤษฎีการเมืองและจริยศาสตร์ตะวันออก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ประสิทธิ์ กุลบุญญา และ รัตนะ ปัญญาภา. (2547). จริยศาสตร์. อุบลราชธานี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

พจนา จันทรสันติ. (2523). วิถีแห่งเต๋า. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

ลำดวน ศรีมณี. (ม.ป.ป.). จริยธรรมและจริยศาสตร์ตะวันออก. กรุงเทพฯ: พุทธชาด.

สุรินทร์ การะนนท์ และ ประสิทธิ์ กุลบุญญา, (2543). ความจริงของชีวิต. อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซทการพิมพ์.

เสถียร โพธินันทะ. (2514). เมธีตะวันออก. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.

หลวงวิจิตรวาทการ. (2494). ศาสนาสากลฉบับพิสดาร. พระนคร: ส.ธรรมภักดี.

Le Guin, U.K. (2011). Lao Tzu Tao Te Ching: A Book about the Way of the Power of the Way. Bostan: Shambhala.

Lok Sang Ho. (2002). The Living Dao: The Art and Way of Living A Rich & Truthful Life. Hong Kong: Lingnan University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2021