คร่าวซอนางอุทธลา: ความรุนแรงกับผลกรรมตามแนวคำสอนของพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
คร่าวซอ, ความรุนแรง, ผลกรรม, วรรณกรรม, ล้านนาบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงและโครงสร้างของความรุนแรงในคร่าวซอเรื่องนางอุทธลา คร่าวซอเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมล้านนาที่มีต้นเค้ามาจากชาดกนอกนิบาตเรื่องสุวรรณชาดก เรื่องนางอุทธลาเป็นนิทานที่แพร่หลายในกลุ่มชาติพันธุ์ไทและกลุ่มประเทศต่าง ๆ ล้านนา ไทใหญ่ ไทลื้อ มอญ ละว้า พม่า เวียดนาม และไทย คร่าวซอเรื่องนางอุทธลามีความน่าสนใจคือการใช้ความรุนแรงซึ่งเกิดจากการกระทำของตัวละครทั้งฝ่ายดีและฝ่ายร้าย ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อคำสอนของพระพุทธศาสนา เช่น ลูกฆ่าแม่ พ่อฆ่าลูก และแม่ฆ่าลูก ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำที่มีกระบวนการ ประกอบด้วยความรุนแรงทางตรง กล่าวคือ ตัวละครในเรื่องมุ่งทำร้ายฝ่ายตรงข้ามให้ถึงแก่ชีวิตด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การบดขยี้ การฉีกกระชาก การแทง และการเผาไหม้ ความรุนแรงเชิงโครงสร้างเป็นการนำเสนอสถานภาพของตัวละครที่ถูกอำนาจที่เหนือกว่าทำร้ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมนำเสนอให้เห็นว่าความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่พอยอมรับได้ในสังคมล้านนา
References
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2557). ท้าทายทางเลือก: ความรุนแรงและการไม่ใช้ความรุนแรง. กรุงเทพฯ: ของเรา.
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2549). อาวุธมีชีวิต?: แนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยความ รุนแรง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2558). อ่าน(ไม่)เอาเรื่อง. กรุงเทพฯ: อ่าน.
บุญเหลือ เทพยสุวรรณ. (2556). เบิกทางวรรณคดีศึกษาไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์.
ประคอง นิมมานเหมินท์. (2517). ลักษณะวรรณกรรมภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: จันทร์เพ็ญ.
แมคกิลวารี, เดเนียล ดี.ดี. (2544). กึ่งศตวรรษในหมู่คนไทยและคนลาว: อัตชีวประวัติของศาสนาจารย์เดเนียล แมคกิลวารี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). แปลจาก Semi-Century Among Thais and Lao People: An Autobiography of Pastor Daniel McGilvari. แปลโดย จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล. กรุงเทพฯ: มติชน.
วรรณพิมพ์ล้านนา: วรรณกรรมที่ตีพิมพ์ด้วยอักษรธรรมล้านนา 60 เล่ม เล่มที่ 5 จัดทำจากเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ของโครงการ e-60 วรรณพิมพ์ล้านนา/ โครงการจัดทำเอกสารข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ต้นฉบับและเป็นฐานในการสร้างนักวิชาการด้านล้านนารุ่นใหม่. (2552). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เวาน์ เพลงเออ. (2519). ด้วยปัญญาและความรัก: นิทานชาวเมืองเหนือ. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2555). ประวัติศาสตร์ล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2557). กษัตริย์ล้านนาเชียงใหม่. เชียงใหม่: ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 2. (2542). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 15. (2542). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
สุวรรณา สถาอานันท์ และ เกษม เพ็ญภินันท์, (บรรณาธิการ). (2555). ข้า ค่า ฆ่า: อัตลักษณ์ คุณค่า ความรุนแรง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2529). จารีตนิยมในการแต่งวรรณกรรมคร่าวซอ. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2546). วรรณกรรมล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2547). พจนานุกรมล้านนา – ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่: มิ่งเมือง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th