แนวคิดความสัมพันธ์ทางศีลธรรมระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ในทรรศนะของวิลเลียม เจมส์

ผู้แต่ง

  • วีรพงษ์ ศรีสองคอน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วรรณวิสาข์ ไชยโย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

จริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม, มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม, วิลเลียม เจมส์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางศีลธรรมระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมในทรรศนะของวิลเลียม เจมส์นักปรัชญาและนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการวิเคราะห์เอกสารโดยการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือและงานเขียนของเจมส์ รวมทั้งเอกสารชั้นรองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมุ่งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางศีลธรรมระหว่างมนุษย์กับสรรพสิ่งผ่านกรอบแนวคิดจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมแล้วสรุปผลการวิจัยในเชิงพรรณนา ผลจากการศึกษาพบว่าจักรวาลนี้เป็นจักรวาลที่หลากหลายประกอบขึ้นจากปัจเจกย่อยจำนวนมาก ในทางภววิทยาแล้วสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตมีสถานะที่เท่าเทียมและจัดเป็นเพียงส่วนย่อยหนึ่งท่ามกลางความหลากหลายนี้เท่านั้น ซึ่งปัจเจกย่อยต่างก็ดำรงอยู่อย่างอิสระปราศจากการครอบครองหรือถูกครอบครองโดยสิ่งอื่นแม้จะดำรงอยู่อย่างอิสระแต่ปัจเจกเหล่านั้นต่างเชื่อมประสานกันด้วยกฎธรรมชาติบางประการทำให้เกิดเป็นสหภาพของความสัมพันธ์ขนาดใหญ่ ดังนั้นจักรวาลจึงมีความหลากหลายและเป็นหนึ่งในบางลักษณะมนุษย์และสิ่งต่างๆ ที่ดำรงอยู่ในโลกแห่งประสบการณ์นี้ต่างมีความสัมพันธ์และเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันสรรพสิ่งจึงมีความสัมพันธ์ทางศีลธรรมแบบองค์รวม

 

 

 

References

เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2537). จริยศาสตร์สภาวะแวดล้อม โลกทัศน์ในพุทธปรัชญาและปรัชญาตะวันตก.(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มัสยา นิรัติศยภูติ. (2554). ปัญหาความชั่วร้าย. สืบค้นจาก http://www.parst.or.th/philospedia/theproblemofevil.html

สมพิศ ศรีประไพ. (2521). วิเคราะห์ปรัชญา “ประจักษ์นิยมแบบจัด” ของวิลเลียม เจมส์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สมาคมพระคริสต์ธรรมไทย. (2531). พระคริสตธรรมคัมภีร์: ภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่. กรุงเทพฯ: สมาคมพระคริสตธรรมไทย.

สุทัศน์ ยกส้าน. (2555). บุคคลสำคัญ. นิตยสาร สสวท, 40(176), 54-56

Barnhill, D. L. & Gottlieb, R. S. (2001). Deep Ecology and World Religions: New Essays on Sacred Grounds. New York: State University of New York Press.

Callicott, J. Baird & Frodeman Robert. (2008). Encyclopedia of Environmental Ethics and Philosophy. New York: Macmillan Reference USA.

Drengson, A. (2012). Some Thought on the Deep Ecology Movement. Retrieved from http://www.deepecology.org/deepecology.htm

Glendinning, C. (1994). My Name Is Chellis and I’m in Recovery from Western Civilization. Massachusetts: Shambhala Publications.

James William. (1988). Humanism and Truth William James : Writings 1902-1910 : The Varieties of Religious Experience Pragmatism A Pluralistic Universe The Meaning of Truth Some Problems of Philosophy Essays. N.Y: Library of America.

James William. (1890). The Principles of Psychology. N.Y: Harvard University Press.

James, William. (1891). Pragmatism and classical American philosophy : essential readings and interpretive essays edited by John J. Stuhr. 2nd ed. New York: Oxford University Press.

James, William. (1909). A Pluralistic Universe. Arc Manor: Marry Land.

Jardins, J. R. (1993). Environmental Ethics: An introduction to environmental philosophy. California: Wadsworth Publishing Company.

Sarkar, S. (2005). Biodiversity and Environmental Philosophy: An Introduction. New York: Cambridge University Press.

Legg, Catherine. (2008). Pragmatism. Retrieved from https://Plato. stanford.edu/entries/pragmatism/

McGranahan, Lucas. (2017). Darwinism and Pragmatism William James on evolution and selftransformation. New York: Routledge.

Newman, Julia. (2011). Green Ethics and Philosophy An A-to-Z Guide. California: SAGE Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2021