วิเคราะห์ความต้องการของมาสโลว์ในมุมมองของพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • นภาพร หงษ์ทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

ความต้องการมนุษย์, ตัณหา, ฉันทะ, มาสโลว์, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเรื่องความต้องการของมาสโลว์ในมุมมองของพระพุทธศาสนา รวมทั้งการจัดการกับความต้องการดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า ความต้องการของมนุษย์ในทฤษฎีของมาสโลว์ ไม่ใช่ตัณหาทั้งหมด แต่เป็นความต้องการพัฒนาตนเองที่เริ่มต้นจากฉันทะแล้วกลายเป็นตัณหาได้ในที่สุด ด้วยวิธีการตอบสนองความต้องการให้มากที่สุดของมาสโลว์เป็นการสร้างเสริมขยายตัวตน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ของมนุษย์ในทางพระพุทธศาสนา จุดมุ่งหมายของความต้องการของมาสโลว์จัดอยู่ในระดับโลกิยะสุข เป็นความสุขที่มนุษย์ปุถุชนทั่วไปต้องการ สอดคล้องกับประโยชน์ปัจจุบัน ในหลักอัตถะหรือประโยชน์ 3 คือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ โดยมนุษย์จะต้องขยันหาทรัพย์โดยสุจริต รู้จักเก็บรักษาทรัพย์ คบกัลยาณมิตร และใช้ชีวิตตามอัตภาพ ไม่เพียงเท่านั้น พระพุทธศาสนาเห็นว่า มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองหรือความต้องการให้มีความสุขในระดับที่สูงขึ้นและมีคุณค่ามากกว่านี้ได้ เป็นความสุขจากความสงบทางจิตใจ ตามหลักสัมปรายิกัตถะ โดยการปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาและศีลตามหลักพระพุทธศาสนา กระทั่งการพัฒนาปัญญาให้เกิดโยนิโสมนสิการ มองเห็นคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งจะสามารถป้องกันความทุกข์ทางจิต ไปจนถึงการดับความต้องการหรือความทุกข์ทั้งหมด คือ นิพพาน อันเป็นความสุขที่แท้จริง ตามหลักปรมัตถะ อย่างไรก็ตาม ในชีวิตประจำวัน เมื่อเกิดความต้องการขั้นพื้นฐานตามธรรมชาติ ควรตอบสนองอย่างพอดี/พอเพียง ควรพัฒนาฉันทะให้เกิดขึ้นมากที่สุด และพยายามตัดทิ้ง ลดละ หรือเปลี่ยนตัณหาให้เป็นฉันทะ ที่สำคัญ มนุษย์จะต้องมี “สติ” รู้เท่าทันความต้องการที่เกิดขึ้นกับตัวเองอยู่เสมอ ยิ่งไปกว่านั้น ควรมี “ธรรมะของพระพุทธองค์” เป็นคู่มือสำคัญคอยกำกับชีวิตไปสู่ความสุขที่แท้จริง

References

จำลอง ดิษยวณิช. (2541). พุทธศาสนาและจิตเวชศาสตร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 43 (3), 266 - 291.

จำลอง ดิษยวณิช. (2544). จิตวิทยาของความดับทุกข์. เชียงใหม่: บริษัท กลางเวียงการพิมพ์ จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พุทธทาส อินทปัญโญ. (ม.ป.ป.). ผู้ครองเรือน. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2553). พุทธปรัชญา มิติการมองโลกและชีวิตตามความจริง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วศิน อินทสระ. (2554). ปัญหาน่าสนใจทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: ธรรมดา.

วัชระ งามจิตรเจริญ. (2561). พุทธศาสนาเถรวาท. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2554). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ (รู้เรา – รู้เขา). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

สมภาร พรมทา. (2542). พุทธปรัชญา: มนุษย์ สังคม และปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

A.H. Maslow. (1943). A Theory of Human Motivation. Psychological Review, 50 (4), 370 - 396.

Abraham H. Maslow. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row Plublisher.

Carlos Boonsupa. (2559). ลำดับขั้นความต้องการ 8 ขั้นของมาสโลว์. สืบค้น 21 มิถุนายน 2560, จาก https://sircr.blogspot.com/2016/12/8-maslows-hierarchy-of-needs.html

McLeod, S. A. (2018, May). Maslow's hierarchy of needs. Retrieved from https://www.simplypsychology.org/maslow.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2021