วาบิ-ซาบิ กับแนวคิดเรื่องความงามในมุมมองสุนทรียศาสตร์

ผู้แต่ง

  • นฐนกร ธงพุทธามนท์ นักวิชาการอิสระ
  • พระมหาคมคาย สิริปญโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

วาบิ-ซาบิ, ความงาม, สุนทรียศาสตร์, ความไม่สมบูรณ์

บทคัดย่อ

บทความเรื่องวาบิ-ซาบิ กับแนวคิดเรื่องความงามในมุมมองสุนทรียศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์ การตีความและการให้คุณค่าที่เกี่ยวกับแนวคิดวาบิ-ซาบิ ซึ่งมีที่มาจากประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากแนวคิดวาบิ-ซาบิ เป็นแนวคิดทฤษฎีที่ยอมรับเกี่ยวกับความไม่สมบูรณ์แบบ โดยมีความเห็นว่าความงามไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์พร้อม มีความเรียบง่าย ไม่ถูกปรุงแต่งมากจนเกินไป วัตถุประสงค์ถัดมาคือการพยายามหาคำตอบของคำว่า สวยงาม ในมุมมองทาง         สุนทรียศาสตร์ในบริบทของวาบิ-ซาบินั้นมีความเป็นไปได้หรือไม่ กับการตอบคำถามที่ว่าความไม่สมบูรณ์แบบในผลงานศิลปะเหล่านั้นจะถูกยอมรับว่ามีคุณค่าทางศิลปะ สุนทรียภาพที่เกิดขึ้นจากแนวคิดวาบิซาบิ ได้ให้ความหมายลึกซึ้งถึงคุณค่าหรือไม่ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร โดยศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่ได้ให้คำอธิบายและนิยามความหมายไว้ถึงข้อสนับสนุนและข้อโต้แย้ง รวมไปถึงการนำกรอบทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์

ผลการศึกษาพบว่า การที่จะยอมรับแนวคิดวาบิ-ซาบิ ว่ามีคุณค่าความงามหรือไม่นั้น สิ่งสำคัญคือการนำกรอบทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์มาวิเคราะห์ ภายใต้กฎเกณฑ์ทำให้พบหลักฐานว่า วาบิ-ซาบิ นับเป็นสุนทรียภาพหนึ่งที่มีคุณค่าตามมาตรฐานความงามที่มิได้ขัดแย้งกับความเป็นจริง เพราะความงามของวาบิ-ซาบิ เป็นความงามที่จริงแท้ สัมผัสได้ และไม่ใช่เรื่องไกลตัวที่คนธรรมดาไม่สามารถรับรู้ได้ ความงามในรูปแบบของวาบิ-ซาบินั้นตั้งอยู่บนเรื่องราวของชีวิตที่สามารถนำมาอธิบายเป็นข้อเท็จจริงเป็นทฤษฎีที่เป็นรูปธรรมทางสุนทรียศาสตร์ได้  โดยหลักความจริงทางปรัชญาที่ค้นพบในวาบิ-ซาบิมี 3 ประการที่มีเกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อม  ได้แก่ “ปริมาณน้อย, การเลือกคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่มาจากที่มาของเนื้อแท้ของสิ่งนั้น, การเคารพธรรมชาติ”ซึ่งความงามในแบบของวาบิซาบิ มีอยู่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น และวิถีแห่งปรัชญา ซึ่งมีอิทธิพลต่อการรับรู้สุนทรียภาพของญี่ปุ่น และสิ่งที่ประกอบไปด้วยบริบทเหล่านี้ ได้แก่ พิธีชงชา, การจัดดอกไม้, บทกวีญี่ปุ่น (Haiku), การออกแบบสวน และ ละครเต้นรำคลาสสิก แม้ในยุคสมัยใหม่ วาบิ-ซาบิ ก็ยังถูกยอมรับความเป็นแนวคิดสำคัญที่ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในวัฒนธรรมของญี่ปุ่นเพียงที่เดียว แต่ถูกมองว่าเป็นเรื่องของมนุษย์ที่มีความคิดมีจิตใจ และนอกจากนี้ วาบิ-ซาบิ ยังสอดคล้องกับทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของการให้คุณค่า โดยคุณค่าของวาบิ-ซาบิที่ถูกค้นพบนั้นถูกให้ไว้ในเชิงบวก คือ นอกจากจะสร้างความละเมียดในการสื่อสารแล้วยังมีคุณค่าทำให้จิตใจของผู้ที่ถูกฝึกฝนในเรื่องสุนทรียภาพให้มีความอ่อนโยน เข้าใจสังคมและมีความงดงามในจิตใจด้วย

References

กีรติ บุญเจือ. (2522). ปรัชญาศิลปะ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

เข้าใจชีวิตบนวิถีคิดแบบ 'วะบิ-ซะบิ' (wabi-sabi). (2557). สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2564, จาก https://www.mangozero.com/the-understanding-of-wabisabi-life/

เครือจิต ศรีบุญนาค, อโศก ไทยจันทรารักษ์, สรรเพชร เพียรจัด, ทรงเกียรติ สมญาติ, ประภาส ไชยเขตร, พู่กัน เจ๊กไธสง. (2542). สุนทรียภาพของชีวิต. กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

จี ศรีนิวาสัน. (2545). สุนทรียศาสตร์ ปัญหาและทฤษฎีเกี่ยวกับความงามและศิลปะ, แปลโดย สุเชาวน์ พลอยชุม. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์. (2557). หิมะ พระจันทร์ ดอกไม้ : สวนญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: สารคดีภาพ.

ญี่ปุ่นกับปรัชญาเซน ฉบับย่อ (a very short introduction of zen). (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564จากhttps://www.blockdit.com/posts/5ec13d8efc9af10ccdb71517

ดวงดาว โยชิดะ. (2560). วาบิ -ซาบิ กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3 (2), 23-30.

พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร. (2548). อิทธิพลของลัทธิเต๋าที่มีต่อพระพุทธศาสนานิกายเซ็น. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564, จาก

http://202.28.52.4/site/articlecontent_desc.php?article_id=1208&articlegroup_id=187

พ่วง มีนอก. (2529). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาปรัชญาและศาสนา.มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พัชรินทร์ ศุขประมูล. (2560). วิถีแห่งศรัทธาจากศิลปทัศน์ญี่ปุ่น= The History of Japanese Art and Faith. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

รังสินี ไชยคุณ. (2564). วาบิซาบิ" คืออะไรหนอ?. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564, จาก https://kiji.life/wabisabi/

ศรัณย์ วงศ์คำจันทร์. (2531). ปรัชญาเบื้องต้น. คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยครูกำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

สกุล บุณยทัต. (ม.ป.ป.). คินสึงิ (Kintsugi) : ความงามของบาดแผลแห่งชีวิต “แท้จริง ... สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564, จาก https://siamrath.co.th/n/215734

สมเกียรติ ตั้งนโม. (2553). สุนทรียศาสตร์อินเดีย, จีน, และญี่ปุ่น (ฉบับย่อ). สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564, จาก weread.in.th/wp - content/upload

สันต์ ใจยอดศิลป์. (2021). คัมภีร์ เต๋าเต๋อจิง ฉบับแปลโดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564 จาก https://drsant.com/2017/04/blog-post_15-12.html

สุจิน สังวาลย์มณี, อโศก ไทยจันทรารักษ์, สรรเพชร เพียรจิต, ทรงเกียรติ สมญาติ, ประภาส ไชยเขตร, และพู่กัน เจ๊กไธสง. (2562). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา สุนทรียศาสตร์และจริยธรรมในการดำรงชีวิต (ทัศนศิลป์). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

สุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่น. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.baanjomyut.com/library/japan_aesthetics/06.html

อานนท์ กาญจนโพธิ์. (2564). ศาสนสุนทรียศาสตร์วิจารณ์. วารสารพิธพัฒนศิลป์ บัณฑิตศึกษา,1(2), 65-80.

Bareo & isyss. (2019). Wabi Sabi Décor: ความงามที่ไม่สมบูรณ์แบบ. Retrieved November 09, 2021, from https://www.bareo-isyss.com/service/decor-guide/wabi-sabi-decor/

Cooper, Tracy M. (2018). The Wabi Sabi Way: Antidote for a Dualistic Culture?, Journal of

Conscious Evolution: Vol. 10 : Iss. 10, Article 4. Available at: https://digitalcommons.ciis.edu/cejournal/vol10/iss10/4

Dwivedi, P. S. (2021). Aesthetics and the philosophy of art: Comparative perspectives. New Delhi: Routledge India.

Juniper, A. (2019). Wabi Sabi: The Japanese art of Impermanence. Tokyo: Tuttle Publishing.

Koren, L. (2008). Wabi-sabi for artists, designers, Poets & Philosophers. Berkeley, CA: Stone Bridge Press.

Laksanasamrith, E. (2015). Japanese gardens design : สวนญี่ปุ่น ที่ไม่ใช่แค่สวน แต่คือสัจธรรมของชีวิต. Retrieved November 09, 2021, from https://dsignsomething.com/2015/06/18/japanese-gardens-design

Lopes, A. M. (2016). Aesthetics, aesthetic theories. The Bloomsbury Encyclopedia of Design. doi:10.5040/9781472596178-bed-a021, 17-21.

Marra, M. F. (n.d.). A history of modern Japanese aesthetics. Honolulu: University of Hawaii Press.

Robert E. Carter. (2008). The Japanese Arts and Self-cultivation. Albany: State University of New York Press, 2008. from https://th.wikiqube.net/wiki/Japanese_aesthetics#cite_note-Carter-8

Wabi-Sabi: Why Japanese aesthetic consciousness accepts imperfection. (n.d.). Retrieved November 10, 2021, from https://www.tsunagujapan.com/wabi-sabi-japanese-aesthetic-conciousness/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2022