การก่อการร้ายในโลกร่วมสมัย: การศึกษาเกี่ยวกับรากเหง้าในเชิงอัตถิภาวะของ การก่อการร้าย

ผู้แต่ง

  • ปอ บุญพรประเสริฐ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความหวาดกลัว, การก่อการร้าย, อัตบุคคล, ความรุนแรง, อัตถิภาวนิยม

บทคัดย่อ

การวิจัยชิ้นนี้คือความพยายามที่จะตอบปัญหาในเชิงปรัชญาและเชิงอัตถิภาวะเกี่ยวกับคำถามดังต่อไปนี้ 1) การที่ปัจเจกบุคคลนั้นตกอยู่ภายใต้ความหวาดกลัวและหันไปใช้การก่อการร้ายในการเอาชนะความหวาดกลัวนั้นมันมีความหมายว่าอย่างไร 2) อะไรคือแหล่งหรือต้นตอของสิ่งเหล่านั้นและ 3) อะไรคือเงื่อนไขที่ทำให้การก่อการร้ายนั้นมีสถานะทั้งมีความเป็นร่วมสมัยและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งในการตอบคำถามเหล่านี้งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาโดยทำการสำรวจไปยังการสร้างมโนทัศน์ (Conception) เกี่ยวกับอัตบุคคล (Subject) ในบริบทของปรัชญาตะวันตกด้วยความเชื่อลึกๆที่ว่า อันดับแรก วิธีการซึ่งเหมาะสมและให้ผลที่ดีในการเข้าถึงและทำความเข้าใจอัตบุคคลหรือภาวะความเป็นอัตบุคล (Subjectivity) ในลักษณะร่วมสมัยคือการศึกษาในสถาณการณ์ร่วมสมัยซึ่งสิ่งนี้เป็นผลพวงมาจากการเกิดขึ้นของความเคลื่อนไหวในทางความคิดและปรัชญาซึ่งเราเรียกว่า “ยุคแห่งการตื่นรู้ทางปัญญา” (The Enlightenment) และในลำดับต่อมา มโนทัศน์ (หรือมโนทัศน์ต่างๆ) เกี่ยวกับอัตบุคคลนั้นถูกประกอบสร้างขึ้นโดยการเมืองซึ่งผันแปรไปตามประวัติศาสตร์และเจือปนไปด้วยอุดมการณ์ ดังนั้นเมื่อนำมาประกอบกับข้อแรก อัตบุคคลสมัยใหม่ (Modern Subject) สามารถถูกอธิบายและเข้าใจได้ภายในขอบเขตของยุคสมัยใหม่เองแทนที่จะถูกอธิบายโดยลักษณะที่บ่งบอกถึงความเป็นนิรันดร์ซึ่งดื้อดึงและต้านทานต่อเวลา ความเปลี่ยนแปลงและประวัติศาสตร์ งานวิจัยชิ้นนี้ค้นพบว่าโดยการสำรวจไปยังการสร้างมโนทัศน์ของปรัชญาสมัยใหม่เกี่ยวกับอัตบุคคล การบวนการในการสร้างความเป็นปัจเจก (Individualization) ของอัตบุคคลสมัยใหม่นั้นคือการบวนการของการสร้างคู่ขัดแย้ง (Opposition) ดังนั้นในกระบวนการนี้อัตบุคคลตระหนักรู้ถึงตัวตนของตัวเองโดยผ่านคู่ขัดแย้ง เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วผู้วิจัยมีข้อคิดเห็นว่ากระบวนการเช่นนี้ก่อให้เกิดความรุ่นแรงซึ่งแอบแฝงอยู่ในอัตบุคคลสมัยใหม่และการสร้างมโนท้ศน์อัตบุคคลสมัยใหม่นั้นเกิดขึ้นจากการปราบปราม (Suppression) คู่ตรงข้าม และโดยผ่านความพยายามที่จะทำการศึกษาในเชิงอัตถิภาวะไปยังรากเหง้าของความรุนแรงของอัตบุคลสมัยใหม่นี้เอง งานวิจัยนี้ค้นพบว่าความรุ่นแรงที่แอบแฝงอยู่ในอัตบุคคลสมัยใหม่นั้นเป็นปฏิกิริยาตอบสนองในเชิงตรรกะและโดยธรรมชาติต่อ “ความหวาดกลัว” (Terror) ซึ่งเป็นการตอบสนองทางอารมณ์ต่อใจกลาง (Core) ของเงื่อนไขของความเป็นมนุษย์ ซึ่งนั่นก็คือ “ความว่างเปล่า” (Nothingness) ในใจกลางของความเป็นมนุษย์

References

Berlin, Isaiah. (1992). The Crooked Timber of Humanity: Chapters in the History of Ideas. New York: Vintage Books.

Bowie, Andrew. (2003). Introduction to German Philosophy: From Kant to Habermas. Cambridge: Polity.

Burt, E.A. ed., (1939). Thomas Hobbes, Leviathan, or The Matter, Form, and Power of a Commonwealth, Ecclesiastical and Civil, in The English Philosophers from Bacon to Mill. New York: Modern Library.

Cottee, S.& Hayward, K. (2011). Terrorist (E)motives: The Existential Attractions of Terrorism. Studies in Conflict & Terrorism, 34(12), 963-968.

Dictionary.com. (2019). https://www.dictionary.com/browse/terrorism. Retrieved July 30, 2019, from https://www.dictionary.com/

Fromm, Erich. (1973). The Anatomies of Human Destructiveness. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Heidegger, Martin. (1962) . Being and Time. (Macquarrie, J. and Robinson, E., trans). New York: Harper & Row Publisher.

Melchert, Norman. (2002). The Great Conversion: A Historical Introduction to Philosophy (4th ed.). New York: McGraw Hill.

McBride, M.K. (2011). The Logic of Terrorism: Existential Anxiety, the Search for Meaning, and Terrorist Ideologies. Terrorism and Political Violence, 23(4), 560-581.

Primoratz, Igor., ed., (2004). Terrorism: The Philosophical Issues. New York: Palgrave Macmillan.

Panza, C. and Gregory, G. (2008). Existentialism for Dummies. Indianapolis: Wiley Publishing.Inc.

Sartre, Jean-Paul. (1973). Existentialism and Humanism. London: Methuen.

Tillich, Paul. (2000). The Courage to be (2nd ed.). New Haven: Yale University.

Webel, Charles. (2004). Terror, Terrorism, and The Human Condition. New York: Palgrave Macmillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2022