การวิเคราะห์แนวคิดและวิธีการสร้างสันติภาพของท่านติซ นัท ฮันห์

ผู้แต่ง

  • พระนราศักดิ์ วรธมฺโม (ธรรมศรีใจ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง “วิเคราะห์แนวคิดเรื่องสันติภาพของ ติซ นัท ฮันห์” มีวัตถุประสงค์   2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องสันติภาพของท่าน ติซ นัท ฮันห์ 2) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและวิธีการสร้างสันติภาพของท่าน ติซ นัท ฮันห์                                                                                            

ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดเรื่องสันติภาพ สันติภาพโดยทั่วไป คือ ความสงบ ได้แก่ภาวะแห่งสันติสุขคือการที่มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบ ปรองดอง สามัคคี มีความรัก ความเมตตา ช่วยเหลือกันอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระหว่าง คน สัตว์ ระบบนิเวศและทุกสรรพสิ่งโดยปราศจากความขัดแย้งความรุนแรงซึ่งอันจะนำมาถึงความสูญเสียทางทรัพย์สินและชีวิต สันติภาพในเชิงทวิภาวะประกอบด้วย สันติภาพภายใน หมายถึงสภาวะที่จิตหลุดพ้นจากการครอบงำของสิ่งต่าง ๆ อันเป็นสภาพจิตที่ไร้ความขัดแย้งความรุนแรงทุกชนิด ซึ่งพุทธศาสนาเรียกภาวะนี้ว่า “นิพพาน” สันติภาพภายนอก หมายถึงสภาวะที่ บุคคล สังคม และโลก ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันมีความรักความสามัคคี มีเสรีภาพ และเคารพในสิทธิมนุษยชน  แนวคิดเรื่องสันติภาพของ ติช นัท ฮันห์คือวิธีการสร้างสันติภาพคือการเน้นปฏิบัติการในเชิงรุก ปลุกจิตสำนึกของคนในสังคมโลกให้เห็นภัยของสงคราม    และกระตุ้นให้ผู้คนไม่ว่าชนชาติใดก็ตามเห็นถึงความสำคัญของสันติภาพ ท่านตระหนักว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการสร้างสันติภาพ และได้ก่อตั้ง “พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม”เพื่อช่วยเหลือประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆในเรื่องหลักๆ 4 เรื่อง คือ สุขอนามัย การจัดระเบียบการศึกษา และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เป็นการบ่งบอกถึงแนวคิดของท่านว่าการกระทำและปัญญาต้องก้าวไปด้วยกัน 2) การสร้างสันติภาพในมิติทางปรัชญา ติช นัท ฮันห์ ได้สร้างชุมชนสังฆะหมู่บ้านพลัมเพื่อให้เป็นชุมชนแห่งสันติภาพในหลายประเทศ ที่เน้นการเจริญสติในชีวิตประจำวันโดยไม่มีเส้นแบ่งทางศาสนาเป็นสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ ฝึกเจริญสติ สมาธิและปัญญา เพื่อตระหนักถึงการดำรงอยู่อย่างแท้จริงของตัวเราว่าไม่มีอะไรมากไปกว่าความเมตตาและความช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างผู้คนกับสรรพสิ่งรอบข้าง โดยการนำ “สติ” และ “สันติ”ให้เกิดขึ้นภายในจิตใจ และอุทิศตัวซึ่งมีแรงขับเคลื่อนจากภายใน คือ เมตตา กรุณาและหว่านความรักลงไปในจิตใจของผู้คน เพื่อสร้างความสุขศานติและความสมานฉันท์ให้กลับคืนมาสู่ สังคม โลก อย่างยั่งยืน

References

ณัฐภัทร์ พงษ์เสาร์. (2557). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกานเซ็นของ พระ ติซ นัท ฮันห์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

ติซ นัท ฮันห์. (2552) .สู่ชีวิตอันอุดม. กรุงเทพฯ : มติชน.

ติซ นัท ฮันห์. (2553). ปลูกรัก. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์.

ติซ นัท ฮันห์. (2554). สันติภาพทุกย่างก้าว. กรุงเทพฯ : ศยาม.

ปิยะนันต์ จันทร์แขกหล้า.(2557) .ศึกษาบทบาทความเป็นภาวะผู้นำทางสังคมศาสนาของติซ นัท ฮันห์. สถาบันวิชาการไทยวิจัยพัฒนาการจัดการ.

พระพรหมคุณาภรณ์. (2540). การศึกษาเพื่อสันติภาพ. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

พระไพศาล วิสาโล .(2557). เติมชีวาให้ชีวิต. กรุงเทพฯ : เครือข่ายพุทธิกา.

พระครูประโชติรัตนากร รตนโชโต (น้อย ศิริสุข) (2558) . สันติภาพเชิงพุทธ : แนวคิดและบทบาทการสร้างสันติภาพของพระสงฆ์ไทย . (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระทรัพย์ชู มหาวีโร (บุญพิฬา). (2553) . การศึกษาวิธีการเจริญสติในชีวิตประจำวันตามแนวของท่าน ติซ นัท ฮันห์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระมหาเจษฎา โชติวํโส (จุลพันธ์). (2557) . ศึกษาเปรียบเทียบวิธีการเจริญสติของหลวงพ่อเทียน สุภัทโท และท่าน ติซ นัท ฮันห์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พิมลาพร วงค์ชินศริ. (2541). อิทธิพลของพุทธศาสนานิกายเซนที่ปรากฏในงานวรรณกรรมของ ติซ นัท ฮันห์.(วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

พิชัย สุขวุ่น. (2557).ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 4 (1), 209.

สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์. (2557) .การพัฒนารูปแบบการสอนสันติศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย. (วิทยานิพนธ์พัฒนศึกษาดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร).

สรณีย์ สายศร. (2560). ดอกบัวในเปลวเพลิง: แนวทางการสร้างสันติภาพท่ามกลางเปลวสงครามของติซ นัท ฮันห์ ภิกษุเซนแห่งเวียดนาม. วารสารมนุษยศาสตร์, 24(1).

หิมพรรณ รักแต่งาม. (2550). การศึกษาวิเคราะห์การตีความหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของ ติซ นัท ฮันห์.(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

Johun Galtung. (1975). Peace: Research education action: Essays in peace research 1. Copenhagen: Christian Ejler.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2022