วิหารในพระไตรปิฎก: มูลเหตุการสร้าง ความหมาย และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม

ผู้แต่ง

  • ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ 3800100726809
  • พระชัยวรวงศ์ อิทฺธิมนฺโต (ณ เชียงใหม่) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

วิหาร, สถาปัตยกรรม, พระไตรปิฎก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วิหารในพระไตรปิฎก ในประเด็นของ 1) มูลเหตุการสร้าง 2) ความหมาย และ 3) องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม

ผลการวิเคราะห์พบว่า 1) มูลเหตุการสร้างวิหารครั้งแรก เกิดจากเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ผู้หนึ่งที่เลื่อมใสในกิริยาอันงดงามของหมู่พระสงฆ์ซึ่งปฏิบัติธรรมอยู่ในป่า จึงคิดพร้อมทั้งได้แสดงความปรารถนาของตนที่จะสร้างวิหารเพื่อใช้ในการป้องกันอันตรายและเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์เหล่านั้น 2) ความหมายของวิหารในพระไตรปิฎก หมายถึงเรือนที่อยู่อาศัยของบุคคลต่างๆ เช่น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก ยักษ์ เป็นต้น ส่วนเรือนที่อยู่อาศัยของพระพุทธเจ้าเรียกมูลคันธกุฎี นอกจากนี้วิหารยังสามารถหมายถึงวัด ที่อยู่ของธรรม หรือที่อยู่ของพระธาตุคือเจดีย์ก็ได้ ภายหลังพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ใช้วิหารที่สงฆ์ไม่ได้อาศัยแล้วเป็นอุโบสถ ครัว และห้องเก็บของ 3) องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของวิหารในพระไตรปิฎกที่เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์สร้างถวาย มีลักษณะเป็นเรือนไม้ไผ่ มีฝาผนังทึบ 3 ด้าน ด้านหน้าเปิดโล่ง หลังคาจั่ว ภายหลังเมื่อพระภิกษุที่อาศัยนั้นได้รับความไม่สะดวกและรู้สึกไม่ปลอดภัย จึงไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้ทำประตู หน้าต่าง บันได รั้ว ทาผนังสีขาวหรือสีเหลือง ทาพื้นสีดำ ส่วนภายในวิหารอนุญาตให้ใส่เพดาน สามารถแบ่งพื้นที่ด้านในเป็นห้องได้ เขียนลายดอกไม้ ลายเถาวัลย์ ลายฟันมังกร ลายดอกจอก ให้มีราวสำหรับยึด ราวตากจีวร และอนุญาตไม้หรือเดือยสำหรับแขวนสิ่งของ ไม้รูปงาช้าง เตียง ตั่ง เก้าอี้ ฟูก หมอน และสามารถถมพื้นให้สูงขึ้นได้หากมีน้ำท่วมเข้ามาในวิหาร

Author Biography

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

3 สิงหาคม 2518

References

บุญสืบ อินสาร. (2555). พจนานุกรมบาลี-ไทย ธรรมบท ภาค 1-4. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

พระคัมภีร์ถูปวงศ์ ตำนานว่าด้วยการสร้างพระสถูปเจดีย์. (2511). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

พระพุทธโฆสาจารย์. (2547). จตุตถสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย จุลวรรค วรรณนา. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาไพบูลย์ วิปุโล (เลิศฤทธิ์ธนะกุล). (2551). การศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับเสนาสนะในพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 : เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2538). พุทธประวัติ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2525). ไตรภุมภ์ (ไตรภูมิฉบับลานนา). เชียงใหม่: หน่วยส่งเสริมศิลปศึกษาและวัฒนธรรมลานนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2022