ภาพเหมือน พระถังซัมจั๋ง ที่เก่าแก่ที่สุด?: การระบุอัตลักษณ์ภาพเหมือนแบบ ‘จีน’ ในติรุ ปารเมศวรา วินนาคาราม
คำสำคัญ:
มหาวิหารติรุ ปารเมศวรา วินนาคาราม, นักเดินทางชาวจีน, พระถังซัมจั๋ง, นักการทูตวังซวนบทคัดย่อ
มหาวิหารติรุ ปารเมศวรา วินนาคาราม หรือ วัดไวกุนตาเปรูมาล ตั้งอยู่ ณ เมืองกาญจีปุรัม รัฐทมิฬนาฑู ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ณ วัดแห่งนี้มีงานสลักนูนต่ำอันวิจิตรงดงามบริเวณกำแพงด้านหน้าทางเข้าของวัด งานสลักบางชิ้นของวัดแห่งนี้นับว่ามีความพิเศษตระการตาและหาชมได้ยาก กล่าวคือ ภาพสลักนูนต่ำรูปคนที่มีรูปลักษณ์เหมือนชาวเอเชียตะวันออก ภาพชาวเอเชียตะวันออกที่เรียงรายหลากสีสัน ทั้งหลายเหล่านี้ชวนสะดุดตาเป็นอย่างมาก การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาระหว่างประเทศอินเดียและประเทศจีนนั้นมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และเกิดการเปลี่ยนอย่างรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยราชวงศ์สุ่ยถึงราชวงศ์ถัง นักแสวงบุญชาวจีน เช่น พระสงฆ์ ถูกส่งไปยังอินเดียเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาและในทางกลับกัน พระและนักแสวงบุญชาวอินเดียจำนวนมหาศาลก็เดินทางมายังประเทศจีนเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้นในเขตกัญจิ พื้นที่ตั้งแห่งมหาวิหารนี้ในอดีตเป็นพื้นที่ท่าด่านที่สำคัญที่เชื่อมระหว่างประเทศอินเดียกับนานาประเทศ ดังนั้น จึงอนุมานได้ว่า งานสลักที่พบข้างต้นเป็นภาพเหมือนของนักเดินทางชาวจีนที่เดินทางไปแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและถูกวาดลงในงานศิลปะโบราณของอินเดีย อย่างไรก็ตาม หนึ่งคำถามที่เกิดขึ้น คือ ใครคือบุคคลในภาพ? ในบทความชิ้นนี้ ผู้เขียนพยายามจะระบุอัตลักษณ์บุคคลของชาวจีนในภาพวาดสำคัญสองชิ้นงานที่ถูกสลักในมหาวิหารติรุ ปารเมศวรา วินนาคารามตามลำดับ ได้แก่ พระถังซัมจั๋ง และ วังซวน นักการทูตจีนคนสำคัญ ตามลำดับ ทั้งสองถือเป็นสองบุคคลสำคัญที่เคยเดินทางไปเยือนประเทศอินเดียระหว่างช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยระบุอัตลักษณ์ผ่านร่องรอยข้อบ่งชี้และรายละเอียดสำคัญบางประการที่สามารถสังเกตเห็นได้
References
B.V., Ramanujam. (1973). History of Vaishnavism in South India Upto Ramanuja. Annamalai University.
Fan Ye, Houhan Shu 后汉书(Book of Later Han).
Feng Chengjun. (2015). Collection of Academic Works of Feng Chengjun’s. Shanghai Ancient Book Publishing House.
Li Ling. (2012). The Reading of the Image of Xuanzang-Particularly Focus on Related Tantric Elements. Palace Museum Journal.
Liang Qichao. (2009). 18 Papers of Buddhist Studies. Shanghai Ancient Book Publishing House.
Lin Meicun, Jin Wenjing, Chai Jianhong, Zhang Guangda, Rong Xinjiang, Zhao Feng, Qi Dongfang, Cai Hongsheng and Cui Wei. (2019). Western Regions: The Transit Station of the Exchange of Chinese and Foreign Civilization . A City University of HK Press.
Matsumoto Eiichi. (1985). The Study of Paintings of Dunhuang (Volume of Iconography, Chapter 4), Dohosha Printhing. (1985). (or Chinese version see Zhejiang University Press, 2019).
New Book of Tang 新唐书, compiled by Ouyang Xiu, Song Qi, Fan Zhen and etc. in Northern
Song dynasty.
Old Book of Tang 旧唐书, compiled by Liu Xu and others from pp. 941-945.
Tansen Sen. (2003). Buddhism, Diplomacy, and Trade: The Realignment of Sino-Indian Relations, 600-1400, University of Hawaii Press.
Tucci, Giuseppe. (1988). Indo Tibetica, Vol. 1, Aditya Prakashan Publisher.
Wang Jingfen or Wong Dorothy C. (2020). The Making of a Saint: Images of Xuanzang in East Asia, History·Early Medieval China.
Wang Huimin. (1995). New Exploration on the Itinerant Images of Dunhuang. Chinese Culture Quarterly.
Xuanzang, Da-Tang Xi-yu Ji 大唐西域记 (Great Tang Records on the Western Regions), Tang dynasty.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารปณิธาน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th