องค์ประกอบเชิงวัฒนธรรมของอินเดียต่อการประกอบสร้างเทศกาลอุลลัมพนา
คำสำคัญ:
เทศกาลอุลลัมพนา, คณะสงฆ์, องค์ประกอบเชิงวัฒนธรรมของอินเดีย, การประกอบสร้างความเป็นจีนบทคัดย่อ
เทศกาลอุลลัมพนา (วันแห่งความปีติยินดีของ/แด่พุทธะ) หรือที่รู้จักในชื่อ อวี๋หลันเผินจิง หรือ จงหยวนจิง ในภาษาจีน ตรงกับวันสุดท้าย (วันที่ 15 กรกฎาคม ตามปฏิทินจันทรคติจีน) ของช่วงฤดูฝนเป็นเวลาสามเดือนของคณะสงฆ์ (ในช่วงพ้นฤดูร้อนหรือช่วงฤดูฝน) เทศกาลดังกล่าวเปี่ยมล้นไปด้วยกุศลบุญซึ่งจัดขึ้นโดยอำนวยความสะดวกให้กับคณะสงฆ์ สำหรับประกอบพิธีกรรมและที่เป็นไปโดยปราศจากอุปสรรค การประกอบพิธีกรรมทำขึ้นเพื่อชุบชูช่วยเหลือดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงบิดามารดาและวงศ์วานเครือญาติให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ลักษณะอันโดดเด่นและแตกต่างของพระพุทธศาสนาในประเทศจีนเป็นผลมาจากการแผ่ซึมและการผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างพระพุทธศาสนาและคุณลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมจีนที่ยังคงดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน การผสานกันในเทศกาลอุลลัมพนาของพระพุทธศาสนาในประเทศจีน นับเป็นตัวอย่างสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงการประสานเป็นหนึ่งเดียวอย่างสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ของสองอารยธรรมเก่าแก่โบราณที่สำคัญของโลก จะสังเกตเห็นว่า ในบางครั้ง นักวิชาการหลายท่านให้ความสนใจที่จะศึกษาเทศกาลอุลลัมพนา นับตั้งแต่ อุลลัมพนสูตรที่เริ่มต้นเดินทางจากประเทศอินเดียแผ่เข้าสู่ประเทศจีน บทความนี้มุ่งศึกษาองค์ประกอบเชิงวัฒนธรรมของอินเดียต่อการประกอบสร้างเทศกาลอุลลัมพนา ในกรณีศึกษาเพิ่มเติมเพื่อสำรวจการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเทศกาลอุลลัมพนาในประเทศจีน โดยศึกษาจากแหล่งข้อมูลชั้นปฐมภูมิที่สามารถสืบค้นได้ การประกอบสร้างความเป็นจีน ความเป็นจีนในการตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเทศกาล สามารถกล่าวได้ว่ามีอิทธิพลหรือส่งผลไม่มากก็น้อยต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของพระพุทธศาสนาในประเทศจีน
References
Akamatsu Kosyo. (2000). The Research on Ullambana. Research Bulletin of Takamatsu University, 33, 1-11.
Bühler, G. (2006). Laws of Manu: The Sacred Bookes of the East. (ed. by F. Max Müller). New Delhi: Motilal Banarsidass Publishing House.
Fan, Jun. (2006). The Religious Origin and Development of Ullambana. Journal of Huaqiao University, 3,70 – 80.
Hong-yi. (2010). Lu-xue yao-lue (Synopsis of Buddhist Laws) is collected in Completed Works of Hong-yi. Fu-zhou: Fu-jian People Publisher.
Liang, Qi-chao. (1995). Fo-xue shi-dai (Times of Buddhism). collected in Collection of Liang Qi-chao. Beijing: China Social Sciences Publishing House.
Makita, Tairyo. (1976). Buddhist Apocryphal Literature. The Kyoto University: Research Centre for the Cultural Sciences.
Taishō Tripiṭaka, from https://www.cbeta.org/
Wei-hang. (1976). Zhong-guo jie-lun hong-chuan gai-yao (Summarization on Literatures of Chinese Buddhist Laws), collected in Summarization on Founding and Developing of The Vinaya School, Modern Buddhism Academic Collections, Taipei: Mahāyāna Culture Publisher.
Xie Wanruo. (2004). The Secularization of Ullambana Festival in China, Journal of Zhuzhou Teachers College, 6, 77-80.
Xuan-zang. (1985). Da-Tang-Xi-Yu Ji (Great Tang Records on the Western Regions). 646 CE. translated by Ji Xianlin, Shaan’xi: Shaan’xi Publishing House.
Xuan-zang. (2004). Si-Yu-Ki: Buddhist Records of the Western World. translated by Samuel Beal, New Delhi: Munshiram Manoharlal Publishers Pvt. Ltd.
Yi-jing, (I-Tsing). (2004). A Record of the Buddhist Religion as Practiced in India and the Malay Archipelago (C.E. 671-695). translated by Takakusu, New Delhi: Munshiram Manoharlal Publishers Pvt. Ltd.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารปณิธาน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th