เป้าประสงค์ของดนตรีในทัศนะของโชเปนฮาวเออร์และเวทานตะ

ผู้แต่ง

  • ศิริพันธ์ โสภารัตนากุล ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปิยะมาศ ใจไฝ่ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ

          ‘เป้าประสงค์ของดนตรีในทัศนะของโชเปนฮาวเออร์และเวทานตะ’ เป็นงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องดนตรีในทัศนะของโชเปนฮาวเออร์และเวทานตะ และเพื่อวิเคราะห์เป้าประสงค์ของดนตรีในทัศนะของโชเปนฮาวเออร์และเวทานตะ โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงเอกสารจากหนังสือ บทความ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดทางปรัชญาและแนวคิดทางดนตรีของระบบปรัชญาทั้ง 2 พบว่า ระบบปรัชญาของโชเปนฮาวเออร์และเวทานตะมีทัศนะร่วมที่มองว่าดนตรีมีความเชื่อมโยงต่อความจริงเชิงอภิปรัชญา โดยดนตรีในทัศนะของโชเปนฮาวเออร์มีลักษณะเป็นดนตรีบรรเลงที่สามารถสะท้อนธรรมชาติของเจตจำนงได้ด้วยตัวของมันเอง ในขณะที่ดนตรีของปรัชญาเวทานตะนั้นมีลักษณะเช่นเดียวกับพรหมที่ก่อให้เกิดโลกและสรรพสิ่ง ดนตรีในทัศนะของโชเปนฮาวเออร์และเวทานตะจึงสอดคล้องกันในแง่ของการมีเป้าประสงค์ 2 ระดับ ได้แก่ เป้าประสงค์ในตัวเอง คือการเป็นกระจกสะท้อนลักษณะหรือธรรมชาติของความจริงสูงสุด และเป้าประสงค์นอกตัวเอง คือการเป็นเครื่องมือในการนำผู้ฟังเข้าสู่สภาวะจิตที่เป็นสมาธิ ผ่านกระบวนการของสุนทรียปัสนาการ (aesthetic contemplation) และศานติรส (santarasa) เพื่อเข้าถึงความจริงสูงสุดโดยปราศจากสำนึกแห่งตัวตน

 

 

References

คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง. (2563). เต้นรำกับพระเจ้าด้วยความรัก วิถีแห่งเพลงดนตรี เพื่อเข้าถึงลีลาของพระเจ้าในศาสนาฮินดู. สืบค้น วันที่ 8 สิงหาคม 2565, จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_350345

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2548). ดนตรีอินเดีย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พีรพล อิศรภักดี. (ม.ป.ป.). อารยธรรมอินเดีย. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไพฑูรย์ พัฒน์ใหญ่ยิ่ง. (2530). ความคิดสำคัญในปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.

ภารตมุนี. (2541). นาฏยศาสตร์. (ประสิทธิ์ แสงทับ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

เมินรัตน์ นวะบุศย์. (2536). ดุรียศาสตร์: การประเมินคุณค่าตามทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ของโชเปนฮาวเออร์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

รุ่งเรือง บุญโญรส. (ม.ป.ป.). อุปนิษัท. เชียงใหม่: พุทธนิคม.

สุนทร ณ รังสี. (2545). ปรัชญาอินเดีย: ประวัติและลัทธิ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมัคร บุราวาศ. (2563). วิชาปรัชญา. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

Beck, Guy L. (2013). Sonic Liturgy Ritual and Music in Hindu Tradition. South Carolina: The University of South Carolina Press.

Costanzo, Jason M. (2020). Schopenhauer on Intuition and Proof in Mathematics. In Language, Logic, and Mathematics in Schopenhauer. Birkhauser: Springer.

Irina, Mihaela. (2006). 19th Century Music Criticism and Aesthetics: Mutual Influences. Ontario: McMaster University.

Keating, Ross. (2008). Connecting Art with Spirituality within the Indian Aesthetics of Advaita Vedanta. Studies in Spirituality, 18, 25-37.

Prajnanananda, Swami. (1960). Historical Development of Indian Music. Calcutta: Firma K. L. Mukhopadhyay.

Schopenhauer, Arthur. (2010). The World as Will and Representation (Judith Norman, Alistair Welchman, and Christopher Janaway) (first edition). United Kingdom: Cambridge University Press.

Schopenhauer, Arthur. (2017). The World as Will and Idea, in The Collected Works of Arthur Schopenhauer, trans. R.B. Haldane and J. Kemp. East Sussex: Delphi Classics.

Schopenhauer, Arthur. (2017). On the Will in Nature, in The Collected Works of Arthur Schopenhauer, trans. Mme. Karl Hillebrand. East Sussex: Delphi Classics.

Tripurari, Swami B. V. (2011). Aesthetic Vedanta: The Sacred Path of Passionate Love. California: Mandala Publishing.

Zoller, Gunter. (2010) .“Schopenhauer,” in Music in German Philosophy: An Introduction, Stefan Lorenz Sorgner and Oliver Furbeth, editor . Chicago: The University of Chicago Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2022