บทบาทของปรัชญาในพลวัตสังคมไทย: กรณีวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงศีลธรรม ภายใต้วัฒนธรรมการเมืองไม่ร่วมสมัย

ผู้แต่ง

  • คมชาญ ศิริลักษณานุกุล มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์เชิงศีลธรรม, ปรัชญาสังคมไทย, ความไม่ร่วมสมัย, สังคมอุดมคติ

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพยายามอธิบายรูปแบบของความสัมพันธ์เชิงศีลธรรมในบริบทสังคมไทยเป็นสำคัญ ผ่านโลกทัศน์ทางความเชื่อที่ปรากฏให้เห็นในรูปแบบคตินิยมทางสังคม การเมือง วัฒนธรรม และศาสนา โดยใช้แนวคิดทางปรัชญาและมุมมองทางสังคมวิทยาเป็นเสมือนแว่นขยายเพื่อชี้ให้เห็นความเป็น     พหุวัฒนธรรมแบบไทย ที่มีภาพลักษณ์อันโดดเด่นในมิติของความเชื่อต่อสิ่งต่าง ๆ อย่างรัดกุม และเชื่อมโยงสอดคล้องกับบริบทของสังคมโดยรวมอย่างครอบคลุม กล่าวได้ว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่ประกอบด้วยรากฐานทางความเชื่อและกรอบศีลธรรมอย่างเข้มแข็ง ความเป็นพหุลักษณ์ทางวัฒนธรรมดังกล่าวฉายภาพความกลมกลืนระหว่างขนบนิยมดั้งเดิมและความเป็นคตินิยมใหม่ได้อย่างลงตัว โดยมีศาสนาเป็นเสาหลักอย่างสำคัญในการผูกโยงสำนึกเหล่านี้ให้ขับเคลื่อนไปในกระแสของพลวัตแห่งการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ในอีกแง่มุมหนึ่งความหลากหลายทางขนบดังกล่าวก็อาจนำมาซึ่งความขัดแย้งในประเด็นเสรีภาพและความเท่าเทียมกันของมนุษย์

References

หนังสือและตำรา (Books and textbooks)

กษิดิศ อนันทนาธร. บรรณาธิการ. (2558). ปณิธานอาจารย์ป๋วย ข้อเขียนคัดสรร ว่าด้วยการเมือง ศาสนธรรม และการพัฒนา. โครงการเตรียมงานรำลึก 100 ปีชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์.

ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2545). ญาณวิทยา (ทฤษฎีความรู้). (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เพลโต้. (2523). The republic. [อุตมรัฐ]. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รูเบ็น, ออสบอร์น. (2524). Marxism and Psycho-Analysis . [ลัทธิมาร์กซ์กับจิตวิเคราะห์]. สำนักพิมพ์วลี.

โรเบิร์ต, เอ อัฮ์ล และ เอ็ดเวิร์ด, อาร์ ทัฟท์. (2519). Size and Democracy. [หนังสือแปลชุดนวทัศน์ เล่มที่ 22 ขนาดและประชาธิปไตย]. แพร่พิทยา.

สมบัติ จันทรวงศ์. (2550). ประวัติปรัชญาการเมือง เล่มที่สอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

บทความและวารสาร (Articles and journals)

เฉลียว ฤกษ์รุจิพิมล. (2523). ตัวแบบของสังคมในการวิเคราะห์ทางสังคมวิทยา [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 10(8), 34-49.

ชัยชาญ ศรีหานู. (2562). บ่อเกิดและความสำคัญของศีลธรรมต่อมนุษย์และสังคม [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 33-42.

ชัยณรงค์ ศรีมันตะ. (2563). ธรรมชาติมนุษย์ในปรัชญาของโทมัส ฮอบส์ [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. วารสาร วิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(1), 48-72.

นิพาดา เทวกุล. ม.ล. (2548). การดำรงชีวิตอย่างแท้จริงตามทัศนะของไฮเดกเกอร์ [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์, 13, 101-113.

พระวันดี กนฺตวีโร (ปะวะเส), พระครูสุตธรรมาภรณ์ และจรัส ลิกา. (2560). ยูโทเปีย [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารธรรมทรรศน์, 17(1), 247-258.

ศิริพร มณีชูเกต. (2559). โลกทัศน์ของคนอินโดนีเซียจากภาษิต [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 4(2), 62-78.

งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research and Thesis)

ดนัย ปิยะวัฒนานันท์. (2534). แนวคิดทางสังคมแบบเอกซิสเตนเชียลลิสม์ ในทัศนะของฌอง-ปอล ชาร์ตร์. [สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์บัณฑิต], Silpakorn University Repository (SURE).

http://www.sure.su.ac.th:8080/xmlui/handle/123456789/2904

ศิริมาลย์ ศรีใส. (2541). การศึกษาเชิงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างศีลธรรมและกฎหมายในจริยศาสตร์ของค้านท์ [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต], National Research Council of Thailand (NRCT). https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/75640

สมสวัสดิ์ เตชพฤทธินันท์. (2553). ความรู้ ความเชื่อ และพฤติกรรมเรื่องกฎแห่งกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต] (สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ), National Institute of Development Administration (NIDA). http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/548

เอกสารอื่น ๆ (Other Information)

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2562). แนวคิดความมั่นคงทางภววิทยา: จุดกำเนิดและการประยุกต์ใช้. รายงานสืบเนื่องการสัมนาวิชาการเนื่องในโอกาสการสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 65, 11-25.

คำแหง วิสุทธางกูร. (ม.ป.ป.). ปรัชญาและแนวคิดของการดำเนินชีวิต. [เอกสารประกอบการสอน 000142 คุณค่าชีวิต หน่วยที่ 2]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2546). ประวัติศาสตร์และ “สัตสังคม” ของคาร์ล มาร์กซ์ ช่วงต้น: บทวิจารณ์อุกฤษ์ แพทย์น้อย [เอกสารโครงการมิตรปรัชญา: มิตรภาพท่ามกลางความแตกต่าง]. มหาวิทยาลัย- ธรรมศาสตร์.

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2559). บททดลองเสนอ “จิตินิยม-ประวัติศาสตร์” เรื่องเล่าเชิงลี้ลับกับอุดมคติ ของพุทธศาสนาแบบไทย ช่วงทศวรรษ 1960-1980. โครงการประชุมวิชาการประจำปี ด้านปรัชญา และศาสนา ในวาระ 50 ปี คณะอักษรศาสตร์ 25 ปี ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สืบแสง พรหมบุญ. (2555). รวมบทความทางประวัติศาสตร์ ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สืบแสง พรหมบุญ [อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรพศ ทวีศักดิ์. (2555, 24 มีนาคม). “ศีลธรรมแบบเห็นแก่ตัว” ในพุทธศาสนาแบบไทย ๆ . ประชาไท. https://prachatai.com/journal/2012/03/39798

สุรพศ ทวีศักดิ์. (2559, 18 พฤษภาคม). มายาคติของ “ศาสนา ศีลธรรม” แบบไทย. ประชาไท. https://prachatai.com/journal/2016/05/65841

สุรัช คมพจน์. (2559). ศาสนากับรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย. โครงการประชุมวิชาการประจำปีด้านปรัชญาและศาสนา ในวาระ 50 ปี คณะอักษรศาสตร์ 25 ปี ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. (2561, 14 เมษายน). ปรัชญาในสังคมไทย. ปรัชญาภาษา: รวมความคิดเกี่ยวกับ ภาษาและความหมาย. https://shorturl.asia/wFRrs

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023