การ ศึกษาศาสนสถานจีนในจังหวัดเชียงใหม่: กรณีศึกษามูลนิธิกวนอิมธรรมทาน

ผู้แต่ง

  • จิรัชญาณ์ เตชะวีรภัทร
  • KORAWAN PHROMYAEM korawanp
  • วศิน ศาตพรวรชิต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ศาสนสถานจีน, โรงเจ, ศาลเจ้าจีน, มูลนิธิกวนอิมธรรมทาน, จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติ พิธีกรรมของมูลนิธิกวนอิมธรรมทาน และความเชื่อของสาธุชนที่มีต่อมูลนิธิกวนอิมธรรมทาน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บข้อมูลจากเอกสาร ข้อมูลภาคสนามเพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ศึกษาการประกอบพิธีกรรมของมูลนิธิฯ และเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์คณะกรรมการมูลนิธิฯ ตลอดจนสาธุชนที่เข้ามาสักการะ โดยวิเคราะห์ความเชื่อตามทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ของ Malinowski ผลการวิจัยพบว่าในอดีตมูลนิธิฯ เคยเป็นศาสนสถานรูปแบบพระอารามจีนก่อนจะเปลี่ยนมาดำเนินการบริหารในรูปแบบมูลนิธิ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหาร แต่ก็ยังมีการประกอบพิธีกรรม เช่น พิธีสวดมนต์ในวันสำคัญทางศาสนาเป็นประจำ การเปิดโรงทานให้สาธุชนทุกคนร่วมกันรับประทานอาหารเจ สาธุชนยังคงเห็นถึงความสำคัญของมูลนิธิฯ ในการเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจและยังคงศรัทธาต่อมูลนิธิฯ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามูลนิธิฯ ได้ทำหน้าที่ของวัฒนธรรมในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในการจัดการกับความรู้สึกทางจิตใจ ทำให้รู้สึกปลอดภัย และยังเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความสามัคคีของสมาชิกในสังคม

References

กฤษฎา แก้วเกลี้ยง. (2555). ความเป็นท้องถิ่นกับวัฒนธรรมจีนที่เข้ามาในสังคมไทย. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 30(2), 29-57.

ชลธิชา นิสัยสัตย์ และ วัชรี ปั้นนิยม. (2563). ศึกษาเกี่ยวกับกับลักษณะเด่นและพลวัติของเทศกาลกินเจ ในโรงเจบ้านหมู่ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(1), 73-97.

พรพิมล ศรีธเรศ. (2560). ได้ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศาลเจ้าและโรงเจในจังหวัดอุบลราชธานี โดยนำ ข้อมูลที่ศึกษามาใช้เพื่อต่อยอดพัฒนาทรัพยากรท่องเที่ยวของจังหวัด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 230-243.

ภิญโญ ภู่เทศ. (2562). ดนตรีในวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์จีนจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(2), 105-115.

มุจลินทร์ เพ็ชรรุ่ง. (2553). การศึกษาบทบาทของชาวจีนใน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในสมัยรัตนโกสินทร์ [ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2556). การสำรวจศาสนสถานจีนในเขตจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(1), 117-147.

ยศ สันตสมบัติ. (2556). มนุษย์กับวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2556. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สุภาภรณ์ แซ่ลิ้ม และ ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2560). การดํารงอยู่ การปรับตัว และการสืบทอดของศาลเจ้าจีนกวนอิมปุดจ้อในบ้านควนงาช้าง ตําบลบางดี อําเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(2), 15-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023