ความ เสื่อมถอยของจิตวิญญาณในทัศนะมาร์คุส ออเรลิอุส ในวรรณกรรมของออสการ์ ไวลด์

ผู้แต่ง

  • Adisak Puma - philosophy
  • สมหวัง แก้วสุฟอง ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

มาร์คุส ออเรลิอุส, ออสการ์ ไวลด์, จิตวิญญาณ, บริโภคนิยม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือ การวิเคราะห์ความเสื่อมถอยของจิตวิญญาณในทัศนะมาร์คุส ออเรลิอุส ในวรรณกรรมของออสการ์ ไวลด์ ความเสื่อมถอยของจิตวิญญาณในทัศนะของมาร์คุส ออเรลิอุส หมายถึงความเสื่อมถอยหรือความเสื่อมสภาพทางศีลธรรม ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเชิงลบภายใน หรืออิทธิพลจากเหตุการณ์ภายนอก ที่ทำให้สูญเสียค่านิยมและหลักการที่แท้จริงไป ซึ่งจะนำมาสู่ชีวิตที่ไม่กลมกลืน

ความเสื่อมถอยของจิตวิญญาณปรากฏได้ในหลายวิธี เมื่อเรายอมจำนนต่ออารมณ์ลบ เช่น ความโลภ ความโกรธ ความกลัว หรือความอิจฉา ซึ่งจะทำให้จิตใจขุ่นมัวและขัดขวางการคิดอย่างมีเหตุผล หรือเกิดขึ้นจากการที่คนเรามีพฤติกรรมในทางที่เลวร้าย เช่นวิถีสุขนิยม บริโภคนิยม การกระทำที่ตอบสนองความพึงพอใจหรือตัณหามากจนเกินไป หรือการกระทำที่ผิดศีลธรรม ไม่ยุติธรรม ไม่ซื่อสัตย์ มุ่งร้ายต่อผู้อื่น นอกจากนี้ความเสื่อมถอยของจิตวิญญาณ เกิดจากเหตุการณ์ภายนอกได้เช่นกัน เช่นสังคมวัตถุนิยม ทำให้คนเราเกิดความโลภและการยึดติดกับวัตถุภายนอก ไม่รู้จักยับยั้งควบคุมตนเอง การใช้ชีวิตอย่างไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่สอดคล้องกับคุณธรรมและหลักเหตุผล โดยอิทธิพลเหล่านี้จะทำให้คนเราไขว้เขวไปจากค่านิยมและหลักการที่แท้จริง คือสูญเสียศีลธรรมและเหตุผล ทำให้จิตวิญญาณเสื่อมถอยลง นำไปสู่ความวุ่นวายภายใน ความไม่พึงพอใจกับตนเอง จนกระทั่งสูญเสียความกลมกลืนกับระเบียบชีวิตและธรรมชาติในที่สุด 

เพื่อป้องกันความเสื่อมถอยของจิตวิญญาณ มาร์คุสเสนอให้ปลูกฝังคุณธรรม คือปัญญา ความกล้าหาญ ความยุติธรรม และการควบคุมตนเอง โดยปรับการกระทำให้สอดคล้องกับเหตุผลและคุณธรรมอย่างสม่ำเสมอ ไม่ยอมจำนนต่ออารมณ์โลภ โกรธ กลัว หรืออิจฉา และไม่ยึดติดกับสิ่งภายนอก เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ภายนอกเข้ามามีอิทธิพลหรือส่งผลกระทบต่อสภาวะภายในหรือจิตวิญญาณ

References

ภาษาไทย

ออเรลิอุส, มาร์คุส. (2558). Meditations [เมื่อจักรพรรดิพินิจชีวิต] (ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย, ผู้แปล; พิมพ์ครั้ง ที่ 1). สำนักพิมพ์โอ้มายก้อด.

ไวลด์ ออสการ์. (2009). The Picture of Dorian Gray [ภาพวาดโดเรียน เกรย์] (กิตติวรรณ ซิมตระการ ผู้แปล; พิมพ์ครั้งที่ 3). ฟรีฟอร์มสำนักพิมพ์.

แฮรารี, ยูวัล โนอาห์. (2561). Sapiens [เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ] (นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้แปล; พิมพ์ ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์ยิปยี.

เลียวนาร์ด, แอนนี่. (2555). The Story of Stuff [เรื่องเล่าของข้าวของ] (พลอยแสง เอกญาติ ผู้แปล; พิมพ์ ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์มติชน.

ภาษาอังกฤษ

Aurelius, Marcus. (2002). Meditations (1st ed.). Modern library.

Aurelius, Marcus. (2020). Meditations (1st ed.). Harper Collins Publishers.

Epictetus. (2008). Discourses and Selected Writings (2nd ed.). Penguin Classics.

Hadot, Pierre. (2001). The Inner Citadel: The Meditations of Marcus Aurelius (1st ed.). Harvard University Press.

Hartpole, Edward William Lecky. (1955). History of European Morals: From Augustus to Charlemagne (1st ed.). George Braziller.

Irvine, William B. (2009). A Guide to the Good Life: The Ancient Art of Stoic Joy (1st ed.). Oxford University Press.

Oates, Whitney J. (1940. The Stoic and Epicurean Philosophy: The Complete Extant Writing of Epicurus, Epictetus, Lucretius, Marcus Aurelius (1st ed.). Random House.

Reeve, C.D.C., Patrick Lee Miller. (2006). Introductory Reading in Ancient Greek and Roman Philosophy (1st ed.). Hackett Print.

Wilde, Oscar. (2000). The Picture of Dorian Gray (Limited ed.). Wordsworth.

Wilde, Oscar. (2000). The Plays of Oscar Wilde (Limited ed.). Wordsworth.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024