ภาษา วัตถุ และวิวัฒนาการ

ข้อเสนอของเจิ่นดึ๊กถ่าวต่อปัญหาเรื่อง ความหมายของคำ

ผู้แต่ง

  • Garn Poonsiri -

คำสำคัญ:

ปรัชญาภาษา, ความหมาย, วิวัฒนาการ, เจิ่นดึ๊กถ่าว, วัตถุนิยมวิภาษวิธี

บทคัดย่อ

บทความนี้สำรวจปัญหาเรื่องความหมายของคำ ข้อขัดแย้งสำคัญที่ปรากฏในปัญหาดังกล่าวคือความหมายขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างคำกับวัตถุ หรือความสัมพันธ์ระหว่างคำกับความคิดของผู้ใช้ภาษา ดังปรากฏเป็นทรรศนะคู่ตรงข้ามระหว่างธรรมชาตินิยมและธรรมเนียมนิยมตามลำดับ และได้ตั้งข้อสังเกตต่อแนวโน้มของข้อเสนอที่เอนเอียงไปทางทรรศนะธรรมเนียมนิยมมากขึ้น ส่งผลให้ภาษาถูกพิจารณาว่ามีความสัมพันธ์กับโลกภายนอกความคิดน้อยลงและทำให้เกิดปัญหาทางญาณวิทยา จากนั้น บทความนำเสนอแนวคิดรากเหง้าภาษาของเจิ่นดึ๊กถ่าวว่าการเกิดขึ้นของภาษาเป็นวิวัฒนาการของพฤติกรรมการสื่อสารสืบเนื่องจากพฤติกรรมการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อมของการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไปตามวิภาษวิธีเชิงวัตถุ การเกิดขึ้นของภาษาจึงถือเป็นกระบวนการเชิงวัตถุที่ไม่ขึ้นอยู่กับความคิด นอกจากนี้ถ่าวยังกล่าวถึงวิวัฒนาการของความหมายที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของมนุษย์และโลกวัตถุเสมอ ข้อเสนอของถ่าวจึงถือเป็นท่าทีแบบ “องค์รวม” ที่แสดงให้เห็นพลวัตระหว่างภาษา ความคิด และโลกวัตถุ ซึ่งสามารถใช้เป็นกรอบในการประนีประนอมข้อขัดแย้งในปัญหาเรื่องความหมายของคำได้

References

เอกสารภาษาอังกฤษ

Bowie, A. (2010). German Philosophy: A Very Short Introduction. New York: Oxford

University Press.

Carson, S. (2003). Aristotle on Meaning and Reference. History of Philosophy

Quarterly, 20(4), 319-337. University of Illinois Press.

https://www.jstor.org/stable/27744964

D’Alonzo, J. (2018). Tran-Duc-Thao and the language of real life. Language Sciences.

Elsevier Ltd. https://doi.org/10.1016/j.langsci.2018.06.007

Harris, R., Taylor, T.J. (1997). Landmark in linguistic thought I: The Western Tradition

from Socrates to Saussure (2nd ed.). London: Routledge

Kenny, A. (2005). Medieval Philosophy: A New History of Western Philosophy,

Volume II. New York: Oxford University Press

Modrak, D. K. W. (2001). Aristotle’s Theory of Language and Meaning.

Cambridge: Cambridge University Press.

Morris, M. (2007). An Introduction to the Philosophy of Language. New York:

Cambridge University Press.

Thao, T.D. (1984). Investigation into the origin of language and consciousness

[Recherche sur l’origine du langage et de la conscience]

(D. J. Herman, R. L. Armstrong, trans.). Holland: D. Reidel Publishing Company.

(Original work published 1973)

Thao, T.D. (1986). Phenomenology and Dialectical Materialism [Phénoménologie et

matérialisme dialectique] (D. J. Herman, D. V. Morano, Trans.).

Holland: D. Reidel Publishing Company. (Original work published 1951)

Wood, A. W. (2005). dialectical materialism. In Honderich, T. (Ed.), The Oxford

Companion to Philosophy (2nd ed.) (pp. 212-213). New York: Oxford

University Press.

Woolhouse, R. S. (2005). Locke, John. In Honderich, T. (Ed.), The Oxford Companion

to Philosophy (2nd ed.) (pp. 525-529). New York: Oxford University Press.

เอกสารภาษาฝรั่งเศส

Le Robert. (2011). Le Robert de Poche Plus 2012. Paris: Le Robert-Sejer.

Thao, T. D. (1974). De la phénoménologie à la dialectique matérialiste de la

conscience I. La Nouvelle Critique, 79-80, 37-24.

http://www.viet-studies.net/TDThao/TDThao_NouvelleCritique.htm

Thao, T. D. (1975). De la phénoménologie à la dialectique matérialiste de la

conscience II. La Nouvelle Critique, 86, 23-29.

http://www.viet-studies.net/TDThao/TDThao_NouvelleCritique.htm

เอกสารภาษาไทย

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2556). ภาษากับการเมือง/ความเป็นการเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 2).

โครงการตำราและสิ่งพิมพ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรัช คมพจน์. (2561). ทางตันของปรากฏการณ์วิทยาและทางออกโดยวัตถุนิยมวิภาษวิธี: วิธีการทาง

ปรัชญาของเจิ่นดึ๊กถ่าว ใน ทวีศักดิ์ เผือกสม (บ.ก.). ปัญญาชน ศีลธรรม และสภาวะ

สมัยใหม่: เสียงของมนุษยศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (น. 425-458). สยามปริทัศน์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024