การ ตีความว่าด้วยระยะห่างและการครอบครองตามแนวทฤษฎีของปอล ริเกอร์

ผู้แต่ง

  • KANYAPAK MAGEE Kasetsart University

คำสำคัญ:

การตีความ, ระยะห่าง, การครอบครอง, ปอล ริเกอร์ เฮอร์เมนูติกส์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการตีความตามทัศนะปอล ริเกอร์ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดว่าด้วยระยะห่าง (Distanciation) และการครอบครอง (Appropriation) ตามแนวคิดของปอล ริเกอร์ จากผลการวิจัยพบว่า การตีความตามทัศนะปอล ริเกอร์ เป็นกระบวนการมีปฏิสัมพันธ์เชิงสหอัตวิสัยความเข้าใจ (Intersubjective) ระหว่างตัวบท (Text) และผู้ตีความ (Interpreter) โดยการพิจารณาทั้งสองทิศทางกล่าวคือ เริ่มจากความเข้าใจนำไปสู่การอธิบาย (Explanation to Understanding) และจากการอธิบายไปสู่ความเข้าใจ (Explanation to Understanding) ในกระบวนการดังกล่าว ระยะห่าง (Distanciation) ก่อให้เกิดความเข้าใจสองระดับได้แก่ ความเข้าใจระดับแรก เป็นความเข้าใจความหมายของตัวบทโดยรวมอย่างไร้เดียงสา (Naïve Understanding) จากนั้นผู้ตีความนำความเข้าใจเบื้องต้นนี้มาอธิบายและตีความ จนเกิดความเข้าใจในระดับที่สอง เป็นความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้น ซึ่งสนับสนุนโดยขั้นตอนการอธิบาย ความเข้าใจในระยะนี้เป็นไปตามมโนทัศน์ว่าด้วยการครอบครอง (Concept of Appropriation) ซึ่งสอดคล้องกับประเภทของระยะห่าง ที่เชื่อมโยงกับการทำให้ตัวบทกลายเป็นปรวิสัยโดยสมบูรณ์ การอธิบาย จึงปรากฏเป็นสื่อกลางระหว่างความเข้าใจทั้งสองระดับและเป็นระยะที่ริเกอร์เพิ่มเสริมให้การตีความแข็งแกร่งขึ้นเพื่อบูรณาการทัศนคติที่ไม่เห็นด้วยหรือที่ตรงข้าม การอธิบายและการตีความ (Explanation and Interpretation) เป็นกระบวนการที่หมุนวนไปตามส่วนขอบโค้งเฉพาะตัว (Unique Hermeneutical Arc) แสดงให้เห็นถึงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวบทหรือโลกของตัวบท (World of Text) และผู้ตีความหรือโลกที่ดำรงอยู่ของผู้ตีความ (World of Interpreter) ตามบระยะของการเคลื่อนจากความเข้าใจในเบื้องต้นสู่การเข้าใจตัวเองใหม่ (New Self-Understanding)

References

Gadamer, H. (1989). Truth and Method (2nd ed.) (Trans J. Weinsheimer and D. G. Marshall). New York : Continuum.

Grondin, J. 1994. Introduction to Philosophy Hermeneutics. USA: Yale University Press.

Palmer, R. 1969. Hermeneutics: Interpretation Theory in Schleiermacher, Dilthey, Heidegger, and Gadamer. Evanston, IL: Northwestern University Press.

Ricœur, P. (1976). Interpretation Theory: Discourse and the Surplus of Meaning. Fort Worth: Texas Christian University Press.

__________ (2016). Hermeneutics and the Human Sciences: Essays on Language, Action and Interpretation, ed. and trans. John B. Thompson. Cambridge: Cambridge University Press.

Scholtz,G. (2015). Ast and Schleiermacher : hermeneutics and critical philosophy. In Jeff Malpas & Hans-Helmuth Gander (Eds.) (pp. 62-73) : New York : Routledge.

Thompson, J. B. (2016). Hermeneutics and the Human Sciences: Essays on Language, Action and Interpretation. Cambridge: Cambridge University Press.

Thiselton, Anthony C. (1992). New Horizon in Hermeneutics : The Theory and Practics of Transforming Biblical Reading. Michigan : Wm. B. Eerdmans Publishing.

________________. (2009). Hermeneutics : An Introduction. Michigan : Wm. B. Eerdmans Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024