มนุษย์ในโลกเทคโนโลยี

ทัศนะความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นกลางจากมุมมองหลังปรากฏการณ์วิทยาของ Don Ihde

ผู้แต่ง

  • ปิยบุตร สุเมตติกุล -

คำสำคัญ:

ปรัชญาเทคโนโลยี, ความเป็นกลางทางเทคโนโลยี, หลังปรากฏการณ์วิทยา, Don Ihde

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยีผ่านประเด็นปัญหาความเป็นกลางทางเทคโนโลยี โดยพิจารณาว่าเทคโนโลยีมีคุณค่าในตัวเองหรือไม่ หรือมีสถานะเป็นกลางที่มีมนุษย์เป็นผู้กำหนดคุณค่า บทความนำเสนอมุมมองของแนวคิดหลังปรากฏการณ์วิทยา ที่อธิบายลักษณะความสัมพันธ์ที่ไม่แยกขาดออกจากกันระหว่างมนุษย์ที่อยู่ร่วมกับเทคโนโลยี โดยมี Don Ihde เป็นนักปรัชญาหลักของแนวคิดนี้ ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีไม่สามารถเป็นกลางได้ เนื่องจากมันมีจุดประสงค์และคุณค่าแฝงอยู่ตั้งแต่การออกแบบ การใช้งานเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อการรับรู้และประสบการณ์ของมนุษย์ สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและสังคม ในข้อสรุปบทความนี้เสนอว่าการยอมรับความไม่เป็นกลางของเทคโนโลยีจะช่วยให้เราสามารถกำหนดแนวทางการอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้ในการออกแบบและการใช้เทคโนโลยีที่คำนึงถึงผลกระทบต่อมนุษย์และสังคมอย่างปลอดรอบด้าน

References

Ali, Rajab. (2009). Technological Neutrality. Lex Electronica, 14 (2), 1-15.

Gerard Delanty, Neal Harris. (2021). Critical Theory and the Question of Technology: The Frankfurt School Revisited. Thesis Eleven, 166(1), 88-108.

doi.org/10.1177/07255136211002

Hare, Stephanie. (2022). Technology Is Not Neutral: A Short Guide to Technology Ethics. London Publishing Partnership.

Heidegger, M. (1977). The Question Concerning Technology, and Other Essays. Garland Publishing, Inc.

Ihde, D. (1977). Experimental Phenomenology: An Introduction. Putnam.

Ihde, D. (1991). Instrumental Realism: The Interface Between Philosophy of Science and Philosophy of Technology. Indiana University Press.

Ihde, D. (1993). Philosophy of Technology: An Introduction (1st ed.). Paragon House.

Ihde, D. (2007). Listening and Voice: Phenomenologies of Sound (2nd ed.). State University of New York Press.

Ihde, D. (2009). Postphenomenology and Technoscience: The Peking University Lectures. SUNY Press.

Ihde, D. (2010). Heidegger’s Technologies: Postphenomenological Perspectives. Fordham University Press.

Ihde, D. (2012). Experimental Phenomenology, Second Edition: Multistabilities (2nd ed.). State University of New York Press.

Parens, Erik. (2014). Shaping Our Selves: On Technology, Flourishing, and a Habit of Thinking. Oxford University Press.

Selinger, E. (2006). Postphenomenology: A Critical Companion to Ihde. State University of New York Press.

Verbeek, P.-P. (2005). What Things Do: Philosophical Reflections on Technology, Agency, and Design. Penn State University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2024