ความงามของดนตรีในฐานะคุณสมบัติแบบอุบัติการณ์ใหม่

ผู้แต่ง

  • มนต์ณัฐ​ เ​ฮงภู่เจริญ​ -

คำสำคัญ:

คุณค่าทางสุนทรียภาพ, คุณค่าในดนตรี, การตัดสินทางสุนทรียภาพ, อุบัติการณ์ใหม่, สุนทรียศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ความงามในฐานะที่เป็นคุณค่าทางสุนทรียภาพของดนตรีนั้นมีแนวทางทฤษฎีที่อธิบายได้อย่างน้อยสองแนวทางที่แตกต่างกันคือจิตวิสัยนิยม และสัมบูรณนิยม อย่างไรก็ดี มีปัญหาทางสุนทรียศาสตร์ที่ทำให้เห็นว่ายังไม่ได้มีความเด็ดขาดที่จะพิจารณาว่าทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งจะมีความถูกต้องในทางเหตุผลมากกว่ากันเมื่อนำมาตัดสินคุณค่าความงามของดนตรี ทั้งนี้ ในทางวิชาการพบว่าการจะตัดสินคุณค่าของศิลปะชิ้นใดได้นั้นต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น ความรู้ ประสบการณ์ รวมทั้งค่านิยมของผู้ตัดสิน การจะตัดสินความงาม หรือคุณค่าทางสุนทรียภาพจึงไม่อาจใช้ทฤษฎีแบบจิตวิสัยนิยม หรือทฤษฎีแบบสัมบูรณนิยมเพียงทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งได้ เพราะแต่ละทฤษฎีต่างก็มีข้อจำกัดในการอธิบายถึงประเด็นดังกล่าว อันนำมาซึ่งปัญหาของความไม่สามาารถตัดสินได้ จากการศึกษา พบแนวเหตุผลของฝ่ายแนวทางทฤษฎีที่อธิบายความงามในฐานะคุณสมบัติแบบอุบัติการณ์ใหม่ ว่าสามารถมีแนวเหตุผลที่สนับสนุนด้วยกันได้ทั้งคู่ไม่ว่าจะเป็นแบบจิตวิสัยนิยมหรือสัมบูรณนิยม อีกทั้งยังอธิบายถึงที่มาของความไม่อาจตัดสินได้เด็ดขาดที่เป็นปัญหาข้างต้นได้อีกด้วย ผู้เขียนจึงนำเสนอความเป็นไปได้ของทฤษฎีอุบัติการณ์ใหม่นิยม เพื่ออธิบายเรื่องความงามในฐานะที่เป็นคุณค่าทางสุนทรียภาพของดนตรี

References

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2556). สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปะวิจารณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2).สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรูญ โกมุทรัตนานนท์. (2540). สุนทรียศาสตร์ ปัญหาเบื้องต้นในปรัชญาศิลปะและความงาม. เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

จรูญ โกมุทรัตนานนท์. (2547). สุนทรียศาสตร์: กรีก-ยุคฟื้นฟู. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรภรณ์ อังวิทยาธร. (2560). ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ. สืบค้นจาก

https://pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0395.pdf

ฉลองชัย โฉมทอง และ กิติมา ทวนน้อย. (2561). กาลเวลากับการพิสูจน์คุณค่าทางดนตรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1). 231-257. สืบค้นจาก

https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/869

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2548). สังคีตนิยม: ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตอลสตอย, ลีโอ. (2554). ศิลปะคืออะไร. แปลจาก What Is Art?. แปลโดย สิทธิชัย แสงกระจ่าง. โอเพ่นบุ๊คส์.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2537). เวนิสวาณิช. สำนักพิมพ์บรรณกิจ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2530). พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. เพื่อนพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). อักษรเจริญทัศน์.

ศรีนิวาสัน, จี. (2545). สุนทรียศาสตร์ ปัญหาและทฤษฎีเกี่ยวกับความงามและศิลปะ. แปลจาก Problems of Aesthetics. แปลและเรียบเรียงโดย สุเชาวน์ พลอยชุม. โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Budd, Malcolm. (1995). Value of Art: Painting, Poetry, and Music. Penguin.

Goldman, Alan. (1992). The Value of Music. The Journal of Aesthetics and Art Criticism, 50(1). 35-44.

doi.org/10.2307/431065

Kania, Andrew. (2023). The Philosophy of Music. Stanford Encyclopedia of Philosophy. Retrieved from

http://plato.stanford.edu/entries/music/

Kant, Immanuel. (2007). Critique of Judgment. Translated by John H. Bernard. Cosimo.

Miller, M., Beach, V., Mangano, C., and Vogel, R. A. (2008). Abstract 5132: Positive Emotions and the Endothelium: Does Joyful Music Improve Vascular Health?. Circulation, 118, (Supplement 18).

doi.org/10.1161/circ.118.suppl_18.S_1148-a

Press Office- University of Barcelona. (2023, April 12th). Listening to Music During Pregnancy Benefits Baby Brain’s Ability to Encode Speech Sounds. Retrieved from

https://neurosciencenews.com/pregnancy-music-speech-22997/

Shakespeare, William. (1911). The Merchant of Venice. American Book Company.

Winner, Ellen. (1982). Invented Worlds: The Psychology of the Arts. Havard University Press.

Young, James. (2009). Relativism, Standards and Aesthetic Judgements. International Journal of Philosophical Studies, 17(2), 221-231.

doi.org/10.1080/09672550902794439

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2024