พิธีกวนข้าวทิพย์ วัดดอนไฟ ตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

การศึกษาตามแนวคิดชาติพันธุ์วรรณาแห่งการสื่อสาร

ผู้แต่ง

  • ภคภต เทียมทัน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

พิธีกวนข้าวทิพย์, วัดดอนไฟ, ชาติพันธุ์วรรณาแห่งการสื่อสาร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พิธีกวนข้าวทิพย์ของวัดดอนไฟ ตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ซึ่งจัดขึ้นในวันแปดเป็งหรือวันวิสาขบูชาเป็นประจำทุกปี โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร เก็บข้อมูล ณ วัดดอนไฟ ดังกล่าว ด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ผู้ร่วมพิธีกรรม ผลการวิจัยพบว่า พิธีกวนข้าวทิพย์เป็นเหตุการณ์สื่อสารหนึ่งในสถานการณ์สื่อสารวันแปดเป็งหรือวันวิสาขบูชา พิธีกวนข้าวทิพย์เป็นพิธีกรรมทางศาสนา เป็นการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์สื่อสารพิธีพุทธาภิเษก โดยพิจารณาตามแนวคิด SPEAKING พบว่า พิธีกวนข้าวทิพย์มีองค์ประกอบที่หลากหลาย ได้แก่ มณฑลพิธีที่จัดสร้างขึ้นโดยใช้พื้นที่ภายนอกอุโบสถ แต่อยู่ในอาณาบริเวณของวัดดอนไฟ ตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีราชวัตรกั้นเป็นรั้วมณฑลพิธี มีมุมทั้งหมด 4 มุม มีช่องทางสำหรับเข้าและออกทั้งหมด 4 ทาง มีผู้ร่วมเหตุการณ์ ได้แก่ กลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มสาวพรหมจรรย์ผู้กวนข้าวทิพย์ กลุ่มชาวบ้านที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ในการดูแลพิธีกวนข้าวทิพย์ และกลุ่มชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาและประสงค์จะช่วยเหลือกิจงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพิธีกวนข้าวทิพย์ มีการลำดับวัจนกรรมโดยเริ่มจากการเตรียมการ การกวนข้าวทิพย์ การบรรจุภัณฑ์ และการถวาย ตามลำดับ มีการใช้ทั้งอวัจนภาษาและวัจนภาษา อีกทั้งยังมีการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กันภายใต้บรรยากาศของความสำรวมและความศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงภายใต้ความเคร่งครัดในข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาและตามที่ได้ประชุมตกลงกันไว้ เพื่อให้ได้ข้าวทิพย์ที่ได้จากการกวนของสาวพรหมจรรย์ สำหรับนำขึ้นไปถวายแก่พระรัตนตรัยในอุโบสถ จากนั้นจึงเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้บูชาข้าวทิพย์รวมถึงสิ่งประกอบพิธีต่าง ๆ กลับบ้านตามจิตศรัทธา นอกจากนี้ พิธีกวนข้าวทิพย์ของวัดดอนไฟ ตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ยังสามารถพิจารณาคุณค่าได้ 3 ด้าน ได้แก่ คุณค่าด้านสังคม คุณค่าด้านประเพณี และคุณค่าด้านเศรษฐกิจ

References

พระครูปทุมปริยัติการ (สนม รวิวณฺโณ). (2558). การศึกษาวิเคราะห์ประเพณีการถวายข้าวมธุปายาส: กรณีศึกษาอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 2(1). 127-134. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/247633

พระครูพิมลกิตติคุณ, พรหมเรศ แก้วโมลา, พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ และ สยาม ราชวัฒนะ. (2564). ศึกษาคติธรรมในประเพณีกวนข้าวทิพย์ของประชาชนในตำบล พญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารธรรมวิชญ์ (การประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ), 3(1). 235-246. สืบค้นจาก https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1041

พระสุนทรกิจโกศล (เสวย จันทรรัตน์) และ พระมหาณัฐพงษ์ ฐิตปญฺโญ. (2566). คุณค่าคติธรรมของพิธีการกวนข้าวทิพย์ในสังคมไทย. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 6(1). 1-8. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/polssru/article/view/265042

พระสุนทรกิจโกศล (เสวย จันทรรัตน์), พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, และ แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม. (2560). ศึกษาวิเคราะห์วิธีกวนข้าวทิพย์ของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ ปริทรรศน์, 6(2). 543-556. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/242196

วัลยา สุวรรณบัณฑิตย์. (2558). ประเพณีกวนข้าวมธุปายาส ภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช: กรณีศึกษาวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

สมเด็จพระพุฒาจารย์ พุทฺธสรมหาเถระ. (2500). ตำราดูลักษณะแมว กวนข้าวทิพย์ - พิธีพิรุณศาสตร์ของวัดอนงคาราม (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ พุทฺธสรมหาเถระ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 21 เมษายน 2500.). โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.

องค์การบริการส่วนตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. (2562). วัดบ้านดอนไฟ (จังหวัดลำปาง). สืบค้น จาก https://www.donfai.go.th/trv-otp-detail?id=149

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ภาษาศาสตร์สังคม (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2024