ความต้องการของประชาชนต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

Main Article Content

อิทธิชัย สีดำ

บทคัดย่อ

         การศึกษาวิจัยเรื่องความต้องการของประชาชนต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความต้องการของประชาชนต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับความต้องการของประชาชนต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา  กลุ่มตัวอย่างที่ในการศึกษาครั้งนี้ คือประชาชนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 374 คน ได้มาจากการหากลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane และใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test และ One-Way ANOVA จากการศึกษาพบว่า 1) ความต้องการของประชาชนต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลารวม ทุกด้านอยู่ในระดับสูง โดยด้านโครงสร้างพื้นฐานอยู่ในลำดับสูงสุด (x̄= 4.39, S.D.= .722) ด้านสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตอยู่ในลำดับที่สอง (x̄= 4.39, S.D.= .651) ด้านความมั่นคงและเสริมสร้างสันติสุขอยู่ในลำดับที่สาม (x̄= 4.36, S.D.= .775) ด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวอยู่ในลำดับที่สี่ (x̄= 4.33, S.D.= .722) ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนอยู่ในลำดับที่ห้า (x̄= 4.26, S.D.= .753) ด้านการบริหารจัดการที่ดีอยู่ในลำดับที่หก (x̄= 4.25, S.D.= .769) และด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ในลำดับสุดท้าย (x̄= 4.24, S.D.= .764) 2) 2) ประชาชนมีปัจจัยส่วนบุคคล อายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีความต้องการการบริการสาธารณะที่แตกต่างกัน และประชาชนมีปัจจัยส่วนบุคคล เพศ ที่แตกต่างกันมีความต้องการของการบริการสาธารณะที่ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการจัดบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพของเทศบาลเมืองสะเตงนอก คือ ควรลงพื้นที่สำรวจความเป็นอยู่ของประชาชนและช่วยเหลือประชาชนให้มากขึ้น, ทุกหน่วยงานในพื้นที่ต้องทำงานเป็นเครือข่ายเพื่อจัดบริการสาธารณะ และควรมีมาตรการช่วยเหลือผู้ว่างงานอย่างชัดเจน

Article Details

บท
Research Articles

References

Katz, E lihu and Brenda, Danet. (1973).Bureaucracy as a Problem for Sociology and Society. New York : Basic Books.

Likert, Scale. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York : Wiley & Son.

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd. New York : Harper and Row.

งานวิเคราะห์นโยบายและแผน. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลสะเตงนอก. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://shorturl.asia/VWhaw

ชวลิต สละ. (2556). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารงานงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2558). กฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2557). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทพิฆเนศพริ้นติ้งเซ็นเตอร์จำกัด.

ชูศักดิ์ เสโลห์. (2556). ความต้องการของประชาชนที่มีต่อการบริการสาธารณะในเขตเทศบาลตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย : สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฐิติรัตน์ อินต๊ะพิงค์. (2555). การรับรู้ต่ออำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่.การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นพวัลภ์ คงคาลิหมีน. (2555). ความต้องการของประชาชนต่อคุณลักษณะของผู้นำท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญา : สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2559). บริการสาธารณะในระบบกฎหมายปกครองของฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ :นิติธรรม.

พจนีย์ วงษ์แก้ว. (2553). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต) มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ภาวิกา เลาวัณย์ศิริ. (2547). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสำนักงานเทศบาลตำบลบ้านเหลื่อม อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระ. รัฐประศาสนศาตร์มหาบัณฑิต, สาขานโยบายสาธารณะ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มานิตย์ จุมปา. (2556). คำอธิบายกฎหมายปกครองว่าด้วยหลักทั่วไป. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันนี นนท์ศิร. (2554). การศึกษาความเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. นนทบุรี : บริษัท ออฟเซ็ทเพรส จำกัด.

อภิชาติ เชิดชัยภูมิ. (2546). ความต้องการของประชาชนในการรับบริการของเทศบาลเมืองคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญา. สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.