ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา: เทศบาลตำบลบุดี จังหวัดยะลา

Main Article Content

อาซีซี อาลี
นูรฮีดายะห์ กา
ซากูเราะห์ กูปูเต๊ะ

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเทศบาลตำบลบุดี 2) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเทศบาลตำบลบุดี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเป็นผู้ที่นำที่มีประสิทธิภาพหรือผู้นำที่มีคุณภาพที่เหมาะสมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือประชาชนในเทศบาลตำบลบุดี จำนวน 11,528 คน โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 387 คน ซึ่งได้จากการหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane และใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test และ One-way ANOVA
         จากการศึกษาพบว่า 1) ระดับทัศนคติของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะผู้นำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.51 2) ประชาชนที่มีเพศ อายุ หมู่ที่อยู่อาศัย ระดับการศึกษา อาชีพปัจจุบันและรายได้ ที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อคุณลักษณะผู้นำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่างกัน 3) แนวทางการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ คือ ปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส, นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการปฏิบัติงาน, คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม, ปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ

Article Details

บท
Research Articles

References

Andrew J. DuBrin, Principles of leadership, 7th ed. (South-Western: Cengage Learnin, 2013) 71-84.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297–334.

Daniel, Wit. (1967). A Comparative Survey of Local Govt and Administration. Bangkok : Kurusapha Press.

Gary A. Yukl, Hanbook of leadership (New York: The Free Press, 1974), 19- 21.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitude. Archives of Psychology. 140, 1-55.

กรรัตน์ อยู่ประสิทธิ์. (2562). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับบรรยากาศส่งเสริมนวัตกรรม ของทีมงานที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย รามคำแหง.

กาญจนา สงวนการ และคณะ. 2565. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของประชาชนด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของเหมืองแร่หินในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โกวิทย์ พวงงาม. (2543). การปกครองท้องถิ่นไทยหลักการและมิติใหม่ในอนาคต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

กันยพร ธีรเวคิน, จิดาภา ถิรศิริกลุ, และ ธนวรรณ แสงสุวรรณ. (2561). ภาวะผู้นำกับประสิทธิผล การบริหารจัดการกิจการเพื่อสังคมด้านอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 11(3), 325-332.

จรรยา ศิวานนท์. 2548. บทบาทของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ในการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

จิดาภา ธัญญรัตนวานิช. (2562). ภาวะผู้นำและจริยธรรมทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่สัมพันธ์กับ ดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(1), 90-103.

ณหทัย เลิศหล้า. 2561. ทัศนคติของประชาชนต่อคุณลักษณะด้านภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลกุ่มหัก อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).

ดารุณี หะยีมะเด็ง และคณะ. 2566. ทัศนคติของประชาชนต่อคุณลักษณะด้านภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. (2546). ทิศทางการปกครองท้องถิ่นของไทยและต่างประเทศ เปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

นิธิดา บุรณจันทร์. (2550). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลองค์กรของโรงเรียน อาชีวศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภิญญาพัชญ์ สรณวัชรเอกากุล. 2566. คุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์กับการบริหารการพัฒนาชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วิเชียร ตันศิริคงคล. (2563). โครงสร้างส่วนล่างของการเมืองการปกครองไทย, ในเอกสารการสอน ชุดวิชา หลักพื้นฐานการเมืองการปกครองไทย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัย สุโขทัย ธรรมาธิราช.

วัชนันท์ คาโส. 2562. ภาวะผู้นำในการบริการสาธารณะของผู้นำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

อิสริยา ภูมิภักดิ์. 2555. ทัศนคติของประชาชนต่อภาวะผู้นำของนายกเทศมนตรีตำบลหนองลาด อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร).