<b>An Unusual Development of Turkey-EU Relations in 2015-2016</b><br>พัฒนาการที่ไม่ปกติของความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีและสหภาพยุโรปในปี 2015-2016

ผู้แต่ง

  • Anwar Koma Institute of Social Sciences, Dokuz Eylul University

คำสำคัญ:

Turkish foreign policy (TFP), Syrian refugees, the European Union (EU), Turkey-EU relations, foreign policy Analysis, ความสัมพันธ์ตุรกี-สหภาพยุโรป, นโยบายต่างประเทศของตุรกี, วิกฤตผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย, สหภาพยุโรป

บทคัดย่อ

This paper attempts to analyze Turkey's foreign policy (TFP) towards the European Union (EU) in thecontext of Syrian refugee crisis in 2015.In lieu of Syrian refugee crisis, Turkey and the EU had been tiedup with a condition of interdependence. In such situation, Turkish government demonstrated that itsoptimum option was to mutually cooperate with the EU in managing Syrian refugees on one hand and toput forward its EU membership by re-nergizing EUTurkey relations on the other. Turkey was obliged toimplement a refugee containment policy in exchange for receiving financial assistance and other incentivesfrom the EU. It is argued that Turkey's commitment to the EU in 2015 was, at its utmost and enduring effort, to reaffirm Turkish European identity in the EU community. However, such kind of nteractionappeared to be short-lived because it was based on an immediate challenge and a short-term strategy. Thus, the result is a volatile relations and a return to their previous contentious politics.

 

 

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้ศึกษานโยบายต่างประเทศของตุรกีที่มีต่อสหภาพยุโรปในปี 2015 ภายใต้บริบทวิกฤต

ผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย นับตั่งแต่วิกฤติผู้ลี้ภัยชาวซีเรียเริ่มขยายตัวในปี 2014 ตุรกีกับสหภาพยุโรปตกอยู่ใน

สภาพที่ต้องพึ่งพาระหว่างกันมากขึ้น ในสถานการณ์ลักษณะดังกล่าวตุรกีได้แสดงท่าทีให้เห็นว่าตัวเลือก

ทางนโยบายที่เหมาะสมที่สุดคือการร่วมมือกับสหภาพยุโรปในการรับมือกับวิกฤติผู้ลี้ภัยชาวซีเรียไปพร้อม

กับการผลักดันวาระการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของตุรกีด้วยความพยายามในการเจริญสัมพันธ์ใหม่

ด้วยเหตุนี้ตุรกีจึงยอมรับนโยบายการควบคุมผู้ลี้ภัยชาวซีเรียให้อยู่ในตุรกีด้วยการแลกกับการช่วยเหลือ

ด้านการเงินและแรงจูงใจอื่นๆ จากสหภาพยุโรปอย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าวมีความ

ผันผวนสูงเพราะตั้งอยู่บนความท้าทายเฉพาะหน้าและยุทธศาสตร์ระยะสั้น ท่าที่ของตุรกีต่อสหภาพยุโรปมิได้

เป็นไปโดยธรรมชาติหากแต่เพื่อเป้าหมายทางการเมืองในการตอกย้ำอัตลักษณ์ความเป็นยุโรปของตุรกี

ในเวทียุโรปอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น เมื่อวิกฤตผู้ลี้ภัยภายในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปได้รับการ

แก้ไข ท่าทีระหว่างตุรกีและสหภาพยุโรปจึงเปลี่ยนผันกลับไปสู่การเมืองที่ไม่ลงรอยกันเหมือนเดิม

Author Biography

Anwar Koma, Institute of Social Sciences, Dokuz Eylul University

Ph.D. candidate (International Relations)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-01