การสำรวจปัจจัยด้านหลักสูตรและเพศที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และอัตมโนทัศน์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • วิชรัตน์ วิเชียร์รัตน์ คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สรัญญา พัฒนสิน คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

สิ่งแวดล้อมทางสังคม, นักเรียนไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจผลกระทบจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มีต่อนักเรียนในด้านการเรียน และอัตมโนทัศน์ ทำการวิจัยโดยการสำรวจ เก็บข้อมูลปฐมภูมิจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ห้องเรียนโครงการพิเศษและห้องเรียนทั่วไปของโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวน 100 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของ Taro Yamane ผู้วิจัยตั้งสมมุติฐานว่านักเรียนในโครงการพิเศษจะได้รับ ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมทางสังคมมากกว่า เนื่องจากเรียนในหลักสูตรที่ยากกว่า อีกทั้งโรงเรียนและครอบครัว ตั้งความหวังกับตัวนักเรียนไว้ค่อนข้างสูง ผู้วิจัยเก็บตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาจากแนวคิดสิ่งแวดล้อม ทางสังคมของ Pekrun and Stephens (2015) การประเมินคุณภาพของแบบสอบถามใช้วิธี Chronbach's Alpha Coefficient วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติพื้นฐานและสถิติที่อ้างอิง Wilcoxon Two-sample Test ผลการวิจัยพบว่า ความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญไม่ได้อยู่ที่นักเรียนในหลักสูตรที่ต่างกันแต่อยู่ที่เพศของนักเรียน โดยที่นักเรียนหญิงได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมทางสังคมมากกว่านักเรียนชายอย่างมีนัยยะสำคัญทั้งด้านการเรียน และอัตมโนทัศน์ ผลการศึกษานำไปสู่ข้อแนะนำว่าผู้บริหารของโรงเรียนควรพิจารณาความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ทางสังคมที่มีผลต่อนักเรียน โรงเรียนควรมีนโยบายและแผนการทำงานที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียน ในโรงเรียน

References

Boyce, S., Bazargan, M., Caldwell, C.H., Zimmerman, M.A., & Assari, S. (2020). Parental educational attainment and social environment of urban public schools in the U.S.: Blacks’ diminished Returns. Children, 7(5), 1-11. https://doi.org/10.3390/children7050044

Barnett, E. & Casper, M. (2001). A definition of “Social Environment”. American Journal of Public Health, 91(3), 465-470.

Dania, P.O. (2014). Effect of gender on students academic achievement in secondary school social studies. Journal of Education and Practice, 5(21). 78-84.

Haertel, G.D., Walberg, H.J., & Weinstein, T. (1983). Psychological models of educational performance: A theoretical synthesis of constructs. Review of Educational Research, 53(1), 75-91. https://doi.org/10.3102/00346543053001075

Hallinan, M.T., & Kubitschek, W.N. (1999). Curriculum differentiation and high school achievement. Social Psychology of Education, 3, 41-62.

Lui, W.C., & Wang, C.K.J. (2005). Academic self-concept: A cross-sectional study of grade and gender differences in a Singapore secondary school. Asia Pacific Education Review, 6(1), 20-27.

Marsh, H.W. (1987). The big-fish-little-pond effect on academic self-concept. Journal of Educational Psychology, 79(3), 280-295. https://psycnet.apa.org/doi/10.1037/0022-0663.79.3.280

Nuangchalerm, P. (2013). Research in learning and teaching (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Pekrun, R., & Stephens, E.J. (2015). Self-Concepts: Educational Aspects. In Wright, J.D. (Ed.). International encyclopedia of the social & behavioral sciences (Second Edition) (pp.469-474). Elsevier. https://doi.org/10.1016/B978-0-08-097086-8.92018-X

Shao, K., Pekrun, R., & Nicholson, L.J. (2019). Emotions in classroom language learning: What can we learn from achievement emotion research?. System, 86, 1-11. https://doi.org/10.1016/j.system.2019.102121

Summers, J.J., Waigandt, A., & Whittaker, T.A. (2005). A comparison of student achievement and satisfaction in an online versus a traditional face-to-face statistics class. Innovative Higher Education, 29(3), 233-250. https://doi.org/10.1007/s10755-005-1938-x

Sun, X., Hendrickx, M., Goetz, T., Wubbels, T., & Mainhard, T. (2020). Classroom social environment as student emotions’ antecedent: mediating role of achievement goals. The Journal of Experimental Education, 90(1),146-157. https://doi.org/10.1080/00220973.2020.1724851

Tornare, E., Czajkowski, N.O., & Pons, F. (2015). Children’s emotions in math problem solving situations: Contributions of self-concept, metacognitive experiences, and performance. Learning and Instruction, 39, 88-95. http://dx.doi.org/10.1016/j.learninstruc.2015.05.011

Walberg, H.J. (1980). A psychological theory of educational productivity. In Farley, F.H., & Gordon, N. Gordon (Eds.). Psychology in education (pp. 81-110). Berkeley: McCutchan.

Yamane, T. (1967). Statistic: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-01