การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ในรายวิชาภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และประวัติศาสตร์ไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 และ 2 แบบยืดหยุ่น โรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่

Main Article Content

สุพจน์ ศิลปวัฒนา
เกตุมณี มากมี
วารุณี โพธาสินธุ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาประสิทธิภาพแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานในรายวิชาภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และประวัติศาสตร์ไทย และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนในรายวิชาภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และประวัติศาสตร์ไทย ประชากร คือ นักเรียนสัญชาติไทยทั้งหมดจำนวน 15 คน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 แบบยืดหยุ่น ที่เรียนรายวิชาภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และประวัติศาสตร์ไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนจัดการเรียนรู้ 6 แผน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.87 2) แบบทดสอบระหว่างเรียน 6 แผน ซึ่งมีค่า IOC เท่ากับ 0.87 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.60 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.60 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่น KR20 ระหว่าง 0.70 – 0.90 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1 ชุด ซึ่งมีค่า IOC เท่ากับ 0.98 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.60 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.60 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่น KR20 เท่ากับ 0.82 การดำเนินการทดลองครั้งนี้ใช้แผนการวิจัยแบบการทดลองกลุ่มเดียว มีการวัดก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ผลการวิจัยพบว่า แผนจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแผนที่มีประสิทธิภาพ โดยมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.56/84.33 และจากการใช้แผนจัดการเรียนรู้ดังกล่าวส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเท่ากับ 7.13 คิดเป็นร้อยละ 35.67

Article Details

How to Cite
ศิลปวัฒนา ส., มากมี เ. ., & โพธาสินธุ์ ว. . (2022). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ในรายวิชาภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และประวัติศาสตร์ไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 และ 2 แบบยืดหยุ่น โรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 31(2), 1–16. https://doi.org/10.14456/pyuj.2021.14
บท
บทความวิจัย

References

เกตุมณี มากมี. (2562). การวิจัยในชั้นเรียน. เชียงใหม่: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ทับทิม ชื่นใจ. (2561). ผลการใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับวิธีการสอนแบบ BBL (Brain Based Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนรังษีวิทยา อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

นิตยา แห้วตะนะ, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม, สิริรัตน์ อินทร์ยู่ และสุกัญญา เกิดสุข. (2563). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ เรื่อง Animals ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ BBL. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 “การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Research to Make A CHANGE)”, (น. 559 – 568) 29 พฤษภาคม 2563 มหาวิทยาลัยราชธานี. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชธานี.

ประภาภรณ์ สมเกตุ. (2556). การใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการทำงานของสมอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง พูดภาษาอังกฤษและแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปัณณทัต กาญจนะวสิต. (2561). โลกยุค ๔.๐, สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2564. http://www.dsdw2016. dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/m8455/8455โลกยุค%204.0.pdf

พรพิไล เลิศวิชา. (2558). การพลิกโฉมโรงเรียน ป.1 อ่านออก เขียนได้ ใน 1 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

รัตน์วิสาณ งามสม. (2560). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย การกำหนดมาตรฐานของโรงเรียนเอกชนนานาชาติ ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา พ.ศ. 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา, 125(ตอนพิเศษ 80 ง), 1-7.

ลัดดาวัลย์ สุวรรณมาโจ, มนตรี อนันตรักษ์ และสุเทพ ทองประดิษฐ์. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง วัฒนธรรมน่ารู้และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) กับการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ jigsaw II. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 3(3), 60-67.

ศรัญญา หลวงจำนงค์. (2557). ผลการใช้บทเรียนมัลติมีเดียบนแท็บเล็ต ตามแนวคิดการเรียนรู้สมองเป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง All about me สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ศิริพันธ์ เวชเตง. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน และการเขียนสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 29(3), 66–78.

ศิริรัตน์ บุตรแสนโคตร. (2554). การพัฒนาผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ จัดกิจกรรมตามแนวทาง Brain Based Learning. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2558). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง. สรุปเนื้อหางานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “10 ปีการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง”, (น. 1-2) 22 สิงหาคม 2558. ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์. กรุงเทพฯ : OKMD.

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2560). โรงเรียนและหน่วยงานเครือข่าย BBL, สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2564. http://www.okmd.or.th/bbl/school-members/

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่. (2563). นายกรัฐมนตรี ย้ำให้เด็กหมั่นศึกษาหาความรู้ เพิ่มทักษะให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และรู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย, สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2564. https://spm.thaigov.go.th/crtprs/spm-sp-layout6.asp?i=41111%2E22214702112113121111311.

สุพัตรา ดวงแก้วกลาง. (2558). การศึกษาผลประเมินการคิดวิเคราะห์ ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

CDSC. (2021). Elementary school, Retrieved, April 14, 2021, from https://cdsc.ac.th/en /learning/elementary-school/

ISAT. (2021). List of schools. Retrieved, April 13, 2021, from https://www.isat.or.th/member-school

Jensen, E. (2000). Brain-based learning. San Diego, CA: The Brain Store Publishing.